ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ภัยแล้งและขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมากที่สุดในรอบสองทศวรรษ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอัตราร้อยละ 0.6-0.8 และใน 14 จังหวัดจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ และทำให้เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้ประชาชนต้องต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดปกติอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ และคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อไม่นานมานี้ ได้ปรับปรุงเนื้อหาของโครงการประหยัดน้ำขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำแผนไปใช้ปฏิบัติจริงที่โรงแรมและรีสอร์ททุกแห่งในเครือ ซึ่งเซ็นทาราได้เริ่มนำวิสัยทัศน์ทางด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมีเป้าหมายในการรักษาสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และได้นำแนวคิดจากทฤษฎีนิเวศวิทยามาบริหารจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความละเอียดอ่อนมาปฏิบัติในงานด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
[ภาพ I:: โปสเตอร์รณรงค์ประหยัดน้ำภายในโรงแรม]
ทั้งนี้ เซ็นทาราได้นำระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการมาใช้เป็นเวลาหลายปีแล้ว เพื่อให้สามารถแก้ไขผลกระทบจากภัยแล้งได้อย่างทันท่วงที พร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเช่นในปัจจุบัน โดยโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราทุกแห่งต้องเพิ่มความสามารถในการประหยัดน้ำให้มากกว่าเดิม และทำให้โรงแรมในหัวหิน ภูเก็ต สมุย กระบี่ มัลดีฟส์ ฯลฯ สามารถรีไซเคิลน้ำเสีย เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และกักเก็บน้ำฝนไว้สำหรับการดูแลรักษาสวนได้ 100% ในขณะที่โรงแรมใจกลางเมือง เช่นโรงแรมในกรุงเทพฯ ได้ลงทุนติดตั้งระบบน้ำหล่อเย็นที่ทันสมัยมากที่สุด และมีคุณสมบัติช่วยลดปริมาณการใช้น้ำสะอาดได้มากกว่า 50% อีกทั้งสามารถนำน้ำจากเครื่องปรับอากาศและตู้แช่เย็นที่ถูกทำให้เย็นลงโดยใช้หอหล่อเย็นระบายความร้อนแล้วนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยโรงแรมแต่ละแห่งสามารถประหยัดน้ำได้มากกว่า 306 ลูกบาศก์เมตรต่อปี นอกจากนั้น ยังมีการติดตั้งแผ่นกรองควบคุมการไหลของน้ำด้วยแผ่นกรองเติมอากาศ ที่ก๊อกน้ำ, ฝักบัวอาบน้ำ และฝักบัวแบบสายฝนทุกชิ้นในโรงแรม ซึ่งช่วยประหยัดน้ำได้ 2-3 ลิตรต่อนาที และยังได้ติดตั้งก๊อกน้ำอัตโนมัติระบบเซ็นเซอร์ที่จ่ายน้ำในเวลาสั้นๆ ตลอดจนฝักบัวประหยัดน้ำ และเครื่องสุขภัณฑ์รุ่นใหม่ล่าสุดที่โรงแรมเปิดใหม่ในเมืองด้วย
สำหรับในปีนี้ ได้มีการพัฒนาโครงการการนำผ้าขนหนูและผ้าลินินกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อดึงดูดให้แขกที่มาเข้าพักเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจกับแขกของโรงแรมในเรื่องสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันและการขอความร่วมมือในการลดปริมาณการใช้น้ำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เซ็นทาราได้ตั้งเป้าหมายให้โรงแรมทุกแห่งลดปริมาณการใช้น้ำของห้องพักลง 15% ต่อคืน ที่มีการพัก ตลอดปี พ.ศ. 2559 ด้วย
เดวิด กู้ด รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา กล่าวว่า “เราหวังว่า การที่เรามีความตื่นตัวกับเรื่องการประหยัดน้ำ จะมีส่วนช่วยประเทศไทยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และบรรเทาภาวะภัยแล้งในปัจจุบันได้ เรามีทีมงานช่าง คอยตรวจวัดปริมาณการใช้น้ำจากมิตเตอร์ในแต่ละจุดสำคัญในโรงแรม เพื่อป้องกันการรั่วไหลและตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำตามความเหมาะสม และยังมีการเตรียมแผนล่วงหน้าในการวางระบบรีไซเคิลน้ำเสีย และกักเก็บน้ำฝนสำหรับโครงการก่อสร้างโรงแรมในอนาคต ทั้งนี้เรายังคอยติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงทรัพยากรน้ำ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อไป”
สุญญตา เจตน์เจริญรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า “เราขอเชิญชวนแขกที่เข้าพักในโรงแรม และพนักงานของเซ็นทาราทุกคน มาร่วมกันประหยัดน้ำด้วยวิธีง่ายๆ ซึ่งเคล็ดลับการประหยัดน้ำที่เรานำมาฝากก็คือ ทุกๆ คนสามารถช่วยกันประหยัดน้ำได้ทั้งตอนที่อยู่ในโรงแรม หรืออยู่ที่บ้านก็ตาม”
เคล็ดลับในการประหยัดน้ำ:
• ร้องเพลง 1 เพลงตอนอาบน้ำด้วยฝักบัว พยายามอาบน้ำให้เสร็จภายใน 4-5 นาที เพราะการอาบน้ำ (โดยใช้หัวฝักบัวขนาดปกติ) 1 นาทีจะใช้น้ำ ประมาณ 5 แกลลอน
• ปิดน้ำทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้ อย่าเปิดน้ำทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ในขณะแปรงฟัน ล้างหน้า หรือล้างมือ
• เลือกอาบน้ำด้วยฝักบัวแทนการแช่น้ำในอ่าง การแช่น้ำในอ่าง หรือการอาบน้ำฝักบัวนานๆ จะใช้ปริมาณน้ำถึง 4 เท่า มากกว่าการอาบน้ำฝักบัวภายใน 5 นาที
• เลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำและพลังงานแล้ว ยังช่วยประหยัดเงินในระยะยาวด้วย
• ใส่จานให้เต็มเครื่องล้างจานทุกครั้ง การใส่จานเพียงไม่กี่ใบ จะเป็นการสิ้นเปลืองน้ำและพลังงานโดยใช่เหตุ