“สีเบเยอร์” มุ่งลดปัญหาโลกร้อน ผ่านโครงการฯ สะท้อนแนวคิด “โลกสวยด้วยมือเรา..โลกสวยด้วยสีเบเยอร์”

0
315
image_pdfimage_printPrint

ได้รับการขนานนามให้เป็น “สีรักษ์โลก” หลังจากที่ “สีเบเยอร์” ปลุกกระแสลดโลกร้อนผ่านโครงการฯ ต่างๆ มาตลอด 50 ปี โดยเฉพาะสามถึงสี่ปีหลังที่มุ่งมั่นกับโครงการ “สีเบเยอร์หนึ่งผนังรวมพลังสร้างรอยยิ้ม”                 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมสังคมให้น่าอยู่ ตลอดจนปลุกจิตสำนึกให้ทุกคนหันมาใส่ใจสภาพแวดล้อม ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับเรื่องนี้ วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ รองประธานบริหาร บริษัท เบเยอร์ จำกัด ได้ให้ข้อมูลถึงกิจกรรมดังกล่าวว่า

[nggallery id=65]

ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งในต่างประเทศตระหนักถึงเรื่องนี้มานานแล้ว และบริษัทฯ ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จนได้มุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนานโยบายเป็นวิสัยทัศน์ขององค์กรเรื่องการพัฒนานวัตกรรมควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เริ่มตั้งแต่ 1. กระบวนการผลิตต้องลดปริมาณก๊าซที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด 2. การนำไปใช้มีอายุงานยั่งยืน จะผ่านร้อน ผ่านหนาว หรือผ่านฝนกี่ฤดูกาลสีก็ยังสวยสดใส และสุดท้าย 3. ประสิทธิภาพที่พิสูจน์ได้จริง ทั้งหมดสามสิ่งรวมกัน ผลิตภัณฑ์สีเบเยอร์ถึงออกสู่ตลาดได้

 

วรวัฒน์ เผยว่า เมืองไทยตื่นตัวไม่นานมานี้ ขณะที่ประเทศในฝั่งยุโรป, อเมริกา ให้ความสำคัญกับเรื่องโลกร้อนมาเนิ่นนานแล้ว เพราะเห็นถึงมหันตภัยที่มากกว่า บวกกับสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนไปสู่ลูกหลาน ช่องว่างตรงนี้นำมาสู่กิจกรรมที่บริษัทฯ ตั้งใจทำเพื่อสังคม จึงริเริ่มโครงการ “หนึ่งผนังรวมพลังสร้างรอยยิ้ม” โดยปันรายได้ส่วนหนึ่งจากงบดุลตลอดทั้งปีมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งสัดส่วนของงบประมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี และปีนี้ในโอกาสครบรอบ 50 ปี จึงเทงบ CSR หรือ การทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อรณรงค์ปลุกจิตสำนึกให้คนหันมาใส่ใจ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม”

 

เนื่องจากเบเยอร์ธุรกิจคือสีย้อมไม้, สีทาอาคาร ฯลฯ เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย บริษัทฯ มีส่วนที่จะต้องรับผิดชอบกับสังคมโดยตรง โจทย์คือเมื่อตัวองค์กรตระหนักแล้ว จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคหรือคนไทยทุกคนตระหนักด้วย และร่วมมือกันเพื่อลดปัญหาดังกล่าว จึงจัดเป็นโครงการ “หนึ่งผนังรวมพลังสร้างรอยยิ้ม” โครงการนี้เป็นเหมือนร่มคันใหญ่ เมื่อกางออกก็จะมีอีกหลายๆ โครงการมากมาย อาทิ หนึ่งผนังรวมพลังลดโลกร้อนกับสีเบเยอร์คูล, หนึ่งผนังรวมพลังรักษ์สะอาดกับสีเบเยอร์ชิลด์, หนึ่งผนังรวมพลังพิทักษ์ป่ากับสีย้อมไม้เบเยอร์ ทั้งหมดนี้เพื่อกระตุ้นให้สาธารณชนตระหนักถึงปัญหา ขณะเดียวกันก็ชวนทุกคนร่วมมือ ซึ่งคำว่า “หนึ่งผนัง” เป็นสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบ เหมือน “หนึ่งบ้าน” ถ้าทุกบ้านตระหนักถึงปัญหาและร่วมมือกันแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เช่น ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้, เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่กำหนด, ลดการใช้ถุงพลาสติก, เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ รับรองสิ่งแวดล้อมดีๆ อากาศดีๆ จะอยู่ไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานแน่นอน!!!!

 

นอกจากปลุกจิตสำนึกแล้ว อีกทางหนึ่งที่ชาวเบเยอร์ไม่เคยหยุดนิ่งคือการมุ่งมั่นสร้างสรรค์ “นวัตกรรมแห่งเทคโนโลยีสีครบวงจร ที่ใช้ได้จริง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งได้รับรางวัลการันตีจากสถาบันต่างๆ เช่น ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9001 SGS (Thailand) Limited, มาตฐานอุตสาหกรรม, NIA สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงผลงานนวัตกรรมสีสะท้อนความรู้และรังสียูวีเพื่อการประหยัดพลังงานในอาคาร, ฉลากลดคาร์บอน ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยนวัตกรรมที่เป็นที่รู้จักกันดี อาทิ  Teflon Surface Protector  เทคโนโลยีเทฟล่อนที่คนทั่วไปรู้จักกันดีในอุปกรณ์เครื่องครัวนั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยบริษัทดูปองท์ สหรัฐอเมริกา เทฟล่อนนั้นเป็นชื่อทางการค้าซึ่งใช้เรียกสาร polytetrafluoroethylene (PTFE) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นสารที่มีความลื่นมากที่สุดที่รู้จักในปัจจุบัน นอกจากการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องครัวแล้ว เทฟล่อนยังถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรมยานอวกาศ เครื่องบิน การสื่อสาร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ฯลฯ รวมไปถึงอุตสาหกรรมสี ซึ่งทางเบเยอร์ได้รับอนุญาตจากบริษัทดูปองท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาให้เป็นผู้นำเทคโนโลยีเทฟล่อนมาใช้เพียงผู้เดียวในประเทศไทยและเป็นรายแรกของเอเชียแปซิฟิคที่ได้นำนวัตกรรมสีเช็ดล้างได้สำหรับสีทาภายนอกอาคารมาสู่อุตสาหกรรมสี นอกจากนั้น เทคโนโลยีประจุแร่เงิน หรือที่เรียกว่า Silver ion Technology ที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในทางการแพทย์ มีคุณสมบัติทำลายเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส เบเยอร์ เซรามิกคลีนจึงได้นำประจุแร่เงินมาเป็นส่วนผสมเพื่อสร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้ให้ปลอดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยการทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ ทันทีที่มาสัมผัสกับผิวฟิล์มสี ซึ่งแตกต่างจากสาร Anti Bacteria ในสีทั่วไปที่สามารถทำได้เพียงยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรียเท่านั้น นอกจากนั้นประจุแร่เงิน (Silver ion) ในเบเยอร์ เซรามิกคลีน ยังให้การปกป้องยาวนานตลอดอายุการใช้งานของฟิล์มสีแม้ต้องผ่านการทำความสะอาดเป็นประจำ ด้วยการทำลายถึง DNA ภายในเซลล์ของเชื้อโรคต่าง ๆ และทำให้เชื้อโรคสลายไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังมี Insulating Microspheres Ceramic เป็นอนุภาคเซรามิกทรงกลมกลวงที่แข็งแกร่ง ทำให้ภายในเม็ดเซรามิกมีลักษณะเป็นสูญญากาศซึ่งเป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม โดยองค์การนาซ่าได้นำมาใช้ทำเป็นแผงป้องกันความร้อนให้กับกระสวยอวกาศ ทีมงานวิจัยของเบเยอร์ได้นำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาพัฒนาเป็นสีในตระกูล เบเยอร์ คูล เพื่อสร้างคุณสมบัติสะท้อนความร้อน (Solar Heat Reflection) และเป็นฉนวนกันความร้อน (Insulation) ให้กับบ้าน อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงานจากการที่บ้านและอาคารมีอุณหภูมิลต่ำกว่าการใช้สีทั่วไป

 

เมื่อถามถึงปัญหาในอนาคต ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่อยู่กับปัญหานี้มาตลอด คุณวรวัฒน์ ให้ข้อสังเกตุว่า “อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปีโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ที่มีประชากรเยอะจนเกิดปัญหาขึ้นแล้ว ทั้งเรื่อง  ปรากฎการณ์เกาะร้อน  (Urban Heat Island) หมายถึง ช่วงกลางวันแดดร้อนจัด จนพื้นผนัง ฟุตบาธ กำแพง อมความร้อนและระบายออกมาตอนกลางคืน  เมื่อถามว่าปรากฏการณ์เกาะร้อนนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?  คำตอบ คือ เริ่มจากการที่พื้นที่ป่าถูกทำลายลง แล้วถูกแทนที่ด้วยอาคารบ้านเรือนและตึกสูงๆ ทำให้มีวัสดุที่คอยดูดซับความร้อนโดยตรงจากแสงอาทิตย์อยู่มากมาย รวมไปถึงความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง ไอเสียที่มาจากรถยนต์ มลพิษต่างๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกเฉพาะที่ได้ อีกทั้งฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในอากาศก็เป็นตัวดูดซับความร้อนไว้เพิ่มมากขึ้น   ต้นไม้ที่เคยทำหน้าที่คอยดูดซับรังสีของ       ดวงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสง ก็ถูกตัดออกไปเพื่อที่จะสร้างตึก จึงทำให้แสงอาทิตย์ที่ส่องลงมาถึงวัตถุเต็มๆ ความร้อนก็จะถูกดูดซับไว้และทำให้อากาศร้อนขึ้น    ส่วนพื้นที่ป่าที่กลายมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรมก็ใช่ว่าจะไม่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ ถึงแม้ว่าพื้นที่เกษตรกรรมจะมีอุณหภูมิไม่สูงเท่าเขตเมือง แต่ก็จะมีอุณหภูมิสูงกว่าเขตป่า จึงเหมือนเป็นตัวเชื่อมทำให้เกาะร้อนนั้นกินพื้นที่กว้างเข้าไปอีก และอาจจะไปเชื่อมรวมเข้ากับอีกเขตเมืองอื่น ทำให้เกาะร้อนนั้นมีพื้นที่ใหญ่มากขึ้นอีกด้วย

 

การแก้ไขก็คือการช่วยกันปลูกต้นไม้ในเขตเมือง บริเวณดาดฟ้าของตึก อาจจะเป็นไม้พุ่มเตี้ยๆ และใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่สะท้อนแสง และใช้วิธีเดียวกับที่ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน คือ 1. การลด – – ลดใช้พลังงาน ลดปล่อยก๊าซพิษสู่ชั้นบรรยกาศ       2. การเลือก – – เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายง่าย หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้  3. การร่วมมือ – – ดูแลสภาพแวดล้อมและโลกของเรา ใช้ทรัพยากรที่ได้มาอย่างรู้คุณค่า        ท้ายสุดคุณวรวัฒน์บอกว่า  โลกอาจจะร้อนด้วยหลายสาเหตุ  แต่วิธีแก้มันเป็นไปในทางเดียวกัน  ถ้าจุดมุ่งหมายของทุกคนก็คือรักษาโลกนี้ให้คงอยู่ มาร่วมมือกันดีกว่ากับโครงการ “โลกสวยด้วยมือเราโลกสวยด้วยสีเบเยอร์”  เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.facebook.com/BegerPaint