1

ไอซีดีแอล เผยผลสำรวจ UNESCO ระบุวุฒิบัตร ICDL ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่ง ได้รับการยอมรับระดับสากล ใช้เป็นมาตรฐานวัดทักษะดิจิทัลแพร่หลาย 31 ประเทศ

ICDL Thailand เผยองค์กร UNESCO ระบุว่าวุฒิบัตรรับรองความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สากล หรือ International Computer Drivers Licence (ICDL) เป็นวุฒิบัตรสำคัญและนิยมมากที่สุดที่ใช้วัดความรู้ความสามารถทางดิจิทัลของบุคลากรในกรอบมาตรฐานการทำงานขององค์กรใน 31 ประเทศทั่วโลก

จากรายงาน เรื่อง “กรอบมาตรฐานระดับโลกที่ใช้อ้างอิงด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามตัวชี้วัด เฉพาะเรื่อง 4.4.2 (A Global Framework of Reference on Digital Literacy Skills for Indicator 4.4.2”) ในปีพ.ศ.2561 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือที่เรียกย่อๆว่า UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization – UNESCO) ซึ่งได้ทำการสำรวจกรอบมาตรฐานการทำงานขององค์กรและ​ตัวชี้วัดทักษะดิจิทัลที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ทั้งนี้ มีประเทศจากทั่วโลกที่เข้าร่วมการสำรวจมากถึง 47 ประเทศ โดย UNESCO ระบุชัดเจนว่า ในปัจจุบันประเทศต่างๆได้ใช้ ICDL กันอย่างแพร่หลายมากที่เป็นสุดอันดับหนึ่งในจำนวน 31 ประเทศ หรือราวร้อยละ 66 ของประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมด

ดร. ฮิวจ์ส แพททริค โอคอนแนล กรรมการผู้จัดการ ICDL Thailand กล่าวว่า “ปัจจุบันหลักสูตร ICDL ได้รับความเชื่อถือและการยอมรับว่าเป็นผู้นำอันดับหนึ่งเรื่องมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงด้านวุฒิบัตรวัดระดับความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ และยังได้รับการลงนามรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลไทย และได้รับการรับเลือกและรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือประเมิน เนื่องจากครอบคลุมทุกสมรรถนะที่มาตรฐานของประเทศไทยกำหนดไว้ และมีระบบการทดสอบออนไลน์ที่มีคุณภาพสูง สามารถประเมินทักษะของแต่ละบุคคลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ได้ผลทันที รวมทั้งผลที่ได้มีรายละเอียดที่สามารถนำไปวิเคราะห์สมรรถนะจำเป็นด้านต่างๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ หลักสูตร ICDL ยังได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกสมาคมด้านคอมพิวเตอร์ระดับนานาชาติ และบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลก อีกด้วย”

ICDL Thailand ได้ร่วมเร่งผลักดันการพัฒนาและยกระดับทักษะดิจิทัลของนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรไทยในสาขาต่างๆ รวมทั้งผู้ประกอบการในหลากหลายอาชีพ โดย ICDL ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านดิจิทัล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทักษะในระดับความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) และระดับทักษะดิจิทัลขั้นสูง (Professional Skills) กับองค์กรภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน และสมาคมต่างๆ มากมาย ได้แก่ สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย, สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์, สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, สมาคมดิจิทัลไทย, สมาคมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกาฬสิทธุ์ เป็นต้น

การพัฒนาองค์กรหรือประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อความสำเร็จ จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรของประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่องให้ รู้จัก เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังต้องพัฒนาการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบจึงจะสามารถขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 และ ดิจิทัลไทยแลนด์ ที่มีความก้าวหน้า ประสบความสำเร็จ และส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านดิจิทัลและเป็นศูนย์รวมของการพัฒนากำลังคนดิจิทัลในอาเซียนต่อไป

นางสาวกฤษฏิ์กัญญา กานต์จิรธันย์ กรรมการบริหาร ICDL กล่าวว่า “การยกระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลของคนไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ อย่างเป็นรูปธรรมและทันท่วงทีนั้น นับเป็นพันธกิจสำคัญของ ICDL และจากความสำเร็จในการที่มาตรฐาน ICDL ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลให้ประเทศต่างๆได้มีทักษะดิจิทัลในระดับมาตรฐานสากล จนหลายประเทศประสบความสำเร็จสามารถปรับเปลี่ยนก้าวสู่เป็นประเทศในระดับแนวหน้าของโลกในการพัฒนาดิจิทัล อาทิ ไอร์แลนด์ เอสโตเนีย สิงค์โปร์ และ เกาหลีใต้ เป็นต้น ICDL Thailand จึงมุ่งมั่นร่วมเร่งขับเคลื่อนประเทศไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและให้เป็นประเทศชั้นนำด้านดิจิทัลในภูมิภาค”

หลักสูตรของ ICDL ได้มาตรฐานระดับสากล ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความสามารถการใช้คอมพิวเตอร์ในทุกระดับให้ได้มาตรฐานและคุณภาพที่เหมาะกับการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทักษะดิจิทัลระดับที่จำเป็นสำหรับกำลังคน (Workforce Digital Skills) และ กลุ่มทักษะดิจิทัลระดับสูง (Professional/Occupational Digital Skills) โดยกลุ่มทักษะดิจิทัลระดับที่จำเป็นสำหรับกำลังคน ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรทักษะดิจิทัลพื้นฐาน หลักสูตรทักษะเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน ซึ่งรวมถึงแอปลิเคชั่นต่างๆ เช่น Word Processing, Spreadsheet, Presentation และหลักสูตรเพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

สำหรับกลุ่มทักษะดิจิทัลระดับสูง ประกอบด้วย 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสำหรับสายงานการตลาดและการสื่อสาร หลักสูตรสำหรับสายงานการเงินและการบริหาร หลักสูตรสายงานการออกแบบ หลักสูตรสายงานด้านเทคนิค และ หลักสูตรสำหรับครู อาจารย์ และนักการศึกษา

ปัจจุบัน มีสถาบันการศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สมาคม และหน่วยงานต่างๆที่ได้รับอนุมัติให้เป็นศูนย์ทดสอบทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล ICDL กว่า 20 แห่งทั่วประเทศ และได้เพิ่มจำนวนศูนย์ทดสอบมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ทันต่อการพัฒนาและความต้องการกำลังคนดิจิทัลของประเทศไทย