ไมโครซอฟท์ นำเสนอประสบการณ์คลาวด์และเครื่องมือใหม่สำหรับนักพัฒนา ที่งาน Microsoft Build

0
465
image_pdfimage_printPrint

– ไมโครซอฟท์ เปิดตัวความร่วมมือด้าน AI และนวัตกรรมคลาวด์แบบไฮบริด สำหรับ Microsoft 365 และ Microsoft Azure

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่งาน Microsoft Build 2019 ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีสำหรับนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ ทางบริษัทได้นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเปิดทางให้เหล่านักพัฒนาได้สร้างสรรค์โซลูชั่นอันชาญฉลาดและทรงประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ลูกค้าและพันธมิตรของไมโครซอฟท์ อาทิ Starbucks, J.P. Morgan, Kroger, Spatial และ Epic Games ยังได้มาร่วมจัดแสดงซูโลชันใหม่ ๆ ที่มอบประสบการณ์สุดอัจฉริยะและยึดลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ

ภายในงานได้มีการประกาศความร่วมมือครั้งใหม่ ตลอดจนบริการทรงประสิทธิภาพทั้งบนแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ รวมถึงขีดความสามารถด้าน AI ใน Microsoft 365 เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้ปล่อยเทคโนโลยีแบบโอเพ่นซอร์ซและเครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับนักพัฒนา Azure และ Windows ขณะเดียวกัน แพลตฟอร์มคลาวด์ที่มีความยืดหยุ่นและเชื่อถือได้ของไมโครซอฟท์ ยังได้รวบรวมเหล่านักพัฒนาและความสามารถทางเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ ๆ เพื่อลูกค้าองค์กรและผู้ใช้งานทั่วไป ครอบคลุมตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน, ข้อมูล, AI และ MR, ผลิตภาพและความร่วมมือ ไปจนถึงแอปพลิเคชั่นทางธุรกิจ และวงการเกม ในโอกาสนี้ นายสัตยา นาเดลลา ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงาน พร้อมเผยถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทและโอกาสของนักพัฒนา ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของไมโครซอฟท์ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Azure, Microsoft Dynamics 365 และ Power Platform, Microsoft 365 และ Microsoft Gaming

“ด้วยความที่การประมวลผลเข้ามามีส่วนร่วมในทุกแง่มุมของชีวิต สิ่งที่เหล่านักพัฒนาตัดสินใจเลือกจึงเป็นตัวกำหนดทิศทางของโลกที่เราอาศัยอยู่” สัตยา นาเดลลา ซีอีโอของไมโครซอฟท์ กล่าว “ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะส่งมอบเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือให้กับเหล่านักพัฒนา โดยครอบคลุมทุกเลเยอร์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์มหัศจรรย์ ซึ่งจะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับทุกคน”

Microsoft 365: โลกแห่งคลาวด์ทรงประสิทธิภาพ
Microsoft 365 มอบประสบการณ์แบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยให้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดไปจนถึงธุรกิจขนาดเล็ก และตั้งแต่พนักงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) จนถึงพนักงานหน้างาน (Firstline Worker) โดย Microsoft Graph ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานของ Microsoft 365 นั้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือกราฟที่ครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรมากที่สุด ด้วยความสามารถในการทำแผนที่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ข้อมูล และกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อแสดงจุดเชื่อมโยงและมุมมองในเชิงลึก ซึ่งช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานของพนักงาน รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม

ข่าวใหม่ของวันนี้ประกอบด้วย:

– วันนี้ เรากำลังเปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้ต่อยอด Microsoft Graph ด้วยการนำเสนอความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ใน Microsoft Graph ทั้งนี้ Microsoft Graph data connect เป็นบริการที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถผสานรวมข้อมูลจาก Microsoft Graph เข้ากับข้อมูลธุรกิจของตนเองได้อย่างปลอดภัยและในปริมาณมากด้วยการใช้ Azure Data Factory วิธีการนี้สามารถสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการของลูกค้าที่ต้องการแอปพลิเคชันที่มีข้อมูลเชิงลึกในระดับใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนโดยชุดข้อมูลขนาดใหญ่ กับความต้องการของผู้ดูแลระบบไอทีที่จำเป็นต้องพิจารณาความท้าทายในการขับเคลื่อนและจัดการข้อมูลจำนวนมากขององค์กร
— Microsoft Graph data connect เปิดให้ใช้งานโดยทั่วไปแล้ว โดยเป็นฟีเจอร์หนึ่งใน Workplace Analytics และจำหน่ายในรูปแบบ SKU แบบสแตนด์อโลนสำหรับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV)

– เพื่อเปิดทางให้บุคลากรและทีมงานได้สร้างสรรค์งานร่วมกัน วันนี้ เราจึงประกาศเปิดตัว Fluid Framework ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม web-based โฉมใหม่ และแบบจำลองเอกสารแบบ componentized ที่จะมาสร้างประสบการณ์อินเทอร์แอคทีฟร่วมกัน Fluid จะทำลายอุปสรรคของเอกสารแบบดั้งเดิมอย่างที่เรารู้กัน และจะพาไปสู่จุดเริ่มต้นของผืนผ้าใบที่ไหลลื่น คาดว่า Fluid จะวางจำหน่ายแก่เหล่านักพัฒนาในปลายปีนี้ผ่านทางชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ ขณะเดียวกัน ภายในปีนี้ เรายังเตรียมที่จะส่งมอบประสบการณ์การใช้งาน Microsoft 365 ซึ่งขับเคลื่อนโดย Fluid เป็นครั้งแรก โดยขีดความสามารถใหม่ ๆ ประกอบด้วย:
— สามารถแยกเนื้อหาจากเว็บหรือแอป และนำมาประกอบขึ้นใหม่เป็นส่วนประกอบย่อย ๆ เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ร่วมกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
— มอบประสบการณ์การทำงานร่วมกันบนเอกสาร (co-authoring) ได้หลายคนและมีประสิทธิภาพสูง ด้วยความเร็วที่ยังไม่มีใครในอุตสาหกรรมทำได้มาก่อน
— สร้างห้องสำหรับตัวแทนอัจฉริยะ (intelligent agent) เพื่อทำงานร่วมกับมนุษย์ในด้านการจัดการเอกสาร ดึงเนื้อหา แนะนำรูปภาพ ระบุผู้เชี่ยวชาญ แปลข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมาย

– ในวันนี้ เรายังประกาศฟีเจอร์ใหม่ ๆ สำหรับ Microsoft Edge เวอร์ชั่นถัดไป ที่จะมาขจัดปัญหาหงุดหงิดบางประการที่พบในการใช้เบราว์เซอร์สมัยนี้ ได้แก่:
— IE mode — ผนวกรวม Internet Explorer เข้ากับ Microsoft Edge โฉมใหม่โดยตรงผ่านทางแท็บ ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นที่ยังคงรันบน Internet Explorer แบบเก่าได้ในเบราว์เซอร์สมัยใหม่ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่ใช้เบราว์เซอร์หลายตัว ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของธุรกิจในปัจจุบัน
— Privacy tools — ลูกค้าสามารถเลือกปรับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวใน Microsoft Edge ได้ 3 ระดับ คือ Unrestricted, Balanced และ Strict โดย Microsoft Edge จะปรับวิธีการที่บุคคลที่สามจะสามารถแกะรอยคุณผ่านเว็บไซต์ โดยอิงจากตัวเลือกที่คุณเลือก ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกที่โปร่งใสมากขึ้น เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่มีความเป็นส่วนตัวยิ่งขึ้น
— Collections — ช่วยจัดการภาวะข้อมูลท่วมท้นที่ลูกค้ารู้สึกเมื่อใช้งานเว็บไซต์ทุกวันนี้ โดย Collections ช่วยให้คุณสามารถรวบรวม จัดระเบียบ แบ่งปัน และส่งออกเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการผนวกรวมกับ Office
— ฟีเจอร์เหล่านี้และอีกมากมายจะเริ่มวางจำหน่ายและให้บริการในช่วงต่อ ๆ ไป ขณะที่เราใกล้ที่จะเปิดตัว Microsoft Edge เวอร์ชั่นใหม่ออกสู่ผู้ใช้งานในวงกว้างมากขึ้น

– วันนี้ เรายังได้ประกาศถึงวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตของตัวแทนอัจฉริยะ แนวทางใหม่นี้จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างอินเทอร์เฟซการสนทนาที่มีประสิทธิภาพจากข้อมูลและการเรียนรู้ของเครื่อง แทนกฎระเบียบ เจตนา และรหัส เรามองเห็นโลกที่ทุกองค์กรมีตัวแทนอัจฉริยะ เหมือนกับที่ในปัจจุบันนี้ ทุกองค์กรต่างมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ทั้งนี้ ประสบการณ์การสนทนานั้นเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ด้วยกล่องโต้ตอบแบบ multiturn ซึ่งครอบคลุมหลายโดเมน และที่สำคัญคือ เป็นการทำงานร่วมระหว่างตัวแทนหลายตัว เราเพิ่มทีม Semantic Machines เพื่อเร่งการทำงานของเราในส่วนนี้ เทคโนโลยีนี้จะผนวกรวมเข้ากับประสบการณ์การสนทนาในอนาคต ซึ่งรวมถึง Cortana และจะเปิดให้นักพัฒนาได้ใช้งานใน Microsoft Bot Framework และ Azure Bot Service

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์ล่าสุดของ Microsoft 365 รวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือใหม่ ๆ จาก Windows, Office และ Microsoft Teams ได้ที่ https://www.microsoft.com/en-us/microsoft-365/blog/2019/05/06/build-2019-people-centered-experiences-microsoft-365-productivity-cloud/

เทคโนโลยีโอเพนซอร์ซและเครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับนักพัฒนา เพื่อสร้างสรรค์แอปอัจฉริยะจากคลาวด์ถึงเอดจ์
Azure Kubernetes Service (AKS) คือหนึ่งในบริการที่เติบโตเร็วที่สุดใน Azure บริษัทระดับโลก เช่น ASOS เลือกใช้บริการนี้เพื่อจัดการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของ app container บนคลาวด์ พร้อมมอบความน่าเชื่อถือและยืดหยุ่นที่มากกว่าเดิม โดยที่งาน Microsoft Build ครั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้นำเสนอฟีเจอร์และความสามารถใหม่ ๆ ที่หลากหลายเพื่อขับเคลื่อนและปกป้องภาระงานของ Kubernetes:

– Kubernetes Event-driven Autoscaling (KEDA) คือส่วนประกอบแบบโอเพนซอร์ซที่รองรับการติดตั้งคอนเทนเนอร์โดยไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำงานเมื่อมีเหตุการณ์ที่ระบุเกิดขึ้น (event-driven) บน Kubernetes โดยสร้างขึ้นจากการร่วมมือกับ Red Hat ทั้งนี้ ในการจัดแสดงต่อสาธารณะ KEDA ได้นำเสนอตัวเลือกคอนเทนเนอร์ใหม่สำหรับ Azure Functions ที่สามารถติดตั้งในรูปแบบของคอนเทนเนอร์หนึ่งในกลุ่มคลัสเตอร์ Kubernetes ทำให้สามารถใช้โมเดลการเขียนโปรแกรม Azure Functions และตัวควบคุมขนาดการใช้งาน Kubernetes ทุกรูปแบบทั้งในคลาวด์ หรือแบบออนพรีมิสด้วย OpenShift

– Azure Policy for AKS ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับกลุ่มคลัสเตอร์ AKS ในการทำงานที่สอดคล้องกันแบบรวมศูนย์ Azure Policy ปิดกั้นการละเมิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน และประเมินการปฏิบัติตามกฎระเบียบในกลุ่มคลัสเตอร์ที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อการมองเห็นสภาพแวดล้อมการทำงานได้อย่างทันท่วงที

ควอนตัมคือพื้นที่ใหม่ที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักพัฒนา โดยไมโครซอฟท์ได้ออกแบบ Q# ขึ้นมาเพื่อการเขียนโปรแกรมควอนตัมโดยเฉพาะ เพื่อมอบภาษาเขียนโปรแกรมระดับสูงที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยระบบแบบเนทีฟสำหรับคิวบิต โอเปอเรเตอร์ และอื่น ๆ ที่งาน Microsoft Build ครั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้เปิดรับคอมไพเลอร์และซิมูเลเตอร์ภาษา Q# เพื่อสนับสนุนการเติบโตของชุมชนนักพัฒนา Q# และปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ เพื่อให้พาร์ทเนอร์และสตาร์ทอัพสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับธุรกิจของตนเองต่อไป

นักพัฒนาใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันไปกับการออกแบบงานโดยสลับไปมาระหว่างแอปพลิเคชัน บริการ และเครื่องมือ เพื่อช่วยปรับปรุงการจัดสรรเวลาพัฒนาได้ดีขึ้น ไมโครซอฟท์จึงได้นำระบบอัตลักษณ์องค์กร (enterprise identity) ที่ใช้กันมากที่สุดในโลกอย่าง Azure Active Directory (Azure AD) เข้าสู่ GitHub ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้า GitHub Enterprise ได้รับผลประโยชน์จากการจัดการและรักษาความปลอดภัยของ Azure AD ควบคู่ไปกับการเชื่อมบัญชีระหว่างระบบต่าง ๆ ปัจจุบันนักพัฒนาสามารถใช้บัญชี GitHub ที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึง Azure Portal และ Azure DevOps เพื่อเข้าใช้ Azure การอัพเดทนี้ช่วยให้นักพัฒนาของ GitHub สามารถเปลี่ยนจากคลังข้อมูลไปสู่การนำไปใช้งานได้ด้วยบัญชี GitHub ของตัวเอง

การสนับสนุนและการจัดการการเติบโตอย่างรวดเร็วในข้อมูลแอปพลิเคชัน และการสร้างรากฐานสำหรับความสามารถ AI คือองค์ประกอบสำคัญเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันคลาวด์สมัยใหม่ ตัวเลือก Hyperscale (Citus) ใหม่ใน Azure Database สำหรับ PostgreSQL ได้ถูกเพิ่มเข้าสู่ Azure SQL Database Hyperscale เพื่อให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความหน่วงต่ำได้โดยใช้ทักษะที่มีอยู่ Azure Database Hyperscale เพิ่มพลังการคำนวณ การจัดเก็บ และทรัพยากรความจำที่จำเป็นได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยให้นักพัฒนามุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์การใช้งานแอปโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและข้อจำกัดของขนาด Azure คือระบบคลาวด์เพียงหนึ่งเดียวที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถขยายไปได้ในหลายเอ็นจิน ทั้งฐานข้อมูล SQL ของตัวเอง และฐานข้อมูลโอเพนซอร์ซ เช่น PostgreSQL

พัฒนาโซลูชั่นเพื่อกระบวนการเลือกตั้งที่โปร่งใส
เราเชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งที่โปร่งใส และเชื่อว่าบริษัทเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบในการสนับสนุนการเลือกตั้งที่โปร่งใส วันนี้ ไมโครซอฟท์ขอประกาศเปิดตัวสองโซลูชั่นใหม่ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความโปร่งใสของระบบการลงคะแนนทั่วโลก:

– ElectionGuard เป็นชุดเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ซ ซึ่งไมโครซอฟท์ได้พัฒนาขึ้นร่วมกับ Galois เพื่อทำให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ทั้งยังทำหน้าที่เป็นคู่มือและเครื่องมือในการสร้างระบบการลงคะแนนที่เปิดกว้างมากขึ้น ไมโครซอฟท์ขอเชิญชวนให้นักพัฒนาทั่วโลกมาร่วมมือกันต่อยอดและรวม ElectionGuard เข้าในระบบการลงคะแนนทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและระบบใหม่ในอนาคต ทั้งนี้ ElectionGuard SDK จะเปิดให้ใช้งานในฤดูร้อนนี้บน GitHub และไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำหลายรายในการนำร่องใช้บริการนี้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต

– นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังประกาศเปิดตัว Microsoft 365 for Campaigns ก่อนเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน โดยบริการใหม่นี้จะมอบความสามารถระดับสูงของ Microsoft 365 Business ให้กับบรรดาพรรคการเมืองและทีมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยในเบื้องต้นจะให้บริการแก่หน่วยงานรัฐบาลกลางในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ บริการใหม่นี้ยังใช้งานง่ายและจำหน่ายในราคาย่อมเยา ทั้งยังมีการตั้งค่ามาแล้วล่วงหน้าเพื่อช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในการหาเสียง ทั้งนี้ Microsoft 365 for Campaigns พัฒนาต่อยอดมาจาก AccountGuard ซึ่งเป็นบริการแจ้งเตือนการโจมตีระดับรัฐและระดับประเทศ รวมถึงการตรวจจับภัยคุกคาม ที่เราได้ประกาศเปิดตัวไปในปี 2561 เพื่อช่วยให้องค์กรการเมืองมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่ยุ่งยาก ด้วยโปรแกรมเฉพาะด้านที่ทีมหาเสียงสามารถใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ ทีมหาเสียงที่สนใจ สามารถลงชื่อเข้าใช้บริการนี้ได้ที่ https://m365forcampaigns.microsoft.com

ทุ่มลงทุนเพื่อกระชับความสำพันธ์กับพันธมิตรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
พันธมิตรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้า และไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนพันธมิตรเหล่านี้ นับตั้งแต่เปิดตัวโปรแกรมการขายร่วม (co-sell) โปรแกรมแรกที่เปิดโอกาสให้พันธมิตรได้เข้ามาร่วมในเครือข่ายการขายระดับโลกของไมโครซอฟท์ จนถึงปัจจุบันมีผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) เกือบ 3,000 รายบน Azure ซึ่งสร้างรายได้มากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โปรแกรมของเราได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ลูกค้าองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการแนะนำโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องจากพันธมิตร ISV บน Azure วันนี้ ไมโครซอฟท์ขอประกาศขยายโปรแกรมนี้เพิ่มเติม ได้แก่:

– ขยาย co-sell ไปยัง Microsoft 365, Dynamics 365 และ Power Platform เพื่อสร้างความร่วมมือในเชิงลึกมากขึ้นในด้านการขายแอปพลิเคชั่นแบบ line-of-business

– เพิ่มแรงจูงใจในการขายให้กับกลุ่มพันธมิตรช่องทางจำหน่ายของไมโครซอฟท์ เมื่อพันธมิตรจำหน่ายโซลูชั่น ISV ผ่านทางโปรแกรมผู้ให้บริการโซลูชั่นคลาวด์ หรือ Cloud Solution Provider (CSP) Program ของไมโครซอฟท์ ทั้งนี้ สำหรับ ISV ทุกประเภททั้งรายใหญ่และรายเล็ก โปรแกรมนี้จะนำเสนอในรูปแบบ “channel as a service” เพื่อเร่งผลักดันการซื้อของลูกค้า ผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายของไมโครซอฟท์ที่นับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

ขณะเดียวกัน ด้วยการเปิดตัว transactable seat-based SaaS สำหรับ AppSource และ Azure Marketplace ไมโครซอฟท์จะช่วยให้ลูกค้าในกว่า 141 ประเทศ สามารถเข้าถึงนวัตกรรมจากพันธมิตรของเราได้เร็วขึ้น ผ่านทาง cloud marketplaces ของไมโครซอฟท์ หรือผ่านทางช่องทางจัดจำหน่ายทั่วโลก

ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @microsoft) เป็นผู้ขับเคลื่อนการปฏิรูปด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ในโลกแห่งอัจฉริยะภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ที่ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงถึงกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วทุกมุมโลกได้บรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งกว่า

โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/24227/microsoft_corp_logo226_9217jpg.jpg