ไทยยูเนี่ยนประกาศนโยบายต่อต้านกลโกงและภัยคุมคามอาหาร

0
394
image_pdfimage_printPrint

• ไทยยูเนี่ยนริเริ่มนำระบบจัดการป้องกันห่วงโซ่การผลิตจากกลโกงอาหาร
• นโยบายต่อต้านกลโกงและภัยคุกคามอาหารนี้ จะช่วยให้ไทยยูเนี่ยนดูแลลูกค้าและธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
• ระบบจัดการนี้จะช่วยส่งเสริมระบบการตรวจสอบแบบย้อนกลับได้ที่ไทยยูเนี่ยนดำเนินการอยู่ภายใต้กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน หรือ SeaChange® ของบริษัท

26 กันยายน 2562, กรุงเทพมหานคร – บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกาศนโยบายล่าสุดในการป้องกันห่วงโซ่การผลิตอาหารจากการปลอมปนอาหารโดยเจตนา ด้วยระบบการจัดการที่เข้มแข็งในการต่อสู้กับกลโกงอาหาร
นโยบายต่อต้านกลโกงและภัยคุมคามอาหาร นี้จะช่วยให้ไทยยูเนี่ยนดำเนินงานตามกลยุทธ์ความยั่งยืน หรือ SeaChange® ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถตรวจสอบสินค้าเพื่อระบุและบันทึกแหล่งที่มา รวมถึงขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทานได้

นางสาวศิริลักษณ์ สุวรรณรังษี ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายอาหารระหว่างประเทศ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวในการประกาศนโยบายนี้ ณ การประชุมอาหารทะเลโลก หรือ World Seafood Congress เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ว่า

“ไทยยูเนี่ยนมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งที่จะป้องกันห่วงโซ่อุปทานเราจากกลโกงอาหารและภัยคุกคามการผลิตอาหารโดยเจตนา นโยบายใหม่นี้จะทำให้การทำงานของเราเข้มแข็งมากขึ้นในการป้องกันการคุกคามที่มีต่อธุรกิจและลูกค้าของบริษัท”

ไทยยูเนี่ยนยังได้เปิดตัวคู่มือการจัดการต่อต้านกลโกงอาหารและภัยคุกคามการผลิตอาหารโดยเจตนา โดยจะมีข้อแนะนำในการพัฒนามาตรการในการจัดการภัยคุกคามในแต่ละธุรกิจ ซึ่งนางศิริลักษณ์ได้ให้ความเห็นว่า “สำหรับบริษัทไทยยูเนี่ยนแล้ว การที่มีระบบจัดการและป้องกันต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงมีมาตรการในการจัดการอย่างชัดเจนนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อชื่อเสียงของบริษัท”

ดร. แดเรียน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการองค์กรและความยั่งยืน กล่าวว่า

“นโยบายใหม่นี้จะทำงานร่วมกันกับระบบบริหารจัดหารความปลอดภัยอาหารที่พิจารณาจากความเสี่ยงเป็นหลัก และระบบตรวจสอบแบบย้อนกลับได้ของกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® ของบริษัท ทั้งหมดนี้จะช่วยกันต่อสู้กับกลโกงอาหาร และลดความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของไทยยูเนี่ยนและป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา”

กลโกงอาหาร หมายถึง การดำเนินการโดยเจตนาและโดยตั้งใจที่จะทดแทนชนิดวัตถุดิบ ปลอมปน เปลี่ยนแปลง ทำให้เสียหาย หรือ นำเสนอสิ่งที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหาร ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ รวมถึงการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ก่อเกิดความเข้าใจผิด เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจ