1

ไต้หวันประกาศตัวเป็นผู้นำในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องในวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก

วันที่ 28 กันยายนของทุกปีเป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies Day) โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบใน 150 ประเทศทั่วโลก โดยส่งผลกระทบต่อทั้งคนและสัตว์ และทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 60,000 คนต่อปี ด้วยเหตุนี้ สภาเกษตรไต้หวันจึงเดินหน้าป้องกันการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในไต้หวัน โดยมีห้องปฏิบัติการที่สามารถวินิจฉัยโรคอย่างทันท่วงที ส่งผลให้ไต้หวันเป็นผู้นำในการป้องกันการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในช่วงปี 2504-2555 ไต้หวันไม่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าแม้แต่ครั้งเดียว แต่ในปี 2556 พบการระบาดของโรคในฝูงหมาหริ่งในหมู่บ้านฟอร์โมซาน ส่งผลให้สภาเกษตรไต้หวันต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในไต้หวัน และเนื่องในวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ทางสภาเกษตรไต้หวันได้เตรียมวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าพร้อมฉีดทันทีทั่วไต้หวัน นอกจากนี้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรค กรมการตรวจสอบและกักกันสัตว์และพืชยังรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตามนโยบาย “Two No, One Yes” อย่างเคร่งครัด นั่นคือ ไม่เข้าใกล้สัตว์ป่า ไม่ทิ้งสัตว์เลี้ยง และเจ้าของต้องพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน เพราะหากสุนัขและแมวมากกว่า 70% ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี การยับยั้งการระบาดของโรคสู่สุนัขและแมวก็จะมีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงที่คนจะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าก็จะลดลงอย่างมาก

ในฐานะสมาชิกขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ไต้หวันมุ่งมั่นสร้างความโปร่งใสในการรับมือกับโรคในสัตว์ทั่วโลก แบ่งปันข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ควบคุมและกำจัดโรคในสัตว์ จัดการกับโรคติดต่อระหว่างคนกับสัตว์ ยกระดับการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์ และเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบบริการด้านสัตวแพทยศาสตร์ ทั้งนี้ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์ไต้หวัน (AHRI) และสภาเกษตรไต้หวัน ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือกับ ANSES Nancy Laboratory for Rabies and Wildlife จากฝรั่งเศส จัดตั้งโครงการ “OIE Twinning Project” เพื่อความร่วมมือด้านโรคพิษสุนัขบ้าระหว่าง ANSES-Nancy กับ AHRI โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพด้านการวินิจฉัยโรคของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และผลักดันไต้หวันให้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้าในภูมิภาค

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20190927/2594444-1