1

โรคสมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลกที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคนี้

ลอนดอน–6 ธ.ค.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

 

ในการสรุปนโยบายวันนี้ สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) ได้คาดการณ์ตัวเลขผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลกในปี 2556 อยู่ที่ประมาณ 44 ล้านราย (จากระดับ 35 ล้านรายที่ได้คาดการณ์ไว้ เมื่อปี 2553) และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นแตะ 76 ล้านรายภายในปี 2573 (จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 66 ล้านราย เมื่อปี 2553) และ 135 ล้านรายภายในปี 2593 (จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 115 ล้านราย เมื่อปี 2553)

 

(รูปภาพ:http://photos.prnewswire.com/prnh/20131205/658175-a-INFO)

 

(รูปภาพ:http://photos.prnewswire.com/prnh/20131205/658175-b-INFO)

 

การสรุปนโยบาย (Policy Brief) หัวข้อ “ผลกระทบจากโรคสมองเสื่อมทั่วโลกระหว่างปี 2556 – 2593” ยังได้มีการรายงานตัวเลขคาดการณ์ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลก ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ครั้งแรกของ ADI ในรายงานอัลไซเมอร์สากลประจำปี 2552

 

แม้ว่าประเทศที่ร่ำรวยอย่างกลุ่ม G8 ได้รับมือกับผลกระทบอันหนักหน่วงจากการแพร่ระบาดของโรคสมองเสื่อม แต่โรคดังกล่าวถือเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก โดยในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า โรคสมองเสื่อมจะแพร่กระจายไปยังกลุ่มประเทศยากจน และประเทศที่มีฐานะปานกลางมากขึ้นเป็นสัดส่วนถึง 71% ภายในปี 2593

 

มาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortmann) กรรมการผู้อำนวยการ ADI กล่าวว่า “ก่อนที่การประชุมโรคสมองเสื่อมของกลุ่ม G8 (G8 Dementia Summit) จะเริ่มต้นขึ้นในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โรคสมองเสื่อมไม่ได้เป็นเพียงวาระของกลุ่ม G8 เท่านั้น แต่เป็นวาระของทุกๆประเทศ ที่ต้องร่วมมือกัน เพื่อส่งเสริมการจัดทำงานวิจัยโรคสมองเสื่อมอย่างยั่งยืน”

 

ศาสตราจารย์ มาร์ติน พรินซ์ (Martin Prince) จากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน และผู้เขียน Policy Brief กล่าวว่า “ในปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศที่ร่ำรวยกำลังให้ความสนใจต่อโรคสมองเสื่อม โดยโรคดังกล่าวถือว่าเป็นวาระระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศกำลังพัฒนาที่มีทรัพยากรและเวลาที่จำกัดที่จะพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคม สุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างครอบคลุม ในขณะที่พวกเราทุกคนต่างคาดหวังให้เกิดความก้าวหน้าในการรักษาโรค ซึ่งสามารถลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในไม่ช้า เราจำเป็นต้องหันมาร่วมมือกัน เพื่อกำจัดช่องว่างระหว่างการวินิจฉัยและการรักษาโรค เพราะไม่มีใครควรถูกละทิ้งจากการให้ความช่วยเหลือและบริการรักษาโรค”

 

รัฐบาลส่วนใหญ่ยังไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพอ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคสมองเสื่อม โดยมีเพียง 13 ประเทศเท่านั้นที่มีการใช้แผนป้องกันโรคสมองเสื่อมในระดับประเทศ รัฐบาลในแต่ละประเทศควรมีการหารือในระดับประเทศ เพื่อพูดคุยถึงขั้นตอนการเตรียมตัวรับมือในอนาคต รวมถึงการจัดสรรงบประมาณเพื่อการรักษาโรคในระยะยาว นับเป็นความจำเป็นอันเร่งด่วนในการกำหนดแผนงานเชิงรุกร่วมกันทั่วโลกระหว่างรัฐบาล อุตสาหกรรมและองค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ เช่น บรรดาสมาคมอัลไซเมอร์ทั่วโลก

 

ทั้งนี้ ทั่วโลกควรหันมาให้ความสำคัญกับการจัดทำงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพและความครอบคลุมของบริการด้านสุขภาพ คิดค้นวิธีการรักษาโรค ตลอดจนเพิ่มช่องทางในการป้องกันโรค และควรให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบาย บริการสุขภาพ สวัสดิการสังคมและการพัฒนาระบบสาธารณสุขอย่างเท่าเทียมกัน

 

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

 

สามารถดูข้อสรุปนโยบายฉบับเต็มได้ที่: http://www.alz.co.uk/G8policybrief

 

ADI จะเปิดเผยรายชื่อสมาคมอัลไซเมอร์ในกลุ่ม G8 ที่เป็นสมาชิกภายในการประชุม G8 Dementia Summit.

 

รายชื่อบุคคลที่พร้อมให้การสัมภาษณ์

 

– ศาสตราจารย์ มาร์ติน พรินซ์  สถาบันจิตเวชศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน

– นายมาร์ค วอร์ทแมน กรรมการผู้อำนวยการสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

 

เกี่ยวกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

 

สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer’s Disease International) เป็นสมาพันธ์ระดับโลกซึ่งประกอบด้วยสมาคมอัลไซเมอร์ 79 แห่งทั่วโลก โดยสมาชิก 79 แห่งทั่วโลกนั้นล้วนเป็นองค์กรอัลไซเมอร์ที่ไม่แสวงผลกำไร ที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและครอบครัวของผู้ป่วย ADI ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 และได้จดทะเบียนในฐานะองค์กรไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐ โดยมีสำนักงานอยู่ที่กรุงลอนดอน ADI ยังได้ประสานงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2539 และองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) ตั้งแต่ปี 2555

 

วิสัยทัศน์ของ ADI คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและครอบครัวของผู้ป่วยทั่วโลก ADI เชื่อว่า กุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการกับโรคสมองเสื่อมนั้น เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างโซลูชั่นระดับโลกและองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น ดังนั้น ADI จึงมีการประสานงานในระดับท้องถิ่น ผ่านการร่วมงานกับสมาคมอัลไซเมอร์เพื่อส่งเสริม ส่งมอบบริการรักษาโรคและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและผู้ดูแล ขณะที่มีการดำเนินงานในระดับโลก เพื่อให้ความสำคัญต่อโรคสมองเสื่อมและแคมเปญต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายของทางรัฐบาล

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่  http://www.alz.co.uk

 

สื่อมวลชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

 

อนาซตาเชีย โซมา (Anastasia Psoma)

เจ้าหน้าที่โครงการ, สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

อีเมล a.psoma@alz.co.uk

โทร. +44(0)7990-869-052

 

แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล