1

แนวโน้มการให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น เทรนด์ไมโคร แจ้งเตือนผู้ใช้เพิ่มความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 9 ตุลาคม 2555 รายงานจากบริษัทเทรนด์ไมโคร และศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ เปิดเผยว่า ด้วยฟังก์ชันที่หลากหลายซึ่งช่วยจัดการงานต่างๆ ที่ปกติจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบดาวน์โหลดได้มาช่วยดำเนินการ ทำให้การสมัครใช้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ส่วนบุคคลเกิดการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และจากผลการสำรวจเกี่ยวกับระบบคลาวด์ครั้งล่าสุดของบริษัท ไอดีซี พบว่า 19% ของร้านค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เริ่มนำบริการการประมวลผลแบบคลาวด์บางอย่างมาปรับใช้แล้ว และมีอีกกว่า 30% กำลังประเมินการปรับใช้ระบบคลาวด์ในอีก  2 – 5 ปีจากนี้

การเพิ่มจำนวนของการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ส่วนบุคคลนั้น เป็นผลมาจากความสะดวกและความคุ้มค่า ตัวอย่างเช่น บริการจดบันทึกด้วยคลิกเดียวและบริการบุ๊กมาร์ก เช่น Evernote กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ โดยผู้ใช้จะใช้ฮาร์ดแวร์ในจำนวนที่น้อยลงเพื่ออัพโหลดข้อมูล ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและมีความสามารถด้านการประมวลผลที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบคลาวด์จะเข้ามาช่วยจัดการปริมาณงานดั้งเดิมได้ในสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง โดยขณะนี้แอพพลิเคชั่นฟรีหรือราคาถูกที่อำนวยความสะดวกสำหรับการดาวน์โหลดสื่อข้อมูล การแบ่งปันข้อมูลทางสังคมออนไลน์ การธนาคาร และบริการโทรศัพท์มีพร้อมให้บริการอย่างแพร่หลาย

          นางสาวไมลา ปิลาโอ ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารด้านการตลาด ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ กล่าวว่า “จากการวิจัยล่าสุดพบว่ากิจกรรมเกี่ยวกับระบบคลาวด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อีเมลผ่านเว็บ การธนาคารออนไลน์ การช้อปปิ้งออนไลน์ การอัพโหลดรูปภาพ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้คนสมัยนี้นิยมจัดเก็บรูปถ่ายไว้บน        เฟซบุ๊ก อินสตราแกรม หรือปิคาซ่า โดยไฟล์จะถูกอัพโหลดไปยังดร็อปบ็อกซ์ หรือกูเกิล ไดร์ฟ  ในขณะที่ผู้ใช้กำลังเดินหน้าเข้าสู่ระบบคลาวด์อย่างต่อเนื่อง พวกเขาอาจยังไม่ทราบว่ามีภัยคุกคามรูปแบบใดบ้างที่พวกเขาจะต้องเผชิญ ปัจจุบันผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียโดยทั่วไปมักเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเพื่อแลกกับบริการฟรีและโฆษณาที่ตรงตามเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งนั่นอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดข้อมูลรั่วไหลได้”

สำหรับความเสี่ยงที่เป็นไปได้หลายอย่างที่ผู้ใช้อาจเผชิญในขณะที่ใช้บริการแบบคลาวด์ มีดังนี้

  • แคมเปญภัยคุกคาม แคมเปญภัยคุกคามในจำนวนที่มากขึ้นจะกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยอาชญากรไซเบอร์สามารถเจาะระบบบัญชีที่ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาง่ายหรือนำรหัสผ่านเดิมๆ กลับมาใช้ หรือข้อมูลที่ไม่มีการเข้ารหัสลับไว้

 

 

 

  • ข้อบกพร่องในระบบหรือช่องโหว่ของแอพพลิเคชั่นอาจทำให้ข้อมูลตกอยู่ในภาวะเสี่ยงได้ เนื่องจากจะเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์สามารถเข้ามาเจาะระบบ โดยช่องโหว่เหล่านี้สามารถเริ่มต้นได้จากอินเตอร์เฟสของแอพพลิเคชั่นเอง และแอพพลิเคชั่นฟรีที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่อาจทำให้ฐานข้อมูลผู้ใช้ในประเภทต่างๆ ตกอยู่ในความเสี่ยงได้เช่นกัน
  • ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ผู้ใช้บริการอาจถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการใช้ข้อมูลหรือแอพพลิเคชั่นผ่านระบบมือถือ โดยแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายสามารถทำให้บริการระดับพรีเมียมเรียกเก็บค่าบริการในใบแจ้งหนี้ถัดไปได้
  • การเข้าถึงที่ยากลำบาก การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีสัญญาณไม่แรงพอ การหยุดให้บริการของระบบ และภาวะไฟฟ้าดับอาจทำให้การเข้าถึงข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ในระบบคลาวด์ล่าช้าได้
  • ข้อมูลรั่วไหลของผู้ให้บริการ การใช้บริการแบบคลาวด์จะให้สิทธิ์ในการควบคุมแก่ผู้ให้บริการ โดยจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างของการโจมตีผู้ใช้ดร็อปบ็อกซ์ที่โดนสแปมโจมตี โดยมีสาเหตุมาจากไซต์ของบุคคลที่สามที่เชื่อมโยงอยู่กับบริการดังกล่าวนั่นเอง นอกจากนี้แฮคเกอร์ยังได้ปล่อยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้อุปกรณ์ Apple จำนวน 1 ล้านราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ถูกกล่าวอ้างว่ามาจากอุปกรณ์ Apple iOS ที่มีจำนวนมากกว่า 12 ล้านเครื่อง
  • ปัจจัยด้านมนุษย์ บุคคลที่เป็นอันตรายหรือผู้โจมตีจะหลอกลวงพนักงานในองค์กรที่รู้ไม่เท่าทันโดยเลือกใช้เทคนิควิศวกรรมสังคม

 

บริษัทเทรนด์ไมโคร และศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ ขอแนะนำเคล็ดลับสำหรับผู้ใช้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ส่วนบุคคลเพื่อปกป้องตัวเอง ดังนี้:

  • อัพเดตแอพพลิเคชั่นของคุณอยู่เสมอ ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นจะจัดการข้อบกพร่องของบริการและแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ ในรูปของโปรแกรมอัพเดต
  • ระวังลิงก์ที่ไม่รู้จัก อย่าคลิกลิงก์หรือเปิดสิ่งที่แนบมาจากอีเมลที่ดูน่าสงสัย เคล็ดลับเดียวกับที่ใช้ในบริการข้อความโต้ตอบแบบทันที (IM) และข้อความส่วนตัวบนไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์
  • ใช้บริการแบบคลาวด์ เช่น เทรนด์ไมโคร เซฟซิงค์ ที่มีการเข้ารหัสข้อมูลที่คุณสามารถอัพโหลดได้โดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับการสำรองข้อมูลและซิงค์ข้อมูลของคุณในพีซี, เครื่อง Mac, iOS, Android และด้วยการเชื่อมต่อตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวันผ่านทางเครื่องเดสก์ท็อป ระบบมือถือ และไซต์ต่างๆ โดยใช้ศูนย์ข้อมูลของบริษัทเทรนด์ไมโคร ส่งผลให้การแบ่งปันข้อมูลทั้งหมดจะได้รับการรักษาความปลอดภัยด้วยอาศัยตัวเลือกต่างๆ เช่น รหัสผ่าน วันที่หมดอายุ และการปิดใช้งานลิงก์ต่างๆ
  • ป้องกันอุปกรณ์มือถือของคุณ ใช้โปรแกรมรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบมือถือ เช่น เทรนด์ไมโคร โมบาย          ซิเคียวริตี้ เพื่อป้องกันแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตราย

 

 

 

 

  • ยกระดับการรักษาความปลอดภัยสำหรับรหัสผ่านของคุณ เปลี่ยนรหัสผ่านที่คาดเดาง่ายให้เป็นวลีที่ยากต่อการจดจำสำหรับบุคคลอื่นๆ โดยอาจะเลือกใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน เช่น เทรนด์ไมโคร ไดเร็คพาสจะช่วยให้คุณสามารถใช้รหัสผ่านหลักเพียงรหัสผ่านเดียวสำหรับบัญชีทั้งหมดของคุณได้
  • สำรองข้อมูลมือถือคุณ โดยเลือกใช้เทรนด์ไมโคร โมบาย แบ็คอัพ และรีสโตร์ ซึ่งจะพร้อมทำงานในทันทีที่อุปกรณ์ของคุณเกิดปัญหาหรือถูกขโมย