แนวคิดเด็กไทยยุค 4.0…เทคโนโลยีลดการเลื่อมล้ำ

0
776
image_pdfimage_printPrint

ด้วยไลฟ์สไตล์และการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้โลกทั้งใบถูกย่อให้เล็กลง จะเดินทางไปไหนก็ง่ายดั่งใจนึก นอกจากปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ของประชากรโลก คือ สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ เพียงพกติดตัวไว้ โลกใบใหญ่จะเล็กลงทันตา นอกจากจะนำเทคโนโลยีเอามาช่วยในการสื่อสารแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลยังให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารประเทศ ประกาศนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ส่งผลให้เด็กไทยยุคใหม่ต้องไฮเทคโนโลยี โดยการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีมาใช้ในระบบการศึกษา ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วคลิก
น้องแพท-พริมา ยนตรรักษ์ ผู้ก่อตั้งใจกลุ่มจิตอาสา “The Lionheart Society ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ ชั้นปีที่ 3 ใน Stanford University, California กล่าวว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญ “อย่างมาก” กับการดำเนินชีวิต และการทำธุรกิจในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีสามารถย่อโลกให้เล็กลง เราสามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวได้จากทุกมุมโลก ในส่วนของภาคธุรกิจ มันทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลการขาย ข้อมูลสินค้าคงคลัง (stock) ช่วยในการทำบัญชีและรายงานต่างๆ นอกจากนี้เทคโนโลยียังมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ในระดับสูง เพื่อประเมินผลทางความรู้สึกของผู้รับฟังข่าวสารจากแหล่งต่างๆ ว่าธุรกิจหรืออุตสาหกรรม หรือเศรษฐกิจมีสภาพเช่นใด โดยไม่ต้องใช้บุคลากรในการทำงาน อีกทั้งยังช่วยในการวัดผลเชิงจิตวิทยาในสังคมออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งการวัดผลความสำเร็จในการโฆษณา การหาลูกค้าใหม่ และการปรับปรุงสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและความต้องการของผู้บริโภคทั้งในธุรกิจทั่วไปและธุรกิจออนไลน์อีกด้วย
จากเข้าร่วมงานในโครงการ “Stanford Economics Association” แพทได้เรียนและศึกษางานกับ Professor Raj Chetty ซึ่งเป็นนักวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดการไหลเวียนของรายได้ นอกจากนี้ได้เรียนรู้จาก Professor John Talor อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ เจ้าของแนวคิด “Taylor Rule” ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐ ครั้งล่าสุด จากการศึกษาอย่างจริงจังทำให้ทราบว่า ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องเทศโนโลยีระดับสูง ทำให้หลายๆ Platforms ไม่สามารถสนับสนุนการบริการทางเทคนิคใหม่ๆ ได้ อาทิ ข้อจำกัดทางด้านบุคคลากร ข้อจำกัดของผู้บริโภค ยังมีผู้บริโภครุ่นเก่าอีกจำนวนมากที่ยังไม่คุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อขายออนไลน์ หรือความกังวลอื่นๆ เกี่ยวกับความปลอดภัย และข้อจำกัดด้านการผลิตอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
น้องแพท กล่าวปิดท้ายว่า จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มันเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ในฐานะเด็กไทยที่มีโอกาสได้เรียนรู้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก จึงอยากนำความรู้ความสามารถกลับมาพัฒนาประเทศ ด้วยการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเหลือ กลุ่มธุรกิจ Start Up หากเราสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการกระบวนการผลิต ก็สามารถจะทำให้ลดปริมาณต้นทุน และที่สำคัญไม่ต้องนำเข้าเครื่องจักรในต่างประเทศอีกต่อไป นี่แหละเด็กไทยยุคใหม่หัวใจ 4.0 อย่างแท้จริง…