เป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีแล้วว่าเยาวชนรุ่นใหม่ใช้เวลาไปกับชีวิตออนไลน์มากขึ้นทุกที แต่ก็มิได้มีเพียงเยาวชนที่มีพฤติกรรมโน้มเอียงมาทางนี้ เราพบว่าผู้ใช้รุ่นใหญ่ หรือ ส.ว. (อายุในเกณฑ์ 55 ปีขึ้นไป) นั้นก็เริ่มที่จะส่อแววติดโลกดิจิทัลไม่น้อยเช่นกัน ทำเอาบรรดาสมาชิกในครอบครัวถึงกับกังวลว่าผู้ใช้รุ่นใหญ่จะไม่รู้วิธีที่จะระมัดระวังความปลอดภัยในโลกออนไลน์อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ใช้ทั่วไปจำนวนหนึ่งในสามทีเดียวที่แม้จะกังวลใจแต่ก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อปกป้องผู้ใช้รุ่นใหญ่ กลับปล่อยไว้ให้กลายเป็นช่องโหว่ที่อาจเกิดอันตรายได้
ชีวิตประจำวันของเราตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ มากยิ่งขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเยาวชน หรือกลุ่มผู้ใหญ่สูงวัยก็เช่นเดียวกัน จากผลการสำรวจโดยแคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับบีทูบี อินเตอร์เนชั่นแนล พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ (84%) ช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป สามารถเข้าอินเทอร์เน็ตได้ที่บ้านวันละหลายครั้ง และพบว่า 44% ใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตนี้อย่างน้อยๆ ถึง 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เลยทีเดียว
ในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2560 พบว่า กลุ่มผู้สูงวัยนี้เป็นเจ้าของอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เฉลี่ย 4 ชิ้นต่อครัวเรือน อาทิ คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องและโมบายดีไวซ์อีก 2 เครื่อง
แม้ว่าการที่บรรดาผู้สูงวัยในครอบครัวจะทันสมัยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นซึ่งมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังเต็มไปด้วยความกังวลถึงอันตรายที่แฝงมาทางออนไลน์หากไม่ได้มีวิธีการป้องกันที่จำเป็น คิดเป็นจำนวนถึง 60% ที่เป็นห่วง ส.ว.ในครัวเรือนที่ท่องโลกออนไลน์ใช้อุปกรณ์ดิจิทัล และอีก 44% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยอมรับว่าผู้สูงวัยในบ้านของพวกเขาเคยเผชิญภัยคุกคามทางออนไลน์ด้วย เช่น เป็นเหยื่อการล่อลวงทางออนไลน์ถึง (15%) และโดนมัลแวร์หรือไวรัส (15%) และถูกซอฟต์แวร์ร้ายแอบส่องข้อมูล (13%) ความหวาดกลัวเหล่านี้ถือว่ามีมูลทีเดียว
อย่างไรก็ตาม แม้จะกังวลต่อภัยคุกคามทางออนไลน์ที่สมาชิก ส.ว. ในครอบครัวเผชิญความเสี่ยงอยู่ทุกวัน แต่ก็ไม่ได้แปรเปลี่ยนมาสู่การหาวิธีป้องกันหรือให้การช่วยเหลือแต่อย่างใด มีเพียง 34% ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจกับเราเท่านั้นที่ติดตั้งโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยบนอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ ส.ว. ใช้งาน และมีเพียง 32% ที่คอยแนะนำข้อมูลความรู้เพื่อให้ส.ว. เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับภัยที่มาคุกคามทางออนไลน์ หนึ่งในสาม (33%) ไม่ได้กระทำการใดๆ เลย ปล่อยให้เผชิญความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ร้ายแรงภัยรูปแบบต่างๆ อันเนื่องมาจากการขาดความปลอดภัยไซเบอร์
ดิมิทรี อะเลชิน รองประธานฝ่ายการตลาด แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุนั้นถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง เผชิญความเสี่ยง ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีของผู้ไม่ประสงค์ดีทางไซเบอร์ เป็นกลุ่มที่ผู้ร้ายจับตามองสำหรับมัลแวร์ สปายแวร์และอีเมลสแกม วิธีเดียวเท่านั้นที่จะต่อกรกับภัยคุกคามอย่างได้ผลทันทีคือ เราต้องเพิ่มความรู้ความเข้าใจเพื่อให้รู้ทันรูปแบบของภัยไซเบอร์ และที่สำคัญควรมีซอฟต์แวร์เพื่อความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพติดตั้งใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ แม้แต่อุปกรณ์โมบาย เป็นการช่วยลดความเสี่ยง และยังเป็นการป้องกันสมาชิกผู้ใหญ่ในครัวเรือนให้พ้นจากความน่ารำคาญใจในรูปแบบต่างๆ ที่มากับชีวิตดิจิทัลได้อีกทางหนึ่งด้วย”
ผู้คนปัจจุบันใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับกิจกรรมออนไลน์ เพิ่มอัตราความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ ดังนั้นจึงควรหันมาให้ความสนใจในการป้องกันตนจากภัยที่เข้ามาคุกคามทางไซเบอร์ที่มาในรูปแบบใหม่อยู่เรื่อยๆ วิธีหนึ่งคือการใช้เครื่องมือช่วยในการป้องกันตัวเอง เช่น โซลูชั่น Kaspersky Total Security ซึ่งมีฟังก์ชั่นป้องกันภัยไซเบอร์หลากหลายฟังก์ชั่นใช้งาน เพื่อรองรับวิถีชีวิตดิจิทัลที่หลากหลายของผู้คนและให้การป้องกันได้บนอุปกรณ์ใช้งานประเภทต่างๆ ในคราวเดียว ทำให้สมาชิกในครอบครัวสามารถสื่อสารหากันได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยง ความปลอดภัย หรือถูกมัลแวร์ หรือโจรกรรมข้อมูลสำคัญส่วนตัว ทั้งยังมี Kaspersky Free ไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่ใช้วินโดวส์ บล็อกไฟล์อันตราย เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น เพื่อช่วยป้องกันข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนเครื่องอุปกรณ์ใช้งาน
• ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่น Kaspersky Total Security
https://www.kaspersky.com/total-security
• ข้อมูลรายงานผลการสำรวจ 2017 Consumer Security Risks Survey report: “Not logging on, but living on”
https://media.kasperskycontenthub.com/wp-content/uploads/sites/100/2017/11/10083912/4114_B2C_Report_2017_WEB.pdf
###