เอเชียเจอฟิชชิ่งกลโกง “วันคนโสด 11.11” สาหัส แคสเปอร์สกี้แนะวิธีเลี่ยงภัยไซเบอร์สำหรับนักช้อป

0
554
image_pdfimage_printPrint

นักวิจัยแคสเปอร์สกี้แจ้งเตือนการฉ้อโกงออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นมากในทวีปเอเชียในช่วงลดราคาสินค้าเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสด 11.11 (11 พฤศจิกายน) แม้ว่าเทศกาลวันคนโสดนั้นเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศจีน รวมถึงโปรโมชั่นก่อนเทศกาลและการลดราคาสินค้าจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหญ่ๆ ในเอเชีย แต่ตอนนี้ได้กระจายไปถึงนักช้อปทุกตลาดทั่วโลก กิจกรรมนี้จึงเป็นอีกเป้าหมายสำคัญของมิจฉาชีพไซเบอร์

นักวิจัยตรวจพบการโจมตีฟิชชิ่งทางการเงินก่อนเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดในปี 2018 ที่เพิ่มสูงขึ้นแบบพุ่งพรวด โดยในเดือนตุลาคม 2018 พบการโจมตีฟิชชิ่ง 350,000 ครั้งต่อวัน จากนั้นก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2018 เพียงไม่กี่วัน พบการโจมตีสูงขึ้นเป็น 950,000 ครั้งต่อวัน โดยในปี 2019 นี้ นักวิจัยได้ตรวจพบการโจมตีฟิชชิ่งและสแปมที่มีลักษณะคล้ายกัน จึงขอเตือนนักช้อปทั่วโลกให้ระมัดระวังการใช้จ่ายออนไลน์ในช่วงนี้

นอกจากนี้ นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ยังพบภัยคุกคามในโมบายแอปพลิเคชั่นที่ปลอมแปลงตัวเองหลอกนักช้อปให้เข้าใจว่าเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยม สัดส่วนร้านค้าที่จัดโปรชั่นส่วนลดในวันคนโสดนั้นสูงมาก ในปี 2019 มีร้านค้าออนไลน์จำนวน 83% ที่หลอกว่าเป็นร้านในตลาดเอเชีย ขณะที่ตัวเลขในปี 2018 พบสูงถึง 93%

อันเดร คอสติน นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ขณะที่วันคนโสดเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับนักช้อป เพราะมีทั้งโปรโมชั่นและส่วนลดมากมาย และก็ยังเป็นช่วงเวลาในฝันของมิจฉาชีพฟิชชิ่งและสแปมเช่นกัน นักช้อปมักขาดความระแวดระวังขาดความสังเกตุสิ่งผิดปกติ เพราะกำลังไล่ล่าสินค้าในราคาที่หมายตาไว้ ทั้งนี้หากนักช้อปปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยไซเบอร์ขั้นพื้นฐานแล้ว ก็จะช้อปได้อย่างปลอดภัยไรกังวลเช่นกัน”

คำแนะนำจากแคสเปอร์สกี้ เพื่อหลีกเลี่ยงสแปมและฟิชชิ่งในช่วงเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสด

– หากได้รับอีเมลพร้อม link ข้อเสนอโปรโมชั่น ควรตรวจสอบ link ที่ฝังไว้ด้วย บางครั้งอาจไม่ตรงกับที่เห็น link ที่ถูกต้องจะต้องกดแล้วไปยังหน้าโปรโมชั่นของเว็บไซต์จริง

– ทำการซื้อขายผ่านตลาดออนไลน์ที่เป็นทางการเท่านั้น และหากกด link มาจากที่อื่น ให้สังเกตุเว็บแอดเดรสด้วย หากแตกต่างจากร้านค้าออนไลน์ที่เป็นทางการ นักช้อปควรพิจารณาเลือกข้อเสนออื่นๆ จากเว็บทางการแทน

– ใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยที่มีเทคโนโลยีแอนตี้ฟิชชิ่ง เช่น Kaspersky Security Cloud และ Kaspersky Total Security ซึ่งจะช่วยแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้กำลังจะเข้าเว็บฟิชชิ่ง

– ไม่ใช้พาสเวิร์ดเดียวกันหลายเว็บไซต์หลายเซอร์วิส เพราะถ้าหากหลุดไปอยู่ในมือผู้ประสงค์ร้าย แอคเค้าท์ทั้งหมดทุกรายการจะตกอยู่ในความเสี่ยง สามารถเลือกใช้โซลูชั่นจัดการพาสเวิร์ด เช่น Kaspersky Password Manager เพื่อสร้างพาสเวิร์ดที่แฮกยากและมีตัวช่วยจำ