1

“เอพี” เปิดโลกทัศน์งานดีไซน์สไตล์ญี่ปุ่น

“ญี่ปุ่น” มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้านงานดีไซน์ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ผสมผสานแนวคิดสมัยใหม่กับวัฒนธรรมดั่งเดิม โดดเด่นด้วยรูปทรง พรั่งพร้อมด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย                                     ในขณะเดียวกันยังให้ความรู้สึก “เรียบหรู” ที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และเพื่อให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของปรัชญาแนวคิดในการดีไซน์ในแบบฉบับของงเจแปนนิสมากยิ่งขึ้น บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับการใช้ชีวิตแบบคนเมือง จึงได้ร่วมกับบริษัท มิตซูบิชิ จิโช เซเคอิ จำกัด บริษัทสถาปนิคในเครือ มิตซูบิชิ เอสเตท จำกัด (มหาชน) บริษัทฯ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น จัดสัมมนาภายใต้หัวข้อ Every Inch Matters – Principles of Japanese Design นำเสนอกระบวนความคิดในการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยใช้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด รวมถึงการถ่ายทอดปรัชญาแนวคิดการดีไซน์แบบญี่ปุ่น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับไลฟ์สไตล์ของคนไทย โดยมีคนดังมาร่วมฟัง อาทิ แนท-วสุ วิรัชศิลป์, หมู-จุฬาลักษณ์ ปิยะสมบัติกุล, ดวง-วรรณพร โปษยานนท์, จิ๊บ-วสุ แสงสิงแก้ว, โอ่ง-กงพัฒน์ ศักดาพิทักษ์,ภารวี วงศ์จิรชัย, มะลิ จาตุรจินดาและบรรดาแขกผู้มีเกียรติตบเท้าร่วมงานอย่างคับคั่ง พร้อมด้วยศิลปินสถาปนิกสาวเก่ง ญารินดา บุนนาค มานั่งพูดคุยเป็นพิธีกรตลอดรายการ ณ Auditorium Room TCDC

8P8A1052

โดย วิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์การตลาด ได้เชิญ 2 กูรูชื่อดัง               จากประเทศญี่ปุ่น มร.เททสึยะ โอคุสะ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ (นานาชาติ) และ มร.โชอิจิโระ โทบะ หัวหน้าฝ่ายออกแบบ บริษัท มิตซูบิชิ จิโช เซคเคอิ จำกัด ซึ่งมีผลงานการออกแบบชื่อดังอย่างเช่น โรงแรมเพนนินซูล่า ย่านกินซ่า และจัดวางผังเมืองเขตมารุโนะอุจิ (Marunouchi) แหล่งธุรกิจสำคัญใจกลางกรุงโตเกียว มาร่วมแชร์ไอเดียว่า “แนวคิดหรือปรัชญาการออกแบบสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นที่สำคัญนั้น ประการแรก คือ 1) Kohji & Shoji  อีกหนึ่งแนวคิดภายใต้เอกลักษณ์เฉพาะตัวของการออกแบบสถาปัตยกรรมประเทศญี่ปุ่นที่ใช้ Grid & Line มาประยุกต์ในงานการออกแบบ ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นคำว่า Kohji หมายถึงจังหวะ เส้นไม้ระแนงที่ซ้ำกันต่อเนื่องแบบเป็นจังหวะ และ Shoji หมายถึง หน้าต่างหรือประตูบานเลื่อนที่อยู่คู่กับเสื่อทาทามิ  หลักการนี้ได้ถูกประยุกต์บนการออกแบบทั้งงานสถาปัตยกรรมโครงสร้าง และงานออกแบบภายในตัวบ้าน ด้วยความโดดเด่นของ  Grid & Line Architect – Interior – Landscape จะช่วยให้มุมมองการจัดตำแหน่งแนวผนัง หน้าต่าง ประตู ก่อให้เกิดงานดีไซน์ที่มีความลงตัว ความเรียบร้อยและมีความสมดุลย์มากยิ่งขึ้น ประการที่ 2 Engawa –Inside out, Outside in   การเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกอาคารให้มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน  กล่าวคือ การออกแบบผนังจากภายในเชื่อมต่อออกไปภายนอกพื้นที่ของสวนธรรมชาติ ทำให้พื้นที่ในร่มและกลางแจ้งปราศจากสิ่งขวางกั้น ผู้อาศัยสามารถสัมผัสความรู้สึกโปร่งสบายใกล้ชิดธรรมชาติ ประการที่ 3 Light & Shadow เทคนิคการให้แสงและเงา เพื่อชวนค้นหา  ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นแรงดึงดูดที่สำคัญในการดึงผู้คนให้สนใจและอยากเข้าไปค้นหาคำตอบในตัวงานว่ามีความสวยงามมากน้อยเพียงใด ประการที่ 4 การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ของงานให้เกิดความสมดุลย์และใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ประการที่ 5 เน้นความมีมิติและความลึกลับ เปรียบเสมือนการดูหนัง ที่เราไม่มีทางคาดเดาได้ว่าตอนจบของเรื่องจะเป็นอย่างไร  ประการที่ 6  เป็นการใช้เส้นโค้งเพื่อให้ความรู้สึกถึงความน่าค้นหาและการรอคอยเพื่อค้นพบอะไรบ้างอย่าง  ประการที่ 7 การสร้างความเหลื่อมล้ำของสเปซ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้เกิดขึ้นกับงานสถาปัตยกรรม ประการที่ 8 ด้วยภูมิอากาศของญี่ปุ่น ช่วงหน้าร้อนแดดจะแรงมากขณะที่หน้าฝนก็จะมีฝนตกหนัก เพราะฉะนั้นคนญี่ปุ่นจึงออกแบบชายคาค่อนข้างยื่นออกมา ซึ่งนอกจากจะเพื่อประโยชน์ด้านการใช้งานแล้ว ยังทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างความมืดและความสว่างภายในกับภายนอกอาคาร หรือสร้างความคอนทราสท์ให้กับผลงานนั้นเอง และประการสุดท้าย คือการออกแบบให้มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยวางองค์ประกอบของลายเส้นเพื่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”

“ออกแบบให้มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”

 

ด้านดีไซน์เนอร์สาวมั่น หมู-จุฬาลักษณ์ ปิยะสมบัติกุล แชร์ประสบการณ์ความชื่นชอบในงานดีไซน์เมืองปลาดิบว่า “หมูชอบความเป็นเจแปนนิสด้วยจุดเด่นที่มีความเรียบง่ายแต่ลงตัว ซึ่งตอนเรียนหมูยังได้ทำรีเสิร์ชด้านเจแปนนิชโปรดักส์ ซึ่งทำให้เรารู้ว่าคนญี่ปุ่นนั้นมีกระบวนการความคิดอย่างไรก่อน                   ที่จะออกมาเป็นผลงานซักหนึ่งงาน และอีกอย่างที่เห็นคือถึงแม้ไลฟ์สไตล์ของเมืองจะเปลี่ยนไปแต่เค้าก็สามารถออกแบบและจัดการพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กได้อย่างลงตัวมากค่ะ”   

 

พร้อมกันนี้ทั้ง 2 กูรูยังได้เชิญชวนผู้ที่สนใจอยากชมผลงานที่เกิดขึ้นจากการผสานความร่วมมือด้านดีไซน์ร่วมกันระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ เอพี และมิตซูบิชิ จิโช เซคเคอิ กับ 3 โครงการบน 3 ทำเลคุณภาพ รอให้ร่วมพิสูจน์เร็วๆ นี้ที่งาน Rethink Space ณ ชั้น 1 สยามพารากอน วันที่ 15-18 พฤษภาคมนี้