เสนอแนวทาง “ระบบจัดซื้อจัดจ้างก่อสร้างภาครัฐตามหลักการ CoST และมาตรฐานรหัสต้นทุน ของวสท.

0
323
image_pdfimage_printPrint

jpg3

ในโอกาสงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ (วสท.)
เชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมงานเสวนา เรื่อง “ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อความโปร่งใสตามแนวทาง CoST
(Construction Sector Transparenct Initiative) “พร้อมเผย มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างอาคาร
ของวสท. ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค (Assoc.Prof.Dr. Tortrakul Yomnak) อตีตนายก
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฯ
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (Prof.Dr. Suchatvee Suwansawat) นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวถึงนโยบาย วสท. และความร่วมมือของวิศวกรไทยในการสร้างสรรค์ธรรมาภิบาล ว่า “ในแต่ละปีเงินลงทุนภาครัฐซึ่งเป็นการลงทุนขนาดใหญ่และมีมูลค่ามหาศาล เกิดการทุจริตคอรัปชันจำนวนมาก มีการสูญเสียไปประมาณ 10-30% ของมูลค่าโครงการ อันเนื่องมาจากการคอร์รัปชัน และจากความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการ ขาดความโปร่งใส ซึ่งกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่สั่งสมมายาวนานของประเทศไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ทำลายภาพลักษณ์และความเชื่อถือในประเทศ ตลอดจนสั่นคลอนความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) มีนโยบายส่งเสริมธรรมาภิบาล วิศวกรไทยไม่เอาคอรัปชั่น และศักดิ์ศรีวิศวกรไทย…รับใช้สังคม วสท.ยังร่วมกับภาคีเครือข่ายต้านคอรัปชั่นในการเสริมสร้างจิตสำนึก ความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพวิศวกรเพื่อร่วมสร้างอนาคตของประเทศที่ดีงาม พร้อมไปกับเสริมศักยภาพและประสิทธิภาพในงานก่อสร้างซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศไทย โดยวสท.ได้ดำเนินการจัดทำและเผยแพร่ มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างอาคารสำหรับประเทศไทย ซึ่งทางเลขาธิการ วสท.จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ (Assoc.Prof. Siriwatthana Chaichana) เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวถึง มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างอาคารของ วสท. ว่า การจัดซื้อจัดจ้างโครงการใหญ่ๆของรัฐบาล ได้นำเอาหลักการของ CoST เข้ามาใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในทุกขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้าง หลักใหญ่ๆก็คือ การเปิดเผยข้อมูล ตั้งแต่การวางแผนโครงการ การอนุมัติและเตรียมโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง การดำเนินโครงการ รวมไปถึงการตรวจรับโครงการ จะมีคณะกรรมการพิจารณาการเปิดเผยข้อมูล การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ยกตัวอย่าง โครงการก่อสร้าง จะเริ่มตั้งแต่การศึกษาความเป็นไปได้ การวางแผนงบประมาณ การออกแบบโครงการ การกำหนดรายการประกอบแบบ การกำหนดราคากลาง ขบวนการจัดจ้าง การตรวจสอบขณะก่อสร้าง การตรวจรับงานและการรับผิดชอบงาน เป็นต้น ทุกขั้นตอนสามารถเข้าถึงและรับทราบได้หมด ส่วนเรื่อง รหัสต้นทุนค่าก่อสร้าง นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำราคากลางของโครงการ ซึ่งมาตรฐานการวัดปริมาณงานและการคิดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างควรมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในองค์กรต่างๆทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการจัดตั้งองค์กรนี้อย่างเป็นทางการ การทำราคากลางใช้หลักการที่ประกาศโดยมติ ค.ร.ม.ซึ่งปรับเปลี่ยนไปได้ในแต่ละปี และราคาวัสดุ ราคาค่าแรงก็ถูกกำหนดให้ใช้อัตราประกาศเป็นคราวหรือตามประกาศของกรมบัญชีกลาง เป็นต้น วสท.ได้จัดทำรหัสต้นทุนการก่อสร้างออกมาเพื่อใช้เป็นมาตรฐาน และจัดการอบรมสัมมนาหลักสูตรการคิดปริมาณงานตามมาตรฐานสากล หวังจะผลิตบุคลากรที่เป็นผู้ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติอีกทางหนึ่ง”
นายกุลิศ สมบัติศิริ (Mr.Kulit Sombatsiri) ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ครน.) กล่าวถึงมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลในแนวทาง CoST สัมพันธ์กับกฎหมายอย่างไร? “ CoST เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Department for International Development ของประเทศอังกฤษ ภายใต้การสนับสนุนจากธนาคารโลก ในปี 2550 (2007) ต่อมา CoST ได้ยกระดับบทบาทเป็นองค์กรที่คอยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ต้องการนำกลไกและมาตรฐานของ CoST ไปใช้ในการสร้างความโปร่งใสในภาคการก่อสร้างของประเทศ โดยที่ผ่านมามีการนำไปใช้ในประเทศสมาชิกต่างๆ เช่น อังกฤษ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น
ที่มาของแนวทางพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างเพื่อความโปร่งใสมาจากเมื่อปลายปี 2557 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้มีมติให้โครงการลงทุนของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย เป็นโครงการนำร่องของมาตรการเพิ่มความโปร่งใสในการลงทุนก่อสร้างโครงการภาครัฐ และต่อมาคณะรัฐมนตรี ได้มีมติปลายปี 2557 เห็นชอบให้นำมาตรการเพิ่มความโปร่งใสในการลงทุนโครงการก่อสร้างภาครัฐ ตามแนวทางองค์กร CoST หรือ Construction Sector Transparency Initiative CoST มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐ เพื่อผลสุดท้ายทำให้เกิดความคุ้มค่าทางการเงินในโครงการก่อสร้างและการให้บริการที่มีคุณภาพกับประชาชน โดยมีหลักการและการดำเนินงานสำคัญของ CoST ได้แก่ 1.ความโปร่งใส (Transparency) การเปิดเผยข้อมูลในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการก่อสร้างของภาครัฐ 2.การทำให้เกิดการทำงานเป็นระบบ (System) การสร้างระบบการเปิดเผยข้อมูลในทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วม (Involvement) การสร้างการมีส่วน่ร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการร่วมกันตรวจสอบข้อมูลการก่อสร้างของภาครัฐ 3.การจัดตั้งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Multi-Stakeholder Group: MSG) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อเป็นหน่วยหลักในการขับเคลื่อนโครงการ การ4.จัดทำรายงานการศึกษาขอบเขตรายละเอียด (Scoping Study) เพื่อทราบถึงภาพรวมและระดับของการเปิดเผยข้อมูลในประเทศไทยในปัจจุบัน รายงานนี้จะให้ข้อมูลต่างๆที่จำเป็นในการปรับใช้โครงการ CoST กับบริบทของประเทศไทย และจะทำให้ทราบถึงระดับความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการดำเนินโครงการ CoST 5.กระบวนการการเปิดเผยข้อมูล (Disclosing Process) แนวทางการเปิดเผยข้อมูลที่ปรับใช้กับบริบทของแต่ละประเทศ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ข้อมูลที่เปิดเผยตามที่กำหนด (Pr0active) ซึ่งประกอบไปด้วย ๓๘ หัวข้อ และ ข้อมูลที่เปิดเผยเมื่อมีการร้องขอ (Reactive) 6.การจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Assurance Team: AT) คณะทำงานนี้จะประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นในการทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับมาและอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มสามารถอ่านเข้าใจได้โดยตลอด โดยผู้มีส่วนได้เสียจะได้ใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเอาผิดกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ในกรณีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับโครงการก่อสร้าง”

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค (Assoc.Prof.Dr. Tortrakul Yomnak) อตีตนายก วสท.เสนอข้อสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้างภาครัฐ ว่าระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยความโปร่งใสตามแนวทาง CoST มีคุณประโยชน์มาก จึงต้องเป็นเรื่องกระทำต่อเนื่องที่ยั่งยืน เพื่อสร้างเสริมธรรมาภิบาลในการพัฒนาโครงการภาครัฐ มิใช่เปลี่ยนไปตามวาระการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ อีกทั้งต้องมีการสนับสนุนโดยองค์กรวิชาชีพที่เข้มแข็งอย่างเช่น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ ( วสท.) และสมาคมองค์กรวิชาชีพอื่นๆด้วย อาทิ เช่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างแห่งประเทศไทย เป็นต้น

————————-

PR AGENCY : บริษัท เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (BrainAsiaCommunication)
Tel. : 081-899-3599, 086-341-6567 E-mail :brainasiapr@hotmail.com