เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ทุกภาคส่วนของสังคมจีนต่างฉลองวาระครบรอบ 153 ปีชาตกาลของ “ซุนยัตเซ็น” ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตยในจีน หนึ่งในนั้นคือการจัดกิจกรรมรำลึก ณ พิพิธภัณฑ์อดีตบ้านพักของดร.ซุนยัตเซ็น ในเมืองจงซาน เมืองบ้านเกิดของซุนยัตเซ็นในมณฑลกวางตุ้งทางภาคใต้ของจีน โดยมีผู้นำราว 200 คนเข้าร่วมงาน จากการเปิดเผยของสำนักประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองจงซาน
ทางฝั่งตะวันออกของเมืองจงซานมีอ่าวหลิงติงหยาง ซึ่งกระแสน้ำยังอบอุ่นในช่วงต้นฤดูหนาว ณ ที่นี้กำลังมีการก่อสร้างสะพานเซินเจิ้น-จงซาน โดยบรรดาวิศวกรต่างยุ่งอยู่กับงานและเสียงเครื่องจักรก็ดังอยู่ตลอดเวลา
ในขณะที่เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า มีการประสานกันมากขึ้น ส่วนการสร้างเขตสาธิตนำร่องสังคมนิยมอันมีเอกลักษณ์จีนในเซินเจิ้นก็เป็นรูปธรรมมากขึ้น ด้านการสร้างสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า และสะพานเซินเจิ้น-จงซาน ก็เชื่อมพื้นที่ชายฝั่งทะเลจีนใต้และสองฝั่งของแม่น้ำเพิร์ลให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เมืองจงซานก็ยังคงเดินหน้ารักษาความเป็นผู้นำ รวมถึงคว้าโอกาสเชิงกลยุทธ์และประวัติศาสตร์ที่เกิดจากการสร้างสองเขตใหม่ข้างต้นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองในระยะยาว เมืองจงซานมุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาแบบบูรณาการทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเพิร์ล ในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจบริเวณชายฝั่งและกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า
บุกเบิกการปฏิรูปและเปิดกว้างเขตอ่าว
ในช่วงปีแรก ๆ ของการปฏิรูปและเปิดประเทศจีน ชาวเมืองจงซานผู้กล้าหาญเป็นผู้นำของประเทศในการสร้างความร่วมมือกับต่างชาติและปฏิรูปสถาบันในชนบท ส่งผลให้เมืองจงซานเป็นหนึ่งใน “สี่เสือแห่งกวางตุ้ง” ผู้บุกเบิกการพัฒนาเศรษฐกิจ และเมืองจงซานก็เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในมณฑลกวางตุ้งตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้มีพื้นที่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของมณฑลกวางตุ้ง และมีประชากรคิดเป็นสัดส่วนเพียง 3% ของประชากรถาวรทั้งหมดในมณฑล
ปัจจุบัน เมืองจงซานเป็นที่ตั้งของกลุ่มอุตสาหกรรม 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีมูลค่านับแสนล้านหยวน ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อีกทั้งยังมี 18 ตำบลที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ส่องสว่าง (กู่เจิ้น), ฮาร์ดแวร์ (เสี่ยวหลาน), เฟอร์นิเจอร์ไม้มะฮอกกานี (ต้าฉง), อุปกรณ์สันทนาการและเกม (กังโข่ว) นอกจากนั้นยังมีนิมคมอุตสาหกรรมระดับประเทศ 38 แห่ง และแบรนด์ระดับมณฑลขึ้นไป 516 แบรนด์ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เมืองจงซานเป็นหนึ่งในเมืองที่มีห่วงโซ่อุตสาหกรรมพัฒนามากที่สุดในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า
ในขณะที่การสร้างสองเขตที่กล่าวถึงข้างต้นมีความก้าวหน้าอย่างมาก เมืองจงซานก็ได้จัดหารวมถึงใช้ทรัพยากรชั้นเยี่ยมผ่านการเชื่อมโยงกับเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
คนฮ่องกงและมาเก๊าเดินทางมาอยู่อาศัยและทำธุรกิจที่เมืองจงซานกันมากขึ้นเรื่อย ๆ “e-Park ซึ่งเป็นเขตบ่มเพาะนวัตกรรมและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ได้กลายเป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยธุรกิจจากฮ่องกงและมาเก๊าเกิดขึ้นที่นี่กว่า 20 รายแล้ว” หลี่จื้อหง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เจ้าของบริษัท Zhihong Media Company ใน e-Park กล่าว “นอกจากนั้นยังมีสำนักงานที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะในเมืองจงซานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ชาวฮ่องกงและมาเก๊าด้วย”
ขณะเดียวกัน เมืองจงซานมีแผนลงทุน 1.5 แสนล้านหยวนในการพัฒนาระบบขนส่งหลายมิติที่ประกอบด้วยทางรถไฟ ทางหลวง ทางด่วน ท่าอากาศยาน และท่าเรือ เพื่อผลักดันให้เมืองจงซานเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สำคัญทางฝั่งตะวันตกของเขตอ่าว โดยรับประกันว่าการเดินทางจากเมืองจงซานไปยังเมืองใหญ่ ๆ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ลจะใช้เวลาเพียง 30 นาที ขณะที่การเดินทางไปยังฮ่องกงและมาเก๊าจะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดการไหลอย่างอิสระของคน สินค้า และข้อมูลในอนาคตอันใกล้นี้
เกาะหม่าอัน กำลังถือกำเนิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลของเมืองจงซาน โดยจะเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศที่ทันสมัยและเปี่ยมด้วยนวัตกรรม เกาะนี้เป็นจุดเริ่มต้นของสะพานเซินเจิ้น-จงซาน โอบล้อมด้วยสนามบิน 5 แห่ง ท่าเรือน้ำลึก 4 แห่ง และเขตการค้าเสรี 3 แห่ง นอกจากนั้นยังมีสภาพแวดล้อมคุณภาพสูงที่เหมาะแก่การอยู่อาศัย การศึกษา และการดูแลสุขภาพ ซึ่งทำให้ที่แห่งนี้ดึงดูดใจมากยิ่งขึ้น
ทางเหนือของเกาะหม่าอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประถมซุนยัตเซ็นเมโมเรียล ซึ่งเปิดการเรียนการสอนไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังมีมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจงซาน ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จะเป็นสถานที่สำคัญในการบ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพิร์ล
พัฒนาโดยอาศัยนวัตกรรม เพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพสูง
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโลกที่ก้าวหน้า รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เมืองจงซานได้ใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถและบริษัทไฮเทคมาสู่เมือง เช่น
การสร้างความร่วมมือกับ SkyDeck โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เพื่อริเริ่มโครงการ Global Founders Program ในเมืองจงซาน ซึ่งเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้เข้าถึงผู้สนับสนุนและทรัพยากรชั้นเยี่ยมจากทั่วโลก
การร่วมจัดตั้งสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ HRG Institute (Zhongshan) of Unmanned Equipment and Artificial Intelligence, Zhongshan Institute of Materia Medica Innovation, Chinese Academy of Sciences และ University of Chinese Academy of Sciences (Zhongshan) Innovation Center
วางแผนจัดตั้ง Zhongshan Photon Science Center และสถาบันอื่น ๆ
การร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับสถาบันใหญ่หลายแห่งได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูง เมืองจงซานกำลังประสบกับการไหลทะลักของทรัพยากรระดับไฮเอนด์จากทั่วโลก ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมากขึ้นสำหรับนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ ทั้งยังมีแรงผลักดันในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หลังจากการพัฒนาอย่างแข็งแกร่ง
ทุกวันนี้ เมืองจงซานเป็นที่ตั้งของบริษัทไฮเทคกว่า 2,300 แห่ง ทั้งยังมีดัชนีนวัตกรรมและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงกว่าเมืองระดับจังหวัดอีกหลายเมือง
เพื่อยกระดับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมืองจงซานกำลังสร้างศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ และศูนย์ส่งเสริมการค้าผลผลิตจากนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพสูง
รายงานความสามารถในการแข่งขันของเมืองทั่วโลกประจำปี 2562-2563 ซึ่งร่วมกันเผยแพร่โดยสถาบันสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ระบุว่า เมืองจงซานอยู่ที่อันดับ 21 ในจีน และอันดับที่ 149 ทั่วโลก จากการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขันด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และอันดับเมือง
ด้วยพันธกิจที่เปลี่ยนไปจากการเป็นผู้นำของประเทศในการสร้างความมั่งคั่ง ไปสู่การพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูง เมืองจงซานจึงสร้างภูมิทัศน์ใหม่ของการพัฒนาโดยมีนวัตกรรมเป็นแรงขับเคลื่อน พร้อมกับพยายามอย่างไม่ลดละด้วยการคว้าโอกาสใหม่ ๆ และคงไว้ซึ่งความกล้าได้กล้าเสีย
ที่มา: สำนักประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองจงซาน
AsiaNet 81687