เป็นไปได้ไหมที่จะประสบความสำเร็จโดยไม่บอบช้ำ?
โดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี
ผู้จัดการประจำประเทศไทย
นูทานิกซ์
ต้องปรบมือให้ Amazon ที่รู้ว่าจะทำตลาดให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไรเมื่อเห็นช่องทางหนึ่งๆ แม้ว่าเว็บเซอร์วิสของ Amazon มีผลกำไรล่าสุดเติบโตถึง 800 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่ใช่ธุรกิจทุกรายที่เห็นว่ารูปแบบการเช่าระบบคลาวด์เป็นคำตอบของทุกสิ่งทุกอย่าง แน่นอนว่าคลาวด์เซอร์วิสสร้างความเปลี่ยนแปลง และแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการและการใช้งานบริการด้านสารสนเทศขององค์กร แต่เป็นธรรมดาที่ไม่มีระบบใดเพียงระบบเดียวจะเหมาะกับการใช้งานของทุกองค์กรได้ กลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ก่อให้เกิดคำถามและความกังวลเกี่ยวกับการพัฒนา, ค่าใช้จ่าย และความปลอดภัย เกิดคำถามว่ากลยุทธ์การใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นระบบคลาวด์เต็มตัว เป็นหัวใจหลักที่จะตอบสนองระดับความพึงพอใจด้านไอทีได้จริงหรือ
รายงานล่าสุดเรื่อง The Creative CIO’s agenda: six big bets for digital transformation ของ KPMG ระบุถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับก้าวต่อไปของรูปแบบการดำเนินงานด้านไอทีไว้หนึ่งประเด็นว่า
“คุณค่าของไอทีนั้นมาจากการให้บริการ และความสามารถในการสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจได้ องค์กรต้องการระบบไอทีที่พร้อมรับนวัตกรรม, มีความยืดหยุ่น, สร้างและขึ้นบริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและทางเลือกใหม่ๆ ที่สามารถผสานการทำงานเข้ากับแอปพลิเคชั่นและดาต้าเดิมที่มีอยู่ได้”
หากเป็นดังนั้น ประเด็นคือบริการคลาวด์นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลยุทธ์และแผนการตามที่รายงานฉบับนี้กล่าวไว้ว่า “รูปแบบการทำงานใหม่ที่ว่านี้ต้องสร้างระบบไอทีที่สามารถใช้ความสามารถจากหลายๆ บริการได้ตามความเหมาะสม, การเชื่อมต่อ, การให้บริการ, และการกำกับดูแลบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความท้าทายใหม่ๆ”
นายโจน ฟรอสเตอร์, Global Programme Director, Data Centre and Transitional Services ของ Fitness First ซึ่งเป็นธุรกิจด้านการออกกำลังกายภาคเอกชนรายใหญ่ที่สุดในโลก ใช้เวลาตลอดปีที่ผ่านมารื้อโครงสร้างพื้นฐานไอทีของบริษัทและพบความท้าทายใหม่หลายประการ เขากล่าวว่า แรงผลักดันในการทำงานของเขาก็เพื่อปรับปรุงความเร็ว และประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอที รวมถึงการลดจำนวนอุปกรณ์ และทำพื้นที่ในดาต้าเซ็นเตอร์ซึ่งเพิ่มขึ้นในแต่ละปีให้ลดลงโดยไม่กระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูล
Fitness First เริ่มโครงการควบรวมดาต้าเซ็นเตอร์ขี้นในปี 2558 โดยการแทนที่สถาปัตยกรรมแบบเดิมด้วยไฮบริดคลาวด์ที่เป็นการทำงานร่วมกันของระบบไพรเวทคลาวด์จาก Nutanix Enterprise Cloud Platform กับพับบลิคคลาวด์ของ Microsoft Azure นายฟรอสเตอร์กล่าวว่า เราได้โยกย้ายแอปพลิเคชั่นทางธุรกิจทั้งหมดไปยังอุปกรณ์ของนูทานิกซ์ ซึ่งคำถามคือการเปลี่ยนผ่านนี้ส่งผลอะไร?
นั่นคือ “จะไม่มีกรณีที่ต้องคอยนานเป็นสัปดาห์ๆ และการจัดซื้อฮาร์ดแวร์จำนวนมากเพื่อใช้กับแอปพลิเคชั่น และโครงการใหม่ๆ อีกต่อไป ไม่มีใครคิดถึงเรื่องแบบนี้อีกแล้ว ระบบใหม่ทำงานอย่างไร้ตัวตน เมื่อใดก็ตามที่ผมพูดคุยเรื่องโครงสร้างพื้นฐานกับทีมไอทีที่ดูแลระบบอยู่ทุกวัน พวกเขาไม่เคยพูดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์เลย” นายฟรอสเตอร์กล่าวเสริม
เขากล่าวเช่นนั้นได้เพราะเขาคิดว่ามีพนักงานเพียงสองคนเท่านั้นที่เข้าไปทำงานในดาต้าเซ็นเตอร์ในรอบหกเดือนที่ผ่านมา และที่ต้องเข้าไปก็เพื่อไปเชื่อมต่องานชุดใหม่เข้าระบบเท่านั้น ไม่ต้องเทียวเข้าเทียวออกในดาต้าเซ็นเตอร์เหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป แล้วความแตกต่างคืออะไร ทำไมจึงไม่เอ้าท์ซอร์สเรื่องนี้ให้ผู้ให้บริการคลาวด์นอกองค์กร?
นายฟรอสเตอร์อธิบายว่า “เราลงมือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ มากมาย ดังนั้นการที่เราสามารถใช้งานสภาพแวดล้อมใหม่ได้ด้วยตัวของเราเองจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง จะเห็นได้จากการทำงานของทีมไอที ซึ่งทีมจะไม่ได้เป็นสาเหตุของความล่าช้าของงานอีกต่อไป จะไม่มีกรณีที่บอกว่า ‘เราทำไม่ได้เพราะไม่มีฮาร์ดแวร์’ (ทุกคนยังใช้คำว่าฮารด์แวร์แม้ว่าจะเป็นเวอร์ชวลแมชชีนก็ตาม) แน่นอนว่ากรณีแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว”
โครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้ยังช่วยให้การพัฒนาแอปพลิเคชั่น และการทำงานร่วมกันระหว่างทีมผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นและทีมผู้ดูแลโครงสร้างไอทีทำงานผสานกันได้อย่างราบรื่นมากขึ้น
“เมื่อธุรกิจมองหาฟังก์ชั่นใหม่ๆ เช่น เมื่อต้องพัฒนาระบบการจองเวลากับครูฝึกส่วนตัว ทีมไอทีจะทำโครงการนี้ให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างไรเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบายขึ้น ผมคิดว่าสิ่งที่เปลี่ยนไปคือเราได้เห็นการทำงานของโครงการที่พัฒนาทั้งหมดได้ชัดเจนมากขึ้น เราจึงสามารถเห็นและรับรู้ว่าส่วนไหนทำให้เกิดความล่าช้า ปัญหาคืออะไร และเราต้องมุ่งไปที่จุดไหนเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น”
การเปลี่ยนแปลงนี้ยังมีผลต่อการลดค่าใช้จ่าย, การปรับปรุงกระบวนการทำงาน และทำให้การทำงานทุกส่วนมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้นายฟรอสเตอร์จะพึงพอใจในความสำเร็จดังกล่าว แต่ก็ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้วิธีการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อลดความผิดพลาดและความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด
“อย่าเพิ่งคิดว่าจะประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก เราต้องลงมือทำให้เร็ว, นำไปใช้, ปรับปรุงให้ดีขึ้น และเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆ ที่องค์กรต้องการเข้าไป”
นายฟรอสเตอร์เชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานระบบไฮบริดจะสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ เพราะควบคุมได้และมีความยืดหยุ่น บริษัทสามารถติดตั้งใช้งานโครงสร้างพื้นฐานระบบไฮบริดให้กับสาขาเปิดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีความท้าทายบ้างในบางภูมิภาค เช่นในเอเชีย
“มันแพงเกินไปที่จะนำโครงสร้างพื้นฐานมาใช้จนกว่าคุณจะถึงจุดที่จำเป็นต้องใช้ ดังนั้นทำไมเราไม่ทำงานบนคลาวด์จนกว่าเราจะถึงจุดที่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาก็คือการทำงานบนคลาวด์ยังคงมีค่าใช้จ่ายสูงแต่มันก็คุ้มค่าในระยะเวลาหนึ่งที่จะให้ธุรกิจดำเนินต่อไป สถานการณ์นี้เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย”
สิ่งที่ดีที่สุดที่ไพรเวทคลาวด์ของ Nutanix Enterprise Cloud Platform และ พับบลิคคลาวด์ของ Microsoft Azure สร้างขึ้นมาคือความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว (ปัจจุบันบริษัทมีสาขาอยู่ใน 16 ประเทศ) นายฟรอสเตอร์ กล่าวว่า เขารู้สึกได้ถึงขีดความสามารถที่มี จากการที่ธุรกิจในปัจจุบันใช้งานโมบิลิตี้และบริการต่างๆ บนพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ เขาไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่เขาก็ทำงานด้วยความระมัดระวัง ไม่ต้องการที่จะให้เกิดข้อผิดพลาดใดๆ ทั้งหมดทั้งปวงของการเปลี่ยนผ่านก็เหมือนสัตว์ที่กำลังเคลื่อนที่มุ่งไปข้างหน้า แต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องกลับมาพร้อมกับรอยแผล คำว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ หรือไม่เจ็บไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้มีอิทธิพลต่อทีมงานของฟรอสเตอร์อีกเลย
คุณต้องพร้อมที่จะเปลี่ยน และเริ่มลงมือทำตั้งแต่วันนี้ดีกว่ารอให้ถึงวันที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแต่ก็สายเกินไปเสียแล้ว ถึงวันนั้นบาดแผลที่เกิดขึ้นอาจจะเกินเยียวยา
เกี่ยวกับนูทานิกซ์
นูทานิกซ์สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดูเสมือนไร้ตัวตน ยกระดับมาตรฐานการใช้ไอที เน้นการใช้แอปพลิเคชั่นและการให้บริการที่เพิ่มศักยภาพต่อธุรกิจ นูทานิกซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คลาวด์ แพลตฟอร์ม นำคุณประโยชน์จากวิศวกรรมแบบเว็บ-สเกลและการออกแบบที่ออกแบบมาสำหรับผู้บริโภค การประมวลผล เวอร์ชวลไลเซชั่น และสตอเรจมารวมไว้ในโซลูชั่นที่ยืดหยุ่นและควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ที่ชาญฉลาด ซึ่งทำให้สามารถคาดการณ์ประสิทธิภาพการทำงานได้ สามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานคล้ายคลาวด์ มีระบบความปลอดภัยที่เข้มงวด และสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นที่หลากหลายขององค์กรแบบโมบิลิตี้ได้อย่างลื่นไหล