เปิดประตูสู่โลกที่สั่งการได้ตามต้องการ (Programmable World)

0
250
image_pdfimage_printPrint

NADCS_150515

เปิดประตูสู่โลกที่สั่งการได้ตามต้องการ (Programmable World)
ผ่านการสื่อสาร เชื่อมต่อ และทำงานร่วมกันของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์ (IoT)

24 ธันวาคม 2558

Internet of Things (IoT) ถูกมองว่าเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมการสื่อสารและผู้ให้บริการ องค์กรต่างๆ ผู้ผลิตแอพพลิเคชั่น และผู้ใช้บริการต่างมีความตื่นตัวในความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่ IoT สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ทุกคนต่างรอคอยอนาคตที่กำลังจะมาถึง เมื่อ IoT จะทำให้เกิดเมืองอัจฉริยะที่มีความยั่งยืนกว่าและสนุกกว่าทั้งในแง่การอยู่อาศัยและการทำงาน แอพพลิเคชั่นอัจฉริยะทางด้านสุขภาพจะช่วยชีวิตผู้คนได้มากขึ้น และระบบความปลอดภัยสาธารณะที่ดีขึ้นจะช่วยให้ผู้คนรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย

ถึงกระนั้น หลายคนและหลายองค์กรที่มีความสนใจในความสำเร็จของ IoT ยังไม่มั่นใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและความก้าวหน้าของมัน ถึงแม้การพัฒนาของ IoT จะมีมาอย่างต่อเนื่อง IoT ในปัจจุบันนี้โดยส่วนใหญ่ยังคงถูกแบ่งโดยการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีเป้าหมายเพียงอย่างเดียว โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายที่เป็นระบบปิด (Proprietary System) เพื่อใช้สำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น การตรวจสอบทรัพย์สินระยะไกล และการบริหารจัดการการขนส่ง แต่อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มของแอพพลิเคชั่นอีกหลากหลายกลุ่มที่จะต้องถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับตลาดในรูปแบบต่างๆ

วงจรของการสร้างโซลูชั่นที่เป็นระบบปิดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นจะนำไปสู่การแบ่งแยกตลาดออกเป็นส่วนย่อย ซึ่งในที่สุดแล้วศักยภาพของ IoT จะไม่ถูกนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เราจะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินเข้าสู่ทางตันในเรื่องของโซลูชั่นที่มีกรรมสิทธิ์เฉพาะ และอะไรคือเทคโนโลยีใหม่ที่ยังต้องการการพัฒนา เพิ่มขึ้นอีก

มาตรฐานที่ครบวงจรเป็นสิ่งสำคัญ

ในขณะที่หน่วยงาน 3GPP กำลังกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อ IoT ในพื้นที่กว้าง โดยใช้เครือข่ายเซลลูล่าร์ และยังมีอีกหลายเทคโนโลยีในเรื่องของการสื่อสารระยะใกล้ ยังมีมาตรฐานสำหรับ เทคโนโลยี IoT อีกหลายอย่างที่ยังขาดหายไป การทำให้แอพพลิเคชั่นใช้งานได้ (application enablement) การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย การทำแผนที่ตำแหน่งที่ตั้ง การวางตำแหน่งภายในอาคาร และระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ล้วนมีกรรมสิทธิ์เฉพาะ ซึ่งทำให้ไม่สามารถรองรับการทำงานเชื่อมต่อถึงกันซึ่งเป็นลักษณะการทำงานของ IoT ได้

โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ จึงร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม องค์กรด้านการวิจัย ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการสื่อสาร และผู้มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม เพื่อเสาะหารูปแบบทางธุรกิจต่างๆ เพื่อบ่งชี้ความต้องการทางเทคโนโลยี และแนะนำกรอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานต่างๆ ในการปรับใช้ IoT ให้ใช้งานได้แบบเฉพาะเจาะจงตามต้องการและใช้งานได้อย่างครบวงจร

แคทริน บูแวค รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของเราเกี่ยวกับ IoT คือการเชื่อมต่อโลกให้ทำงานร่วมกันได้เช่นเดียวกับการสื่อสารระบบเซลลูล่าร์ในปัจจุบัน เราเชื่อในมาตรฐานและอินเตอร์เฟซที่เป็นระบบเปิด เราต้องการที่จะเห็นว่า IoT ได้รับการพัฒนาเพื่อให้ทุกคนในทุกวงการนำไปใช้ได้ เพราะ IoT จะช่วยลดความซับซ้อนให้กับชีวิตผู้คน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับวงการอุตสาหกรรมต่างๆ ลองนึกภาพดูว่าเราจะสามารถช่วยให้ผู้คนใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และช่วยผู้ให้บริการสามารถให้บริการได้ดีขึ้นได้ด้วยสมรรถนะของ IoT เป้าหมายต่างๆ เหล่านี้จะถูกทำให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กันได้ และเราเชื่อว่าโนเกีย เน็ตเวิร์คส์จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้”

ตัวอย่างหนึ่งคือเมื่อไม่นานมานี้ โนเกียประกาศความร่วมมือกับอินเทลและอีริคสันในการสนับสนุนเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล LTE แบบแถบความถี่แคบ (Naroow-Band Long-Term Evolution: NB-LTE) ให้เป็นโซลูชั่นในการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่มีประสิทธิภาพสำหรับ IoT โดย NB-LTE เป็นตัวแปรที่เหมาะสมตัวหนึ่งของเทคโนโลยี LTE และเหมาะกับตลาดกลุ่ม IoT เพราะมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบต่ำ ใช้ง่ายและประหยัดไฟ โนเกียจะช่วยพัฒนาและส่งผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นในการทำธุรกิจ NB-LTE ที่ตรงกับความต้องการของตลาดออกสู่ตลาด

Nokia AirFrame Data Center เป็นโซลูชั่นใหม่ของโนเกียที่เป็นแพลทฟอร์มระบบเปิดเพื่อควบรวมแอพพลิเคชั่นด้านโทรคมนาคม ไอที และ IoT เข้าด้วยกัน นับเป็นโซลูชั่นแรกในวงการที่ทำการรวมแอพพลิเคชั่นด้านไอทีที่ได้รับการยอมรับและมีประสิทธิภาพที่สุดเข้ากับความต้องการอย่างยิ่งยวดของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยใช้ขีดความสามารถในการรวมศูนย์ทรัพยากรและกระจายทรัพยากรเพื่อสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมและการให้บริการ ซึ่งรวมถึง 5G ด้วย

โนเกียยังเป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยี Mobile Edge Computing (MEC) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นหรือผู้ประกอบการได้อยู่ในจุดที่ใกล้กับผู้ใช้งานมากขึ้น ด้วย Liquid Applications ซึ่งในปัจจุบันกำลังจะได้รับการบรรจุเป็นมาตรฐาน ISG MEC (Industry Specification Group, Mobile-Edge Computing) ของ ETSI (มาตรฐานโทรคมนาคมของสหภาพยุโรป) Nokia Liquid Applications MEC มีความสามารถในการเปลี่ยนสถานีฐานให้เป็นโหนดอัจฉริยะที่สามารถส่งข้อมูลและประมวลผลได้ในบริเวณนั้น และรองรับการใช้งาน IoT ได้ทันที เช่นการเชื่อมต่อกับรถยนต์เป็นต้น

ผู้นำในตลาดต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับความจริงจังของโนเกียเกี่ยวกับเทคโนโลยี IoT เช่นในประเทศเกาหลีใต้ โนเกียได้ร่วมมือกับ Korea Telecom โดยโนเกียจะสร้างห้องทดลองด้าน IoT เป็นแห่งแรกในประเทศเกาหลีใต้เพื่อถ่ายทอดความเชี่ยวชาญความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ IoT และช่วยทดสอบการทำงานร่วมกันและการเชื่อมต่อกันให้กับพันธมิตรที่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก

ในงาน Nokia Open Innovation Challenge ที่จัดขึ้นในปี 2015 เรามุ่งให้ความสำคัญกับ IoT เราทำงานกับนักนวัตกรรมจากทั่วโลกเพื่อวางพื้นฐานการทำงานให้กับอนาคตอุตสาหกรรม IoT

โนเกียเชื่อมั่นในมาตรฐานและอินเตอร์เฟซระบบเปิด และเราเลือกสรรพันธมิตรด้านแพลทฟอร์ม IoT จากผู้จัดจำหน่ายหลายรายที่เห็นพ้องและมุ่งมั่นกับหลักการเหล่านี้ วิสัยทัศน์ของโนเกียคือการที่ได้เห็น IoT เป็นสิ่งที่เป็นมาตรฐานสากลในการเชื่อมต่อโลก เหมือนการสื่อสารผ่านระบบเซลลูล่าร์ในปัจจุบัน เราต้องการเห็นทุกคนในทุกวงการสามารถใช้ IoT ได้

แม้ว่าเรามีความมุ่งมั่นที่แน่วแน่ในการทำงานร่วมกันและการเชื่อมต่อกันของ IoT แต่ไม่มีบริษัทไหนแม้แต่แห่งเดียวจะสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดนี้ได้เพียงลำพัง ผู้ให้บริการโทรคมนาคม นักพัฒนา และผู้จัดจำหน่ายรายอื่นๆ ล้วนจำเป็นต้องร่วมแสดงบทบาทของตน เพื่อให้มั่นใจว่า IoT จะเป็นอนาคตที่เป็นจริงและนำมาใช้งานได้

——————————————-

เกี่ยวกับโนเกีย
ด้วยการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษย์ โนเกียได้ช่วยให้โลกสามารถเชื่อม
ถึงกัน เพื่อช่วยสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับผู้คน เราเป็นผู้นำในธุรกิจด้านต่างๆ คือ โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ จัดหาโครงสร้างเครือข่ายบรอดแบนด์, ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ; และโนเกีย เทคโนโลยีส์ จัดหาการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง และการให้ใบอนุญาตสิทธิในการใช้สิทธิบัตร ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nokia.com