เปิดตัวอย่างเป็นทางการ Thailand Gifts and Premium Fair 2013 พร้อมส่งสัญญาณผู้ประกอบการฮึดสู้ มหาวิกฤติอุตสาหกรรมของขวัญ

0
249
image_pdfimage_printPrint

นายจิรบูลย์   วิทยสิงห์  ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมของขวัญของชำร่วยไทยฯ และประธานในการจัดงาน TGP Fair 2013 ได้กล่าวว่า ในฐานะที่ทางสมาคมของขวัญ ของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน  เป็นผู้จัดงานครั้งนี้ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมของขวัญ ในประเทศไทยและเป็นศูนย์รวมการค้าอุตสาหกรรมของขวัญของประเทศ โดยเน้นสร้างฐานลูกค้าและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมของขวัญ  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการโชว์ศักยภาพ ในเวทีระดับอาเซียน โดยงานในครั้งนี้ มีผลิตภัณฑ์จากตัวแทนจำหน่าย ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้าและส่งออกนำสินค้าใหม่ๆนำเสนอ กว่า 200 บูธ และ  มีผลิตภัณฑ์ให้เจรจามากกว่า 10,000 รายการ รวมไปถึงการจัดกิจกรรม TGP Design Awards 2013 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้สนใจเรื่องการดีไซน์และออกแบบสินค้าในอุตสาหกรรมของขวัญของชำร่วยไทย อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรอาเซียน เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอีกด้วย

อุตสาหกรรมของขวัญของชำร่วยไทยนั้น อยู่ในกลุ่มของอุตสากรรมไลฟ์สไตล์ไทย ซึ่งสามารถแยกออกเป็น กลุ่มสินค้าของขวัญช่วงเทศกาล กลุ่มสินค้าของที่ระลึกท่องเที่ยว และ Corporate Gifts หรือสินค้าส่งเสริมการขาย เพื่อการสร้างแบนด์นั้น มีมูลค่าถึง 11,000 ล้านบาทต่อปี โดยมีผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมกิ๊ฟแอนด์พรีเมี่ยมทั้งรายเล็กและรายใหญ่รวมกันประมาณ 500 ราย

นายศิริชัย เลิศศิริมิตร นายกสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยฯ กล่าวว่า สมาคมฯได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากมีการซื้อขายตลอดทั้งปีไม่มีฤดูกาล ทั้งในส่วนระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก ล้วนแล้วแต่ใช้สินค้าเหล่านี้ทั้งสิ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการขาย แต่ในอุตสาหกรรมนี้ ยังไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศไทยประกาศว่าเราจะเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน จึงส่งผลให้ประเทศไทยมีความล่าช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน อาทิประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ที่มีวิวัฒนาการ และมีการพัฒนากลุ่มสินค้าในอุตสาหกรรมของขวัญและ Promotional Product อย่างต่อเนื่อง ในการนี้ทางสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยฯ จึงได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญในกลุ่มสินค้า Promotional Product เป็นอย่างมาก

นายจิรบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าอุตสาหกรรมของขวัญนั้นเป็น กลุ่มสินค้าที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ไทย โดยในแต่ละปีนั้นอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ไทยมีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 9 หมื่นล้านบาท ส่วนอุตสาหกรรมของขวัญนั้นมีมูลค่าการส่งออก ถึง 24,000 ล้านบาท โดยมีการซื้อขายภายในประเทศถึง 11,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นสินค้าในหมวด Promotional Product  จากผู้ประกอบการ SMEs ทั้งรายเล็กและรายใหญ่กว่า 500 ราย จึงส่งผลให้มูลค่าทางการตลาดนั้นมีอัตราสูงขึ้นถึง 20% เนื่องจากในปัจจุบันหน่วยงานและองค์กรต่างๆมีการทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้น และการส่งเสริมการทางตลาดเริ่มมีความดุเดือด จึงทำให้ตัวเลขในกลุ่มอุตสาหกรรมของขวัญมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2012 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต 15% และคาดว่าในปี 2013 นี้จะมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งมีมูลค่าทางการตลาดภายในประเทศถึง 13,200 ล้านบาท อันเกิดจากการเปิดการค้าเสรีอาเซียน-จีน (FTA), การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, การเติบโตของสินค้าที่ระลึกท่องเที่ยว และของที่ระลึกชุมชน (Gifts OTOP) เป็นต้น

อุตสาหกรรมของขวัญในประเทศไทยนั้นนับได้ว่าเป็นที่มีผู้ประกอบการมากที่สุดในอาเซียน และเป็นตลาดที่ใหญ่ตลาดหนึ่งในอาเซียน แต่ยังขาดความต่อเนื่องในอุตสาหกรรมและความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีผู้ประกอบการจำนวนน้อยที่เข้าใจในการดำเนินธุรกิจกิ๊ฟแอนด์พรีเมี่ยมอย่างมืออาชีพ รวมไปถึงภาครัฐ ยังไม่เข้าใจถึงอุตสาหกรรมนี้ในเชิงลึกอีกด้วย ดังนั้นการสร้างโครงสร้างธุรกิจในอุตสาหกรรมของขวัญจึงมีความจำเป็น เป็นอย่างมาก รวมไปถึงการส่งเสริมศักยภาพทางการเงินของอุตสาหกรรมของขวัญนั้น ยังไม่อยู่ในสารระบบและการให้การส่งเสริมของสถาบันการเงินแต่อย่างใด  แต่สถาบันการเงินเกือบทุกแห่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้สินค้าส่งเสริมการขายเพื่อสร้างแบรนด์ (Corporate Gifts) รวมไปถึงการรณรงค์ สร้างการรับรู้ ทั้งหน่วงงานภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมของขวัญต่อไปในเวทีระดับอาเซียน อุตสาหกรรมของขวัญในประเทศไทยนั้นเป็นตลาดที่ใหญ่ตลาดหนึ่งในอาเซียน โดยได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์กิ๊ฟอาเซียน (Asean Gifts Federation) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ซึ่งประเทศไทยได้รับเลือกเป็นประธานสมาพันธ์ฯคนแรก เพื่อเป็นการช่วยผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมของขวัญของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม มูลค่าทางการตลาดในอุตสาหกรรมของขวัญจะมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นแต่ ผู้ประกอบการก็ยังประสบกับปัญหาต่างๆมากมาย  อาทิต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น รวมไปถึงการขนส่งสินค้าผ่านช่องทางต่างๆก็มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบจากตลาดต่างประเทศหด การแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีต่างชาติเข้ามาร่วมค้าในประเทศไทย และดึงส่วนแบ่งทางการตลาด ทำให้ประเทศไทยเกิดการสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมของขวัญของประเทศไทยอย่างแน่นอน

นายจิรบูลย์ กล่าวปิดท้ายว่า ในการจัดงาน Thailand Gifts and Premium Fair 2013 ครั้งนี้นับว่าเป็นเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมของขวัญได้โชว์ศักยภาพ ในงานระดับอาเซียน เพราะเป็นงานที่รวบรวมสินค้าและผู้ประกอบการที่มีความพร้อมจะตอบโจทย์ในหมวดหมู่สินค้า Gifts and Premium โดยตรงจากบริษัทที่มีความพร้อมให้บริการทำโลโก้ ตั้งแต่จำนวนน้อยไปถึงออร์เดอร์ใหญ่ และ เป็นการรวมตัวของนักจัดซื้อเจ้าของกิจการ บริษัท จัดงานอีเวนท์ต่างๆ นักการตลาดที่ต้องการสินค้า Gifts and premium เพื่อนำไปใช้ในงานส่งเสริมการขาย หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการเงิน บริษัทชั้นนำต่างๆ เน้นการเจรจาธุรกิจภายในงาน และคาดว่าจะมีมูลค่าในการเจรจาธุรกิจภายในงานถึง 200 ล้านบาทและ               มีผู้เข้าร่วมชมงานไม่ต่ำกว่า 5,000 ราย ทั่วประเทศ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ยังมีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและผลักดันอุตสาหกรรมของขวัญในประเทศไทยอีกด้วย อาทิ กิจกรรมสัมมนา กิจกรรม TGP Design Awards 2013 เฟ้นหาสุดยอดดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ของเมืองไทย การมอบเครื่องหมาย TGP Mark เพื่อรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมของขวัญในด้านการบริการโดยผู้ประกอบการที่จะได้รับเครื่องหมายนี้ต้องผ่านการรับรองจาก 4 หน่วยงานด้วยกัน อาทิ ผ่านการอบรมจากสมาคมของขวัญของชำร่วย การตรวจธรรมาภิบาลจาก           กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การผ่านการรับรองจากสมาคมพิมพ์สกรีนไทย และการให้คะแนนจากลูกค้าผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการสามารถแจ้งความประสงค์หรือขอใบสมัครโครงการได้ภายในงาน

โดยงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ วันที่ 25-27 กรกฎาคม 2556 ณ ศูนย์นิทรรศการ และการประชุมไบเทค บางนา Hall 101วันที่ 25-26 กรกฎาคมนี้ เปิดให้ร่วมชมงานตั้งแต่ เวลา 10.00 -18.00 น. และในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ เปิดให้ร่วมชมงานตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. ติดสถานีรถไฟฟ้า บางนา สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสามารถติดตามรายละเอียดเพิมเติมได้ที่ W:  www.thaigifts.or.th  E: info@tgpfair.com