เบี้ยประกันชีวิตรวมสิ้นเดือนกรกฎาคม ปี 58 เติบโตเพิ่มขึ้น 3.72 %

0
365
image_pdfimage_printPrint

-ครีเอต-58

เบี้ยประกันชีวิตรับรวมตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม รวมทั้งสิ้น 304,494.21 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.72 โดยแยกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่จำนวน 96,074.42 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 8.09 และเบี้ยประกันชีวิตรับปีต่อไปจำนวน 208,419.79 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.25 โดยมีอัตราความคงอยู่ร้อยละ 83
นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในการพิจารณาข้อมูลสถิติของธุรกิจประกันชีวิต สมาคมจะพิจารณาแยกเป็น 2 กรณี คือ ประการแรกจะพิจารณาถึงขนาดของบริษัท โดยจะพิจารณาถึงการเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตรับรวม ซึ่งหมายถึงเบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่ (New Business Premium) รวมกับเบี้ยประกันชีวิตรับปีต่อไป (Renewal Premium) โดยจะมีการพิจารณาถึงอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตประกอบด้วย และประการที่สอง จะพิจารณาถึงการขยายงานของบริษัท จะพิจารณาจากการเติบโตเฉพาะเบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่หมายถึง เบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก (First Year Premium) รวมกับเบี้ยประกันชีวิตรับจ่ายครั้งเดียว (Single Premium)
สถิติเบี้ยประกันชีวิตรับ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ของปี 2558 ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยได้รวบรวมจากบริษัทประกันชีวิตทุกบริษัท มีดังนี้
1. เบี้ยประกันชีวิตรับรวม ตั้งแต่มกราคม – กรกฎาคม 2558 มีทั้งสิ้น 304,494.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 3.72 บริษัทประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันชีวิตรับรวมสูงสุด หรือมีขนาดใหญ่สูงสุด 7 อันดับแรก คือ
อันดับที่ 1 บจ.เอ.ไอ.เอ. จำนวน 64,746.82 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 21.26
อันดับที่ 2 บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต จำนวน 52,013.03 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 17.08
อันดับที่ 3 บมจ.ไทยประกันชีวิต จำนวน 37,585.46 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 12.34
อันดับที่ 4 บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำนวน 33,296.81 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 10.94
อันดับที่ 5 บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำนวน 31,516.11 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 10.35
อันดับที่ 6 บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต จำนวน 26,434.47 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 8.68
อันดับที่ 7 บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำนวน 15,809.34 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 5.19
รวม 7 อันดับแรก ครองสัดส่วนการตลาดร้อยละ 85.84 และอีก 17 บริษัทที่เหลือครองสัดส่วนการตลาด ร้อยละ 14.16

2. เบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่ ตั้งแต่มกราคม – กรกฎาคม 2558 มีทั้งสิ้น 96,074.42 ล้านบาท เติบโตลดลงจากปีก่อนในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 8.09 บริษัทประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่สูงสุด หรือมีการขยายงานสูงสุด 7 อันดับแรก คือ
อันดับที่ 1 บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต จำนวน 22,508.50 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 23.43
อันดับที่ 2 บจ.เอ.ไอ.เอ. จำนวน 14,757.64 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 15.36
อันดับที่ 3 บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำนวน 11,881.61 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 12.37
อันดับที่ 4 บมจ.กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำนวน 10,973.11 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 11.42
อันดับที่ 5 บมจ.ไทยประกันชีวิต จำนวน 9,985.64 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 10.39
อันดับที่ 6 บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต จำนวน 4,991.92 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 5.20
อันดับที่ 7 บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำนวน 4,564.63 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 4.75

ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเบี้ยประกันชีวิตรับปีต่อไปที่มีจำนวน 208,419.79 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.25 โดยมีอัตราความคงอยู่ร้อยละ 83 ถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แสดงถึงผู้เอาประกันชีวิตให้ความสำคัญของการประกันชีวิตต่อเนื่องตลอดมา จากการคาดการณ์ปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยจะมีผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ปัจจุบันบริษัทประกันชีวิตจึงได้มีการพัฒนาแบบของผลิตภัณฑ์ออกมาเพื่อรองรับกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ สมาคมจึงมีข้อแนะนำสำหรับผู้สูงอายุเมื่อตกลงทำประกันภัยกับบริษัทประกันชีวิตแล้ว บริษัทจะจัดส่งเล่มกรมธรรม์ประกันชีวิต ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์แล้วควรศึกษาและทำความเข้าใจ ในรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครอง หากพบว่าไม่ตรงกับความต้องการ สามารถขอยกเลิกได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับเล่มกรมธรรม์ประกันชีวิตในกรณีซื้อผ่านทางโทรศัพท์ หรือขอยกเลิกภายใน 15 วัน กรณีซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิตหรือช่องทางอื่นๆ และถ้าลูกค้าไม่เข้าใจหรือตัวแทนไม่สามารถให้ความเข้าใจเพิ่มเติมได้ แต่ละบริษัทจะมีช่องทางการติดต่อเพื่อคลายความสงสัย อาทิ ศูนย์บริการลูกค้าที่สำนักงานใหญ่ หรือสาขาทั่วประเทศ ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call center) ของบริษัทประกันชีวิต เว็บไซต์บริษัทประกันชีวิต และศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของบริษัทประกันชีวิตแต่ละบริษัท

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายข้อมูลเพื่อการพัฒนาธุรกิจ สมาคมประกันชีวิตไทย โทรศัพท์ 0-2679-8080 ต่อ 532 หรือ Download ข้อมูลสถิติได้จาก http://www.tlaa.org/2012/statistics.php