เทรนด์ไมโคร เผยผลประกอบการไตรมาสแรกของต้นปี 2020 อยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่ง

0
368
image_pdfimage_printPrint

บริษัทเทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4707) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้ออกมาประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2020 ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมา

โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ยอดขายสุทธิของเทรนด์ไมโครยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 9% เมื่อพิจารณาที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อันเป็นผลจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์ทุกประเภททั้งบริษัท และจากทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งบริษัทได้สร้างการเติบโตให้กับกลุ่มธุรกิจเชิงพาณิชย์จนสามารถผลักดันให้มีการเติบโตของยอดขายรวมทั้งหมดปีต่อปีได้ถึง 15% ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษอย่างการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดจ์ เมื่อพิจารณาที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อีกทั้งการดำรงตำแหน่งผู้นำตลาดนั้นก็มีความสำคัญมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในการช่วยเหลือลูกค้าเพื่อย้ายการประยุกต์ใช้งานใหม่ ๆ ขึ้นไปยังคลาวด์ให้ได้ผลตามเป้าหมายทางธุรกิจของตัวเองท่ามกลางภาวะที่เต็มไปด้วยอุปสรรคเช่นนี้

โดยมีการเร่งเปลี่ยนถ่ายให้ลูกค้าเชิงพาณิชย์ย้ายขึ้นไปใช้โซลูชั่นแบบ SaaS ได้เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีการติดตั้งอินสแตนซ์ SaaS เพิ่มด้วยอัตราการเติบโตปีต่อปีมากถึง 59% จากการที่ธุรกิจต่าง ๆ มองหารูปแบบการใช้บริการไลเซนส์แบบยืดหยุ่น และการติดตั้งที่ง่ายมากของโซลูชั่นแบบ SaaS ยิ่งมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลกในขณะนี้ที่ทำให้ทุกฝ่ายมาให้ความสนใจกับเทรนด์ไมโคร อย่างลูกค้าที่พยายามหาการสนับสนุนในการปฏิวัติทางดิจิตอล ที่มักจะต้องการระบบรักษาความปลอดภัยแบบมัลติเลเยอร์เพื่อปกป้องการทำงานจากระยะไกลทั่วทั้งองค์กรด้วย

“การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าไปทั่วโลกต่างส่งผลกระทบทั้งครอบครัว สังคม องค์กรต่างๆ และแน่นอนที่สุดคือ การเปลี่ยนมุมมอง และรูปแบบวิถีการดำรงชีวิตของทุกคน” Eva Chen ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอของเทรนด์ไมโครกล่าว “ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ ก็รู้สึกประทับใจ และภาคภูมิใจมากกับพนักงานของเราที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มที่ไปพร้อม ๆ กับยังอุทิศตนเพื่อคอยสนับสนุนความสำเร็จของลูกค้า และความเป็นเลิศบนคลาวด์ ซึ่งผลประกอบการประจำไตรมาสเช่นนี้ได้สะท้อนถึงสิ่งที่เราทุ่มเทเพื่อทำให้โลกดิจิตอลปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และบทบาทของเราที่ช่วยให้โลกทางกายภาพนั้นน่าอยู่ขึ้นด้วย”

สำหรับไตรมาสแรกนี้ เทรนด์ไมโครได้ประกาศยอดขายรวมสุทธิอยู่ที่ 42,126 ล้านเยน (หรือ 386 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อคำนวณที่อัตราแลกเปลี่ยน 108.86 เยนต่อเหรียญสหรัฐฯ) และรายรับจากการดำเนินงานอยู่ที่ 10,119 ล้านเยน (หรือ 92 ล้านดอลลาร์ฯ) และรายรับสุทธิที่ปันผลให้แก่บริษัทแม่อยู่ที่ 8,861 ล้านเยน (หรือ 81 ล้านดอลลาร์ฯ) ในไตรมาสนี้

ทั้งนี้ บริษัทจะไม่มีการทบทวนตัวเลขประมาณการณ์ของผลประกอบการทั้งปีงบประมาณนี้ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 (ซึ่งมีการประกาศก่อนหน้าแล้วเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา) โดยเมื่อพิจารณาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ของบริษัท ได้คาดการณ์ตัวเลขยอดจำหน่ายสุทธิเมื่อสิ้นสุดปีนี้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 ไว้ประมาณ 174,200 ล้านเยน (หรือประมาณ 1,598 ล้านดอลลาร์ฯ เมื่อคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 109 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่วนรายได้จากการดำเนินงานและรายรับสุทธินั้นคาดการณ์ไว้ประมาณ 37,700 ล้านเยน (หรือ 345 ล้านดอลลาร์ฯ) และ 27,300 ล้านเยน (หรือ 250 ล้านดอลลาร์ฯ) ตามลำดับ

ความก้าวหน้าล่าสุดที่สำคัญประจำไตรมาสที่ 1

การช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤติ COVID-19
ในไตรมาสแรกนี้ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือลูกค้าของเรา และสังคมให้ยังปลอดภัยในช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างยิ่ง โดยจัดศูนย์บริการทรัพยากรเพื่อการนี้โดยเฉพาะที่มีทั้งทูลด้านความปลอดภัยที่ให้ใช้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลอันตรายที่อัพเดทอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการโจมตีที่สัมพันธ์กับเรื่อง COVID-19 ซึ่งพบว่าองค์กรทั้งหลายได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยมีมากถึง 1,700 แห่งที่ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือการทำงานจากบ้านของเทรนด์ไมโคร

การขึ้นเป็นผู้นำอย่างแท้จริงในด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ และคอนเทนเนอร์
ยุทธศาสตร์ของเทรนด์ไมโครได้พุ่งเป้าไปที่การรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์มาโดยตลอด แบบที่ไม่ทำให้ลูกค้ามีอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจากการเข้าซื้อกิจการ Cloud Conformity ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 ที่ผ่านมานั้น ทำให้เทรนด์ไมโครสามารถปกป้องเซอร์วิสบนคลาวด์ได้ครอบคลุมมากขึ้น และแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยหลายด้านที่เคยโดนมองข้ามมาก่อน อันเกิดจากสาเหตุของการตั้งค่าบนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่ผิดพลาด โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 นี้ ระบบ Trend Micro Conformity ตรวจพบการตั้งค่าที่ผิดพลาดโดยเฉลี่ยแล้วมากถึง 840 ล้านรายการต่อวัน ซึ่งสัมพันธ์กับกฎต่าง ๆ มากกว่า 630 รายการ

ยังครองตลาดด้านระบบตรวจจับ และตอบสนองสำหรับองค์กรอย่างแข็งแกร่ง
ทาง Forrester Research ประกาศให้เทรนด์ไมโครเป็น “ผู้นำ” ด้านระบบตรวจจับและตอบสนองสำหรับองค์กรหรือ EDR ในรายงาน The Forrester Wave™: Enterprise Detection and Response, Q1 2020 ที่มีการประเมินผู้ให้บริการระบบตรวจจับและตอบสนองสำหรับองค์กร (EDR) ตามเกณฑ์ 14 รายการ ซึ่งทาง Forrester ได้ประเมินผู้จำหน่ายด้านความปลอดภัย 12 รายใน 3 กลุ่มหลักด้วยกันได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีในปัจจุบัน ด้านยุทธศาสตร์ และบทบาทที่ปรากฏในตลาด ซึ่งเทรนด์ไมโครได้คะแนนประเมินสูงสุดที่เคยมีมาทั้งในเกณฑ์เรื่อง “การตรวจสอบเอนด์พอยต์จากระยะไกล” และ “ระบบอนาไลติกด้านความปลอดภัย” (ที่อยู่ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ปัจจุบันที่มีให้บริการ” เรื่อง “วิสัยทัศน์ผลิตภัณฑ์” และ “ประสิทธิภาพ” (ภายใต้หมวดยุทธศาสตร์) และ “ลูกค้าระดับองค์กร” กับ “รายได้จากสายผลิตภัณฑ์” (ในหมวดบทบาทที่มีในตลาด

ยังครองตำแหน่งผู้นำด้าน IIoT
นอกเหนือจากด้านไฮบริดจ์คลาวด์แล้ว เทรนด์ไมโครยังคงทุ่มเทให้กับด้านความปลอดภัยสำหรับระบบ Internet of Things เชิงอุตสาหกรรม (IIoT) โดยได้ประกาศความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีปฏิบัติการ (OT) ของ Nexus Controls จาก Baker Hughes ซึ่งการจับมือกันครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างแนวทางและการสนับสนุนชั้นนำในตลาดที่ครอบคลุมสำหรับองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานของระบบ OT ที่สำคัญ ทั้งนี้การใช้งาน IIoT กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะขึ้นมาเป็นสัดส่วนของเศรษฐกิจทั่วโลกด้วยมูลค่ามากถึง 14.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2030 จากข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งเทรนด์ไมโครและ Baker Hughes วางแผนที่จะทำงานร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงทางไซเบอร์ทั้งด้าน IIoT และด้านอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนผู้บริหารด้านไอที และความปลอดภัยให้สามารถผลักดันการปฏิวัติระบบดิจิตอลได้สำเร็จ

จากรายงานวิจัยเรื่อง “Caught in the Act: Running a Realistic Factory Honeypot to Capture Real Threats,” ทางฝ่ายวิจัยของเทรนด์ไมโครได้สร้างระบบโรงงานจำลองที่เป็นเหยื่อล่อเหล่าผู้โจมตีและผู้ไม่ประสงค์ดีทั้งหลายเป็นเวลานานประมาณ 6 เดือน ซึ่งระบบ OT เหยื่อล่อนี้ได้ออกแบบไว้อย่างซับซ้อนมาก จนสามารถดึงดูดการโจมตีทั้งที่มีเป้าหมายในการหลอกลวงและฉวยประโยชน์ด้านการเงินได้มากมาย นอกจากนี้ โครงการ Zero Day Initiative ของเทรนด์ไมโครก็ได้จัดการแข่งขัน Pwn2Own แบบ IIoT โดยเฉพาะขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นในเมืองไมอะมีระหว่างงานประชุม S4 มีนักวิจัยด้านความปลอดภัยเข้าร่วมแสดงความสามารถในการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ใหม่ ๆ ที่คว้าเงินรางวัลรวมถึง 280,000 ดอลลาร์ฯ

ในฐานะผู้ทำการวิจัยเรื่องราวภัยอันตรายชั้นนำของโลก
ทาง Trend Micro Research ได้วิเคราะห์อันตรายที่สำคัญมากที่สุดในช่วงปี 2019 จากหลายบริเวณที่มีช่องทางให้เข้าโจมตีได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางธุรกิจ อุปกรณ์พกพา และบริการอีเมล์บนคลาวด์ โดยเทรนด์ไมโคร สามารถสกัดกั้นอันตรายรวมทั้งสิ้นมากกว่า 52 พันล้านรายการในปี 2019 ซึ่งอันตรายทางไซเบอร์ส่วนใหญ่ที่พบในช่วงปีที่ผ่านมายังคงเป็นเรื่องของแรนซั่มแวร์ ที่เราตรวจพบมากขึ้นจากเดิมประมาณ 10% แม้จำนวนสายพันธุ์ใหม่ของแรนซั่มแวร์ทั้งหมดจะลดลงถึง 57% ก็ตาม กลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพก็ยังคงเป็นเป้าหมายที่โดนโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดในปี 2019 ซึ่งมีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากกว่า 700 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับส่วนปกครองท้องถิ่น และระดับรัฐในอเมริกาอย่างน้อย 110 แห่งตกเป็นเหยื่อของแรนซั่มแวร์ในปีที่แล้วอีกด้วย

ในด้านของอีเมล์นั้น เทรนด์ไมโครประสบความสำเร็จในการสกัดกั้นอันตรายทางอีเมล์ที่มีความเสี่ยงสูงได้มากถึง 13 ล้านครั้งในปีที่ผ่านมา จากการที่ลูกค้าได้ย้ายมาใช้บริการอีเมล์บนคลาวด์จากทั้งไมโครซอฟท์และกูเกิ้ลกันมากขึ้น และสำหรับอุปกรณ์พกพานั้น ทางฝ่ายวิจัยของเทรนด์ไมโครได้ตรวจพบขบวนการจารกรรมข้อมูลบนอุปกรณ์พกพาเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนมากถึง 1,400% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2020 นี้ โครงการ Trend Micro Zero Day Initiative ได้จัดการแข่งขันจากระยะไกลขึ้นเป็นครั้งแรกในชื่อ Pwn2Own Vancouver ซึ่งจากการแข่งขันแบบเวอร์ช่วลเป็นเวลาสองวันนั้น มีนักวิจัยเข้าร่วมชิงรางวัลรวมไปกว่า 270,000 ดอลลาร์ฯ จากการแสดงการเจาะช่องโหว่ใหม่จำนวน 13 รายการ การแข่งขันนี้เป็นการสร้างความท้าทายให้แก่นักวิจัยด้านช่องโหว่ความปลอดภัยระดับโลกในการทดสอบกับซอฟต์แวร์ และระบบระดับองค์กรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อช่วยยกระดับความปลอดภัยโดยรวม และผลักดันให้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องในด้านที่สำคัญมากที่สุดสำหรับลูกค้าของเทรนด์ไมโคร

สิทธิบัตรใหม่ที่ยื่นจดเพิ่ม
เทรนด์ไมโครได้รับการรับรองสิทธิบัตรใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 ดังต่อไปนี้:
เลขสิทธิบัตร วันที่จดทะเบียน ชื่อเรื่อง
10530788 1/7/2020 การตรวจจับและป้องกันการประมวลผลของไฟล์อันตรายจากระยะไกล
10528737 1/7/2020 การจัดสรรหน่วยความจำ Heap แบบสุ่ม
10528732 1/7/2020 การระบุซิกเนเจอร์ของกลุ่มข้อมูล
10554691 2/4/2020 การกำหนดโพลิซีด้านความปลอดภัยตามความเสี่ยง
10608902 3/31/2020 การจัดการและจัดเก็บข้อมูลการสื่อสารบนเครือข่าย

ข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ในอนาคต
ข้อมูลบางอย่างที่ระบุไว้ในบทความนี้เป็นการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการพยากรณ์ดังกล่าวได้อ้างอิงจากสมมติฐานปัจจุบันและความเชื่อมั่นของฝ่ายบริหารที่อิงจากข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้ แต่ก็มีปัจจัยด้านความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทั้งที่ทราบ และไม่ทราบมาก่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยที่สำคัญหลายประการอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงจากข้อความที่เป็นการคาดการณ์เหล่านี้ให้แตกต่างไปได้ ปัจจัยดังกล่าวได้แก่:
• ความยากลำบากในการระบุอันตรายตัวใหม่ และปัญหาด้านความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์อื่นๆ
• เวลาที่ใช้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และการขาดการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ของตลาด
• ระดับความต้องการ และช่วงเวลาที่จำหน่ายที่ต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่
• การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในวงการซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย
• การเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าด้านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย
• การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ปัจจุบันและผลิตภัณฑ์ใหม่จากคู่แข่ง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้
• การลดราคาลงสำหรับผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ
• ผลจากการเข้าซื้อกิจการในอนาคต ที่กระทบต่อสถานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัท
• ผลของแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามในตลาดหลัก
• ผลของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีผลต่อผลประกอบการของเรา
• อัตราการส่งคืนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
• ความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียความน่าดึงดูดจากนักลงทุน
• ความยากลำบากในการทำตามยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทให้ประสบผลสำเร็จ
• ความเสี่ยงใหม่และที่มีโอกาสเกิดขึ้น ที่ไม่เคยพบมาก่อน รวมทั้งความไม่แน่นอนที่เกี่ยวกับเรื่อง Internet of Things, การใช้เทคโนโลยี AI ในผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท, รวมทั้งการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ