เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ 2561 รักษาภาวะมีบุตรยาก ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างมีคุณภาพ

0
716
image_pdfimage_printPrint

คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบสนับสนุนการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างมีคุณภาพ รองรับวิกฤติในอนาคตที่ต้องอาจเผชิญกับปัญหาหลายอย่างจากสาเหตุประชากรมีน้อย เพราะคนรุ่นใหม่ไม่นิยมมีลูกหรือมีลูกช้าตามวิถีชีวิตและแบบแผนทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลกระทบถึงจำนวนประชากรในวัยเจริญพันธุ์ที่ลดลงหรือภาวะมีบุตรยากในหลายคู่ ขณะที่ภาคเอกชนพร้อมช่วยแก้ปัญหา ไม่หยุดยั้งการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อเป็นอีกทางหนึ่งในการส่งเสริมการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างมีคุณภาพ

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์หรือ Assisted Reproductive Technology (ART) เข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการแพทย์เพื่อทำให้เกิดการตั้งครรภ์ในคนไข้ที่ถูกวินิจฉัยแล้วว่าอยู่ในภาวะการมีบุตรยาก ผ่านการเคลื่อนย้ายเซลล์สืบพันธุ์ (เซลล์ไข่) ออกจากร่างกายของฝ่ายหญิง มาผ่านกระกวนการในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกหรือในร่างกายก่อนย้ายตัวอ่อนที่ได้กลับคืนเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งปัจจุบันอัตราความสำเร็จในแต่ละครั้งยังมีโอกาสสูงไม่ถึงร้อยละห้าสิบ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ในวันนี้ ส่งผลให้กระบวนการเหล่านี้มีความแม่นยำ รวดเร็ว และเสริมประสิทธิภาพการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการร่วมกับการทำงานของแพทย์เฉพาะทางในทั้งกระบวนการให้มีความสมบูรณ์ และช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น

เรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งคือ ปัจจุบันประเทศไทยมีเทคโนโลยีล่าสุดที่พัฒนาและปรับปรุงตามการปฏิบัติงานจริงของนักวิทยาศาตร์ในห้องปฏิบัติการสำหรับการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryo) หลังจากกระบวนการปฏิสนธิแล้ว ที่เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือการแช่แข็งแบบผลึกแก้วกึ่งอัตโนมัติ (Automated Vitrification Instrument) เครื่องแรกของโลก ที่ช่วยสร้างสภาวะที่เหมาะสมให้กับตัวอ่อนก่อนนำไปแช่แช็งที่ความเย็นลบ 196 องศา โดยปราศจากการสัมผัสไนโตรเจนเหลวโดยตรง เพื่อลดการแปรผันของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นและช่วยประหยัดเวลาการทำงานของมนุษย์ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีอีกหนึ่งเครื่องมือล้ำสมัยสำหรับกระบวนการคัดเลือกและดูแลตัวอ่อนที่แตกต่างจากที่อื่น ด้วยการพัฒนาช่องฟูมฟักให้แยกออกจากกัน รวมทั้งการควบคุมสภาพแวดล้อมของแต่ละช่องได้โดยไม่ปะปนกัน นอกจากนี้ ยังมีความพิเศษด้วยระบบถ่ายภาพต่อเนื่องที่ติดอยู่ด้านในเครื่อง เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของตัวอ่อนโดยไม่ต้องนำออกมาจากเครื่อง ช่วยป้องกันการรบกวนตัวอ่อนที่ต่างไปจากวิธีการเดิม ทำให้สามารถติดตามความเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ซึ่งอุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านี้ถูกพัฒนามาเพื่อตอบสนองการทำงานจริงในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ เพราะเทคโนโลยีจำเป็นที่จะต้องเข้ามาช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากมนุษย์และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการกระบวนการทำงาน

นาย คริส จอห์น ซิสเนรอส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมอร์ค จำกัด ได้เล็งเห็นว่า นอกจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์แล้ว ความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีด้านการแพทย์สมัยนี้ยังเป็นอีกหนึ่งหลักสำคัญที่ช่วยเติมเต็มความฝันของคู่สามีภรรยาทั่วโลกที่มีภาวะการเจริญพันธุ์ที่ลดลงได้ให้กำเนิดลูกน้อยรวมหลายล้านชีวิต โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) อันดับต้นของเอเชียในการให้คำปรึกษาและรักษาภาวะมีบุตรยากจากคู่รักหลากหลายเชื้อชาติ

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินารี ด้วยการให้ความรู้และฝึกอบรมวิชาการกับแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในด้านนี้จากทั่วโลก รวมถึงความพร้อมด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยดังกล่าว ณ ศูนย์ความเป็นเลิศการรักษาผู้มีบุตรยากหรือ Center of Excellence for Fertility ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ จากประเทศเยอรมนี ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ บริษัท จีเนีย ไบโอเมดดิกซ์ จากประเทศออสเตรเลีย โดยมุ่งหวังให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการช่วยการเจริญพันธุ์สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดต่อคนไข้ ซึ่งช่วยส่งเสริมการเพิ่มจำนวนประชากรในอนาคตตามนโยบายของรัฐบาลได้อีกทาง