เด็กอุดรธานีตื่น โควิด19 ตามข่าวสารทุกวัน เน้นอยู่บ้าน สวมหน้ากาก ห่วงรัฐเยียวยาไม่ทั่วถึง

0
624
image_pdfimage_printPrint

นักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี ตื่นตัวรับโควิด19 พบติดตามข่าวสารทุกวัน ผ่านเฟสบุ๊คมากสุด พบยอมอยู่บ้านหยุดเชื้อ พร้อมสวมหน้ากากทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน ปัญหาที่พบหน้ากากราคาแพง หาซื้อยาก ห่วงรัฐเยียวยาไม่ทั่วถึง
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด หัวหน้าสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ได้จัดทำการสำรวจอุดรโพล “พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ของนักเรียนนักศึกษาจังหวัดอุดรธานีในช่วงไวรัสโควิด19 ระบาด” ในระหว่างวันที่ 14 – 17 เมษายน 2563 โดยมีการเก็บแบบสอบถามจำนวน 1,129 ชุด ผลการสำรวจพบว่า
พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 พบว่า นักเรียน นักศึกษาติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโควิด19 ทุกวัน ๆ ละหลายๆ ครั้ง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.7 รองลงมาคือ ติดตามวันละครั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.6 พบติดตามข่าวสารน้อยกว่า 30 นาทีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.6 รองลงมาคือ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 36.3 นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของนักเรียนนักศึกษาบริโภคข่าวสาร ให้ความสนใจ นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนนักศึกษาติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 80.8 รองลงมาคือได้เห็นจากเพื่อนแชร์ผ่านเฟสบุ๊ค คิดเป็นร้อยละ 9.6
สื่อที่นักเรียน นักศึกษาติดตามมากที่สุดคือ สื่อโซเซียลมีเดีย คิดเป็นร้อยละ 79.7 รองลงมาคือสื่อเว็บไซต์ คิดเป็นร้อยละ 52.1 โทรทัศน์ ร้อยละ 39.0 ส่วนโซเซียลมีเดียที่นิยมมากที่สุดคือเฟสบุ๊ค คิดเป็นร้อยละ 63.8 รองลงมาคือ ทวิตเตอร์ร้อยละ 14 ยูทูบร้อยละ 8.9
นักเรียนนักศึกษา ได้รับข่าวสารที่เกี่ยวกับไวรัสโควิด19 พบว่า ข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 78.1 รองลงมาคือ ติดตามข่าวสารสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน คิดเป็นร้อยละ 68.8 การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คิดเป็นร้อยละ 64.0 ข่าวผลกระทบการเยียวยาจากรัฐ คิดเป็นร้อยละ 63.0 การงดจัดประเพณีสงกรานต์ร้อยละ 58.0 การงดจำหน่ายเหล้าตลอดเดือนเมษายน ร้อยละ 55.3 ข่าวการปิดห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 50.7 ข่าวการปิดเซเว่น 22.00 – 04.00 น. ร้อยละ 50.4 การปิดสวนสาธารณะ ร้อยละ 38.5
เมื่อได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด19 นักเรียน นักศึกษาได้แสดงพฤติกรรมคือ อยู่บ้านไม่ออกไปไหนถ้าไม่จำเป็น มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73 รองลงมาคือ การออกจากบ้านทุกครั้งใส่หน้ากากเสมอ คิดเป็นร้อยละ 72.7 ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ อย่างน้อย 20 วินาที คิดเป็นร้อยละ 60.4 ไม่ไปในที่ชุมชน ร้อยละ 53.3 ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 50.7 อยู่ห่างกัน 2 เมตร ร้อยละ 49.8 อาบน้ำทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน ร้อยละ 44.6 ตามลำดับ
กิจกรรมที่นักเรียน นักศึกษานิยมทำช่วงปิดเทอมคือ การเล่นเฟสบุ๊ค มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.1 รองลงมาคือ ดูโทรทัศน์ ร้อยละ 60.9 ทำงานบ้าน ช่วยงานพ่อแม่ ร้อยละ 55.8 เล่นเกมส์ออนไลน์ ร้อยละ 52.9 เรียนออนไลน์ ร้อยละ 30.1 อ่านหนังสือทบทวนบทเรียน ร้อยละ 23.9 ขายของออนไลน์ ร้อยละ 17.9 ทำคลิปเผยแพร่ ร้อยละ 12.4 หาเพื่อนใหม่ออนไลน์ ร้อยละ 11.7
ด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด19 พบว่า นักเรียนนักศึกษามีความตระหนักรู้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด คือการออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากทุกครั้ง มีค่าเฉลี่ย 4.59 รองลงมาคือ การติดตามข่าวเป็นเรื่องที่ต้องทำ มีค่าเฉลี่ย 4.57 การเลื่อนเปิดเทอมป้องกันโควิดได้ มีค่าเฉลี่ย 4.52 ส่วนความตระหนักรู้ที่อยู่ในเกณฑ์มาก ได้แก่ เห็นด้วยกับการรณรงค์ให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ มีค่าเฉลี่ย 4.49 การล้างมือด้วยสบู่ของท่านจะใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที มีค่าเฉลี่ย 4.47 จะเลี่ยงไปในสถานที่ชุมนุมชนเสมอ มีค่าเฉลี่ย 4.46 กินข้าวขณะอาหารร้อน ใช้ช้อนกลางของตนเองเสมอ มีค่าเฉลี่ย 4.45 ขณะไปซื้อของท่านจะยืนห่างจากคนอื่น 2 เมตรเป็นอย่างน้อย มีค่าเฉลี่ย 4.43 ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศต้องกักตัวอย่างน้อย 14 วัน มีค่าเฉลี่ย 4.42 การล้างมือด้วยสบู่ของท่านจะใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที มีค่าเฉลี่ย 4.41 ระมัดระวังไม่ให้เป็นไข้หวัดในช่วงนี้ มีค่าเฉลี่ย 4.39 การเรียนออนไลน์แทนการเรียนแบบเดิมมีความจำเป็น คิดเป็นร้อยละ 4.38 การงดจำหน่ายเหล้าในช่วงสงกรานต์ สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ คิดเป็นร้อยละ 4.38 และเมื่อกลับถึงบ้านท่านจะอาบน้ำชะระล่างกายทันที มีค่าเฉลี่ย 4.32 ตามลำดับ
ด้านปัญหาที่พบ นักเรียนนักศึกษาเห็นว่า ปัญหามากที่สุดคือหน้ากากอนามัยไม่สามารถหาซื้อได้ตามที่รัฐกำหนด คิดเป็นร้อยละ 76.3 รองลงมาคือ รัฐเยียวยาอาชีพที่ประสบปัญหาในช่วงโควิดไม่ทั่วถึง คิดเป็นร้อยละ 65.2 การไม่ให้เดินทางไปต่างจังหวัดทำให้ประสบปัญหา คิดเป็นร้อยละ 50.9 การปิดห้างสรรพสินค้าทำให้ซื้อของได้ลำบาก คิดเป็นร้อยละ 50.7 การปิดภาคเรียนนานเกินไปส่งผลต่อการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ 49.8 การเรียนออนไลน์มีข้อจำกัด นักเรียนนักศึกษาได้ความรู้ไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 47.6 การปิดร้านอาหาร ทำให้นักเรียน นักศึกษาที่ทำงานพิเศษขาดรายได้ คิดเป็นร้อยละ 44.6 การเรียนออนไลน์ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 41.1 การเรียนออนไลน์มีข้อจำกัดในด้านการมอบหมายงานกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 40.2 การเรียนออนไลน์ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนลดน้อยลง คิดเป็นร้อยละ 39.8 การประกาศเคอร์ฟิวทำให้การออกจากบ้านได้ลำบาก คิดเป็นร้อยละ 37.6 ตามลำดับ.