1

เชฟโรเลต ร่วมเปิดสถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบแห่งแรกในไทย

คุณครรชิต ไชยสุโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายรัฐกิจ ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และคุณรัตนาวลี อินโอชานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถ่ายภาพร่วมกับเชฟโรเลต โวลต์ รถพลังงานไฟฟ้าขยายระยะทางขับเคลื่อน (Extended Range Electric Vehicle – E-REV)

  • เทคโนโลยีอันล้ำสมัยของเชฟโรเลต โวลต์ เอื้อให้การใช้รถพลังงานไฟฟ้าไม่ต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานราคาแพง
  • ปตท. เปิดสถานีประจุพลังงานไฟฟ้าแห่งแรก ก่อนขยายเพิ่มเป็น 6 สถานีภายในปี 2556
  • ระบบพลังงานไฟฟ้าขยายระยะทางขับเคลื่อน (E-REV) ช่วยลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปราศจากข้อจำกัดด้านระยะทางขับขี่

กรุงเทพฯ เชฟโรเลต โวลต์ ร่วมเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของพิธีเปิดสถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกของปตท. ที่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยีของปตท. อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

ปตท. มีแผนขยายเครือข่ายสถานีประจุไฟฟ้า เพิ่มเติมอีก 5 สถานีภายในปี 2556 แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯ 2 สถานี คือบริเวณปตท. สำนักงานใหญ่ และใกล้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาเพื่อสวัสดิการ ร.1 รอ.บนถนนวิภาวดีรังสิต  และอีก 3 สถานี ได้แก่บนเส้นทาง กรุงเทพฯ – ระยอง 2 สถานี และในจังหวัดนนทบุรีอีก 1 สถานี

คุณครรชิต ไชยสุโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายรัฐกิจ ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนจากเชฟโรเลตเข้าร่วมในพิธีเปิดครั้งนี้ ขณะที่คุณรัตนาวลี อินโอชานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธี

ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนารถพลังงานไฟฟ้ากำลังเป็นที่จับตามองมากขึ้นจากสาธารณชน และหน่วยงานภาครัฐ ส่วนหนึ่งมาจากการจัดกิจกรรมทดสอบขับเชฟโรเลต โวลต์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งพลังงานไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในหลายหนทางที่มีความเป็นไปได้สูงในการช่วยตอบโจทย์ระบบขับเคลื่อนเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน

ยนตรกรรมของเจนเนอรัล มอเตอร์สและเชฟโรเลต มีศักยภาพและความหลากหลายที่พร้อมจะมอบเทคโนโลยีสีเขียวและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศไทย หากมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับและมีความต้องการถึงระดับมวลวิกฤติซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงตลาดได้

“เชฟโรเลต มีความชื่นชมยินดีต่อมาตรการที่รัฐบาลไทยแสดงออกมา ผ่านทางบริษัทปตท. ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะช่วยลดมลพิษและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” มร.มาร์ติน แอพเฟล ประธานกรรมการ ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

สถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบ สอดคล้องกับ “แผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกร้อยละ 25 ใน 10 ปี” และการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญผ่านทางกิจกรรมของเชฟโรเลต โวลต์ โดยในปี 2556 จะมีสถานีประจุไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น 6 สถานี

 

สถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบของปตท. สร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สามารถรองรับการประจุไฟฟ้ารถยนต์ไฟฟ้าได้พร้อมกัน  3 คัน ประกอบด้วย  ตู้ประจุไฟฟ้า   3 ตู้  ได้แก่  ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสตรงแบบเติมเร็ว 1 ตู้ ใช้เวลาเติมประมาณ 30 นาที ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสสลับแบบเติมเร็วปานกลาง ใช้เวลาเติมประมาณ 3 ชั่วโมง และ 3 ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสสลับแบบเติมช้า ใช้เวลาเติมประมาณ 8 ชั่วโมง

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในแวดวงอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นสอดคล้องกับจีเอ็ม ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องกำหนดทิศทางของแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชัดเจน และเพิ่มแรงจูงใจเพื่อช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงและความต้องการใช้รถพลังงานไฟฟ้า

เมื่อตลาดมีความแข็งแกร่ง  มีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบด้านเทคนิคที่ครบครันจนรถพลังงานไฟฟ้าเป็นที่ต้องการ ประเทศไทยจะสามารถยืนอยู่แถวหน้าของเทคโนโลยีสีเขียวและเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้

“เราเสนอแนะให้รัฐบาลไทย พิจารณาการเริ่มพัฒนายุทธศาสตร์รถพลังงานไฟฟ้าในประเทศอย่างรวดเร็วด้วยการทำให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงรถปลั๊กอินและรถไฟฟ้าขยายระยะทางขับเคลื่อนได้ง่ายยิ่งขึ้น และสร้างความต้องการของตลาด ตลอดจนลดกำแพงพิกัดอัตราศุลกากร” มร.แอพเฟล กล่าว