“เจน4” ข้าวหงษ์ทอง ปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ดึง Supply Chain Department ทำตลาด ตั้งเป้าปี 61 โกยยอดขายกว่า 2,000 ล้านบาท

0
861
image_pdfimage_printPrint

“เจน4” ข้าวหงษ์ทอง ปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ดึง Supply Chain Department ทำตลาด ตั้งเป้าปี 61 โกยยอดขายกว่า 2,000 ล้านบาท

ข้าวหงษ์ทอง (เจนเนอเรชั่นที่ 4) ปรับกระบวนทัพใหม่ ดึง Supply Chain Department เพื่อทำการพัฒนาระบบ 3 เรื่องใหญ่ ปรับประมาณการยอดขายและการผลิต ผ่านระบบ Web Order System และการจัดการงาน Support ด้วยวิธี e-Filing และใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล Data Analysis หวังเป้ายอดขายปี 2561 กว่า 2,000 ล้านบาท และอีก 3 ปี โตปีล่ะไม่ต่ำกว่า 15% ในทุกแบรนด์ของกลุ่มทั้ง หงษ์ทอง (ข้าวหอมมะลิ) หงษ์ทิพย์ (ข้าวหอมผสม) หงษ์ไทย (ข้าวขาว) และหงษ์ทองไลฟ์ (ข้าวกล้อง) โดยข้าวหงษ์ทอง ครองแชมป์ยอดขายกว่า 85% ของทั้งกลุ่ม

นายกัมปนาท มานะธัญญา กรรมการ บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายข้าวแบรนด์ “ข้าวหงษ์ทอง” เปิดเผยว่า ตนเป็นผู้บริหาร (เจนเนอเรชั่นที่ 4) ในการเข้ามาบริหารบริษัทฯ รับผิดชอบในการทำตลาดในประเทศเป็นหลัก ดูแลแบรนด์ของข้าวหงษ์ทองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น หงษ์ทอง (ข้าวหอมมะลิ) หงษ์ทิพย์ (ข้าวหอมผสม) หงษ์ไทย (ข้าวขาว) และหงษ์ทองไลฟ์ (ข้าวกล้อง) ซึ่งได้เข้ามาบริหารได้สักระยะหนึ่ง และได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเพิ่มระบบให้มีประสิทธิภาพในการทำงานในด้านต่างๆ เริ่มจากการคิดที่จะลดกระดาษของสำนักงาน เพราะมีค่าใช้จ่ายเยอะมากต่อเดือน จึงมีแนวคิดที่จะทำให้เอกสารส่วนมากให้ เป็น e-Filing แทน

ตั้งแต่ปี 2559 จึงได้เริ่มศึกษาอย่างจริงจัง ว่าต้องทำอะไรบ้าง เกี่ยวกับเรื่อง Supply chain จะทำอย่างไรให้เปลี่ยน เป็น Value chain ให้ได้ ซึ่งได้จัดองค์กรใหม่ เพิ่มฝ่าย Supply Chain Department เพื่อทำการพัฒนาระบบ โดยได้ทำ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ เรื่องประมาณการยอดขายและการผลิต ผ่านระบบ Web Order System โดย Forecast ที่ต้องเริ่มทำเป็นเรื่องแรกๆ เนื่องจาก คลังสินค้าของเราไม่เพียงพอต่อรอบการขายที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงมีสินค้าที่ไม่สามารถ ส่งได้ทันกำหนด เพราะการหมุนรอบสต็อก และการผลิตไม่ทัน เลยเริ่มให้พนักงานขายทำ FC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเก็บสต็อกสินค้า และสามารถลดค่าใช้จ่าย ได้ประมาณ 10% คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งปีได้ 3,000,000 บาท และเพิ่มการหมุนของรอบสต็อกจาก 3 ครั้ง เป็น 4 ครั้ง รวมถึงส่งผลต่อเนื่องทำให้เพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานได้เกือบ 15%-20% จากกำลังการผลิตเดิม 4,000 ตันต่อเดือน เป็น 5,000 ต่อเดือน

เรื่องที่สอง คือการจัดการงาน Support ด้วยวิธี e-Filing เริ่มจากลดการ Print Order จากลูกค้า ซึ่งแต่ละวันจะมีบิลออร์เดอร์เข้ามาไม่ต่ำกว่า 300 ใบ และกระบวนการทำงานของแต่ละฝ่ายที่ต้องพิมพ์กระดาษออกมาอีกประมาณ 3 ชุด ทำให้เราต้องใช้กระดาษจำนวนมาก และปัญหาสำคัญคือพื้นที่การเก็บเอกสาร จึงมีการวางระบบให้เป็นการเปิด order จากระบบ Web Order แทน และตามด้วยการทำราคาและรายการส่งเสริมการขายของทีมขาย Modern Trade และ Traditional Trade ให้อยู่ในระบบ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด ลดขั้นตอน ความซับซ้อนและตรวจสอบได้ตามลำดับอำนาจอนุมัติ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไม่เสียเวลากับการทำเอกสาร และรวมถึงได้ทำเรื่องงานของฝ่ายจัดซื้อการเปิด Purchase Request & Purchase Order ให้อยู่ในระบบด้วยเช่นกัน

นายกัมปนาท กล่าวต่อไปอีกว่า เรื่องสำคัญเรื่องที่สามคือ การนำโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล Data Analysis โดยจากการเปลี่ยนระบบการทำงานโดยใช้ e-Filing แล้ว ทำให้สามารถที่จะดึงข้อมูลนำมาประมวลผลได้ทันที ซึ่งรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดการทำงานแบบ Manual ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดจาก Human Error โดยได้เริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการขายและการตลาด วิเคราะห์ผลตอบรับซึ่งจะช่วยให้การวางแผนงานขายและงานการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น

“ในการปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของ “ข้าวหงษ์ทอง” ก็เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัทที่มีเป้าหมายในปี 2561 ด้วยยอดขาย 2,000 ล้านบาท และในอีก 3 ปีข้างหน้า วางแผนการเติบโตไว้ปีละไม่ต่ำกว่า 15% ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดที่วางแบรนด์สินค้าไว้ตาม Product Segmentation ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 4 แบรนด์คือ หงษ์ทอง (ข้าวหอมมะลิ) หงษ์ทิพย์ (ข้าวหอมผสม) หงษ์ไทย (ข้าวขาว) และหงษ์ทองไลฟ์ (ข้าวกล้อง) ซึ่งยอดขายส่วนใหญ่ 85% คือข้าวหงษ์ทอง และรองลงมาคือข้าวสุขภาพ โดยในปีนี้เราได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของข้าวสุขภาพถึง คือ ข้าว Zuper Rice ขนาด 1 กก. และข้าวหอมคุณภาพ 100% ขนาด 5 กก. วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำแล้ว” นายกัมปนาท กล่าวสรุปในตอนท้าย