เขตเจียงจินในนครฉงชิ่งของจีนจัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนที่สิงคโปร์

0
263
image_pdfimage_printPrint

เขตเจียงจินในเทศบาลนครฉงชิ่ง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน จัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนเป็นครั้งแรกในประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อแสวงหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือกับสิงคโปร์และประเทศอื่นๆในอาเซียน

คุณเจิ้ง จื่ออี้ เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเขตเจียงจิน เปิดเผยว่า เขตเจียงจินเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของเส้นทางที่มุ่งลงใต้ผ่านฉงชิ่ง-กุ้ยโจว-กว่างซี-สิงคโปร์ และเป็นจุดสำคัญในเส้นทางสายไหมทางเศรษฐกิจ เขตเจียงจินไม่เพียงมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมและการพัฒนาภาคตะวันตกของจีนเท่านั้น แต่ยังเป็นประตูบานใหม่ที่เปิดฉงชิ่งสู่โลกภายนอกด้วย

คุณเจิ้งได้ให้ทรรศนะอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับบรรยากาศการลงทุนอันยอดเยี่ยมและประโยชน์ของการลงทุนในเขตเจียงจิน แก่บรรดานักการเมือง นักธุรกิจ องค์กรท้องถิ่น รวมถึงสถาบันต่างๆในสิงคโปร์

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เขตเจียงจินได้รับความนิยมในหมู่ผู้ประกอบการชาวสิงคโปร์ที่ตั้งใจเข้าไปลงทุนในพื้นที่ โดยโครงการที่ผู้ประกอบการสิงคโปร์เข้าไปปักหลักลงทุนแล้วประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมครบวงจรเมเปิลทรี, ตลาดฮาร์ดแวร์และเครื่องจักรไฟฟ้าระหว่างประเทศอิงลี่, นิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์โปรโลจิส (ฉงชิ่ง) หลัวฮวง และ BLOGIS ขณะเดียวกัน กลุ่มเทมาเส็กและหอการค้าฉงชิ่งประจำสิงคโปร์ก็หันมาให้ความสนใจกับเขตเจียงจินมากขึ้น พร้อมสร้างความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด

ภายในงานส่งเสริมการลงทุนครั้งนี้ เขตเจียงจินของเทศบาลนครฉงชิ่งได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทั้งสิ้น 12 ฉบับกับบรรดาสถาบันวิจัย สมาคมธุรกิจ และบริษัทต่างๆในสิงคโปร์ อาทิ ศูนย์ทัศนศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์, สมาคมธุรกิจสิงคโปร์-จีน และสมาคมบิสิเนส ไชน่า ซึ่งรวมถึงข้อตกลงความร่วมมือในโครงการหมู่บ้านศิลปินฉงชิ่งไป๋ซา ที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างเขตเจียงจินกับบริษัท หนานหยาง เวนเชอร์ส ร่วมด้วยบริษัท เซี่ยเหมิน แอนเชี่ยน อาร์ท คัลเจอร์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ด้วยงบประมาณ 115 ล้านหยวน นอกจากนี้ ข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างเขตเจียงจินกับสมาคมศิษย์เก่าสิงคโปร์ของมหาวิทยาลัยการเดินเรือแห่งต้าเหลียน ก็ถือเป็น 1 ใน 12 โครงการที่ได้มีการลงนามในงานนี้ด้วย

ติดต่อ: เจียง เถา
โทร. +86-18696653330

ที่มา: China Economic Information Service

AsiaNet 73249