อุตสาหกรรมยานวัตกรรมผนึกกำลังกับ สมาพันธ์กาชาดสากลและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies: IFRC) เพื่อรับมือกับโรคไม่ติดต่อ

0
244
image_pdfimage_printPrint
  • ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อขานรับแผนขององค์การสหประชาชาติในการรับมือกับปัญหาเรื่องโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases: NCDs)
  • ยกระดับความตื่นตัวของประชาชนสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • ผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรจากภาคเภสัชกรรมและองค์กรมนุษยธรรมนี้ คาดการณ์ว่าครอบคลุมประชาชนราว 3 ล้านคน

 

กรุงเทพฯ 9 เมษายน พ.ศ. 2556: สมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติ  (International Federation of Pharmaceutical Manufacturers & Associations หรือ IFPMA) และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies: IFRC) ประกาศจับมือร่วมต้านการระบาดของโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases: NCD) ภายใต้ความร่วมมือระยะเวลา 2 ปีนี้ ทั้งสององค์กรจะให้การสนับสนุนด้านการออกแบบชุดติดตามการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดวิถีสุขภาพดีในระดับชาติและระดับชุมชน โดย IFRC จะทำการกระจายเครื่องมือดังกล่าวสู่ประชาชนราว 3 ล้านคนผ่านทางเครือข่ายอาสาสมัครและผู้เชี่ยวชาญชุมชนที่มีอยู่ทั่วโลก

 

โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบหายใจเรื้อรังและโรคเบาหวาน เป็น 4 โรคหลักที่ร้ายแรงในกลุ่มNCD ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนถึง 3 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั่วโลก โดยร้อยละ 80 ของสาเหตุการเสียชีวิตที่สืบเนื่องมาจาก NCD มักเกิดขึ้นในบรรดาประเทศที่มีรายได้ต่ำไปจนถึงปานกลาง นอกจากนี้ NCD ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คร่าชีวิตประชาชนถึง 7.9 ล้านคนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 55 ของเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดในภูมิภาค มีการคาดการณ์ว่าอีก 10 ปีข้างหน้าอัตราการเสียชีวิตจาก NCD ในภูมิภาคจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 21

 

เนื่องจากร้อยละ 50 ของ NCD สามารถป้องกันได้ การร่วมมือกันระหว่าง IFPMA และ IFRC จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของ NCD ทั่วโลกและสนับสนุน IFRC ในการให้ความช่วยเหลือชุมชนตามท้องถิ่นต่างๆ เพื่อลดผลกระทบอันเกิดจาก NCD และนับตั้งแต่ที่ IFPMA ได้เผยกรอบปฏิบัติการป้องกันการแพร่ระบาดของ NCD ในปี พ.ศ. 2554 IFPMA ได้จัดทำโครงการวิจัยและให้ความรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อหาแนวทางใหม่ในการช่วยหลือประชาชนต่อสู้กับ NCD

 

มร.เอดูอาร์โด้ ปิซานิ ผู้อำนวยการ IFPMA กล่าวว่า “เป้าหมายร่วมกันในการต่อสู้กับ NCD ของ IFRC และ IFPMA นำมาซึ่งพลังและความคิดสร้างสรรค์เพื่อต่อสู้กับโรคร้ายนี้ทั่วโลก”

 

หนึ่งในจุดแข็งของ IFRC อยู่ที่ความสามารถของเหล่าอาสาสมัครชุมชนในการจัดการกับปัจจัยพื้นฐานทางสังคม พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีผ่านการทำงานภาคสนามอย่างต่อเนื่อง “การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยการขจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆสามารถช่วยหลายชีวิตได้ โดยอาสาสมัครของ IFRC จะมีบทบาทสำคัญในการเข้าเยี่ยมเยียนบ้านทุกหลังในชุมชนของพวกเขาเพื่อส่งเสริมให้เกิดวิถีสุขภาพดี” มร.เบเคเล เกเลทา เลขาธิการใหญ่ IFRC กล่าวพร้อมเสริม “ไม่มีองค์กรจากภาครัฐหรือเอกชนใดที่สามารถรับมือกับ NCD ได้เพียงลำพัง การต่อสู้กับ NCD นั้น ต้องได้รับความร่วมมือในการแก้ปัญหาจากทุกฝ่าย”