อะโดบีเผยผลการศึกษา “บทบาทและสถานะของความคิดสร้างสรรค์” ในระบบการศึกษา สำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

0
295
image_pdfimage_printPrint

ข้อมูลสำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

 

  • ผลการสำรวจความคิดเห็นอาจารย์และผู้สอน 1,014 คนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีความต้องการสูงมากที่อยากอัดฉีดความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนและในห้องเรียน
  • 43% ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าระบบการศึกษาปัจจุบันล้าสมัยหรือมีข้อจำกัด
  • อาจารย์และผู้สอนที่ตอบแบบสอบถามใช้เวลาโดยเฉลี่ย 45% ของช่วงเวลาปีที่แล้วเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ ขณะที่จริงๆ แล้วพวกเขาต้องการใช้เวลาถึง 58% เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน
  • ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร เครื่องมือ และการฝึกอบรม คืออุปสรรคสำคัญที่สุด

 

ข้อมูลสำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย)

  • มีอาจารย์และผู้สอน 102 คนจากทั่วภูมิภาคร่วมตอบแบบสอบถาม
  • 37% เชื่อว่าระบบการศึกษาปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้าสมัยหรือมีข้อจำกัด
  • อาจารย์และผู้สอนใช้เวลากว่า 59% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการสร้างสรรค์ในห้องเรียน

 

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย — 2 เมษายน 2556 บริษัท อะโดบี ซิสเต็มส์ เปิดเผยผลการศึกษาที่มีชื่อว่า “บทบาทและสถานะของความคิดสร้างสรรค์ในระบบการศึกษา” (State of Creativity in Education) ในเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมข้อมูลสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมประจำปี Adobe Education Leadership Forum ครั้งที่ 8 ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2556 ข้อมูลสำหรับเอเชีย-แปซิฟิกโดยอาจารย์และผู้สอน 1,014 คน (อาจารย์ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการโรงเรียน) จาก 13 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ได้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดสถานะความคิดสร้างสรรค์ในแวดวงการศึกษาในภูมิภาคดังกล่าว

สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อาจารย์และผู้สอน 102 คนจากทั่วภูมิภาค (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย) ได้เข้าร่วมการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ในช่วงระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึง 10 มีนาคม 2556  อาจารย์และผู้สอนเหล่านี้เป็นตัวแทนจากสถาบันการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา รวมถึงสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพ โดย 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูหรืออาจารย์ผู้สอน ขณะที่อีก 20% เป็นผู้บริหาร ผู้อำนวยการโรงเรียน และที่ปรึกษา

 

ผลการศึกษาเน้นย้ำประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นและเผยให้เห็นถึงความต้องการที่อยากอัดฉีดความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่ห้องเรียนและหลักสูตรที่สูงมากโดยระบุตรงกันทั้งอาจารย์และผู้สอนทั่วภูมิภาค และที่น่าแปลกใจก็คือ อาจารย์และผู้สอนเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับระบบการศึกษาในประเทศว่าเป็นระบบที่ล้าสมัย มีข้อจำกัด และไร้ประสิทธิภาพในการพัฒนานักสร้างสรรค์นวัตกรรม  กว่า 43% ระบุว่าเป็นระบบที่ล้าสมัยหรือมีข้อจำกัดหรือมีลักษณะทั้งสองอย่าง และในเรื่องของประสิทธิภาพในการพัฒนานักสร้างสรรค์รุ่นใหม่นั้น อาจารย์และผู้สอนให้คะแนน 5.0 สำหรับระบบการศึกษาที่มีอยู่ จากระดับคะแนน 1-10

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 41% ยังต้องการเครื่องมือและการฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน และ 22% ต้องการกระบวนการที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตร และเมื่อขอให้ระบุระดับความสำคัญของการอัดฉีดความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่การศึกษาเพื่อให้ประเทศประสบความสำเร็จในระยะยาวจากระดับคะแนน 1 – 10 ปรากฏว่าคะแนนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ 8.4

นายปีเตอร์ แมคอัลไพน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายขายด้านการศึกษาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของอะโดบี แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจนี้ โดยกล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไปสำหรับอาจารย์และผู้สอน นักเรียนนักศึกษา และสถานศึกษา แต่เป็นข้อบังคับสำหรับความสำเร็จในอนาคต ห้องเรียนมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้ในรูปแบบเดิมๆ ไปสู่แพลตฟอร์มที่สร้างสรรค์มากขึ้นสำหรับการทำความเข้าใจ อาจารย์และนักศึกษากำลังสร้างนิยามใหม่สำหรับวิธีการถ่ายทอดความรู้ แบบสำรวจสถานะความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เรามีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับทัศนคติของอาจารย์และผู้สอน รวมถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนนักศึกษา”

ประเด็นสำคัญอื่นๆ ของผลสำรวจความคิดเห็นแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่หลักตามที่ระบุด้านล่างนี้ รายงานผลสำรวจความคิดเห็นโดยละเอียดและภาพอินโฟกราฟิกสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.adobe.com/sea/special/creativity-report-sea/index.html

ผลการศึกษาสถานะความคิดสร้างสรรค์ในด้านการศึกษาของอะโดบีสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

 

ทัศนคติและความมุ่งหวัง

การสำรวจครั้งนี้จุดมุ่งหมายเพื่อวัด “บทบาทและสถานะความคิดสร้างสรรค์” ในปัจจุบัน อาจารย์และผู้สอนที่ตอบแบบสอบถามแนะนำภารกิจมากมายที่จะต้องดำเนินการเพื่อลดช่องว่างสถานการณ์ปัจจุบันกับสถานการณ์ที่ควรจะเป็น

  • อาจารย์และผู้สอน 62% รู้สึกว่าตนเองควรจะมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะสอนวิชาใดก็ตาม
  • 35% รู้สึกว่าการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นหน้าที่หลักของอาจารย์และผู้สอน ขณะที่ 20% รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปกครอง
  • โดยเฉลี่ยแล้ว อาจารย์และผู้สอนใช้เวลาเพียง 45% เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียนเมื่อปีที่แล้ว แต่แนวทางที่เหมาะสมก็คือ ควรจะใช้เวลาราว 58% สำหรับการดำเนินการนี้ จึงนับว่ายังมีปัญหาช่องว่างอยู่
  • อาจารย์และผู้สอน 49% ต้องการโอกาสมากขึ้นในการอัดฉีดหรือเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในทุกวิชาโดยไม่จำกัดเพียงแค่วิชาศิลปะหรือมนุษยศาสตร์เท่านั้น

 

อุปสรรคและปัจจัยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์

ผลการศึกษาเผยให้เห็นถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการอัดฉีดความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงปัจจัยเสริมสร้างที่อาจารย์และผู้สอนต้องการ

  • 56% เชื่อว่าระบบการศึกษาปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้มุ่งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดย 49% ระบุว่าสาเหตุเกิดจากปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร และ 26% เชื่อว่าสาเหตุเกิดจากปัญหาการขาดแคลนเวลา
  • 36% เชื่อว่าอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ก็คือ “ระบบที่พึ่งพาการทดสอบและการประเมินผลมากเกินไป”
  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 43% รู้สึกว่าระบบการศึกษาปัจจุบัน “ล้าสมัยหรือ มีข้อจำกัด หรือมีลักษณะทั้งสองอย่าง ขณะที่ 35% ยอมรับว่าระบบการศึกษาปัจจุบันช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
  • อาจารย์และผู้สอน 41% เชื่อว่า เครื่องมือและการฝึกอบรมสำหรับอาจารย์และผู้สอนคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

 

เครื่องมือและเทคนิค

  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 86% รู้สึกว่าเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิตอลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนนักศึกษา
  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 35% ระบุว่าตนเองมีความพร้อมอย่างมากในการปรับเปลี่ยนแนวทางการสอนเพื่อใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิตอล  ทั้งนี้ ในการสำรวจความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกันเมื่อปีที่แล้ว ตัวเลขนี้อยู่ที่ 30% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างช้าๆในเรื่องความพร้อมสำหรับการปรับใช้ทักษะและเครื่องมือดิจิตอล
  • เครื่องมือและเทคนิคช่วยกระตุ้นการสร้างสรรค์ด้านแนวคิด (66%), ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกัน (61%), ช่วยกระตุ้นให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ (58%) และช่วยเป็นรางวัลตอบแทนความคิดสร้างสรรค์ (54%)

 

การสร้างนวัตกรรมและการเติบโต

  • เมื่อขอให้อาจารย์และผู้สอนระบุระดับความสำคัญของการอัดฉีดความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่ระบบการศึกษาเพื่อความสำเร็จในระยะยาวของประเทศที่เกี่ยวข้อง อาจารย์และผู้สอนให้คะแนนสูงถึง 8.4 จากระดับคะแนน 1 ถึง 10
  • แต่ขณะเดียวกัน เมื่อสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบการศึกษาปัจจุบันในการพัฒนานักสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งอนาคต อาจารย์และผู้สอนให้คะแนนเพียงแค่ 5.0 จากระดับคะแนน 1 ถึง 10
  • ผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า การคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์และระบบการศึกษาะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากร (47%) และประเทศโดยรวม (49%)

 

ผลการศึกษาสถานะความคิดสร้างสรรค์ในด้านการศึกษาของอะโดบีสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม)

ทัศนคติและความมุ่งหวัง

  • อาจารย์และผู้สอน 73% รู้สึกว่าตนเองควรจะมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะสอนวิชาใดก็ตาม
  • 29% รู้สึกว่าการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นหน้าที่หลักของอาจารย์และผู้สอน ขณะที่ 32% รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปกครอง
  • อาจารย์และผู้สอนใช้เวลา 59% เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการสร้างสรรค์ในห้องเรียนในช่วงปีที่แล้ว แต่แนวทางที่เหมาะสมก็คือ ควรจะใช้เวลาราว 70% สำหรับการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ จึงนับว่ายังมีปัญหาช่องว่างอยู่

 

อุปสรรคและปัจจัยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์

  • 41% เชื่อว่าระบบการศึกษาปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้มุ่งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์,  31% เชื่อว่าอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ก็คือ ระบบที่พึ่งพาการทดสอบและการประเมินผลมากเกินไป
  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 37% รู้สึกว่าระบบการศึกษาปัจจุบันล้าสมัยหรือมีข้อจำกัดหรือมีลักษณะทั้งสองอย่าง
  • อาจารย์และผู้สอน 58% เชื่อว่า “เครื่องมือและการฝึกอบรม” คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

 

เครื่องมือและเทคนิค

  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 91% รู้สึกว่าเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิตอลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนนักศึกษา
  • เครื่องมือและเทคนิคช่วยกระตุ้นการสร้างสรรค์ด้านแนวคิด (73%), ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกัน (70%), เป็นรางวัลตอบแทนความคิดสร้างสรรค์ (62%) และช่วยกระตุ้นให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ (60%)

 

การสร้างนวัตกรรมและการเติบโต

  • อาจารย์และผู้สอนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ 9 คะแนน (จากระดับคะแนน 1 ถึง 10) สำหรับความสำคัญในการอัดฉีดความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่ระบบการศึกษาเพื่อความสำเร็จในระยะยาวของภูมิภาคนี้
  • แต่ขณะเดียวกัน เมื่อถามถึงประสิทธิภาพของระบบการศึกษาปัจจุบันในการพัฒนานักสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งอนาคต อาจารย์และผู้สอนให้เพียงแค่ 5.7 คะแนน จากระดับคะแนน 1 ถึง 10

 

การเปรียบเทียบแต่ละประเทศ

เมื่อเปรียบเทียบคำตอบที่หลากหลาย ดูเหมือนว่าโดยรวมแล้วอาจารย์และผู้สอนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความก้าวหน้าด้านการเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์มากกว่า ตามมาด้วยออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ANZ) และอินเดีย

 

พารามิเตอร์ (Parameters) : ค่าแสดงคุณลักษณะบางประการของประชากร ANZ (ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  และเอเชีย แปซิฟิก) จีน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาหลีใต้
เปอร์เซ็นต์ของเวลาที่ใช้ในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 48% 40% 45% 59% 37%
ปอร์เซ็นต์ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรในโรงเรียน 30% 7% 29% 37% 43%
ความคิดสร้างสรรค์ในระบบการศึกษามีความสำคัญมากน้อยเพียงใดต่อการเสริมสร้างความสำเร็จของประเทศ จากระดับคะแนน 1-10 8.8 7.4 8.6 9 8.1
เปอร์เซ็นต์ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าตนเองได้รับการสนับสนุนให้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 24% 11% 37% 36% 11%
ระบบการศึกษาในประเทศมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดในการพัฒนานักสร้างสรรค์นวัตกรรมรุ่นใหม่ จากระดับคะแนน 1-10 4.7 4.4 5.2 5.7 4.6

 

นายบรูซ ดิ๊กสัน ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Anytime Anywhere Learning Foundation และกรรมการผู้ก่อตั้ง ideasLAB ในออสเตรเลีย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจ โดยกล่าวว่า “หลังจากที่เรามุ่งเน้นประสิทธิภาพด้านความคิดสร้างสรรค์มานานกว่าสองทศวรรษ ดูเหมือนว่าท้ายที่สุดแล้วก็ถึงเวลาที่ความคิดสร้างสรรค์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญจริงๆสักที สำหรับหลายๆคน การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเทคโนโลยีในสถานศึกษาหมายถึงการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดหมายกันว่าช่วงทศวรรษที่สองของสหัสวรรษนี้จะเป็นทศวรรษแห่งความคิดสร้างสรรค์ โดยอาจารย์และผู้สอนจะปรับใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบที่แปลกใหม่และแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง”

นายปีเตอร์ แมคอัลไพน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายขายด้านการศึกษาสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจนี้ โดยกล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไปสำหรับอาจารย์และผู้สอน นักเรียนนักศึกษา และสถานศึกษา แต่เป็น “ข้อบังคับ” สำหรับความสำเร็จในอนาคต ห้องเรียนมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้ในรูปแบบเดิมๆ ไปสู่แพลตฟอร์มที่สร้างสรรค์มากขึ้นสำหรับการทำความเข้าใจ อาจารย์และนักศึกษากำลังสร้างนิยามใหม่ในการถ่ายทอดความรู้ แบบสำรวจสถานะและบทบาทของความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เรามีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับทัศนคติของอาจารย์และผู้สอน รวมถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนนักศึกษา”

เกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นนี้:

รายงาน ‘บทบาทและสถานะของความคิดสร้างสรรค์ในระบบการศึกษาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก’ อ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของอาจารย์และผู้สอน 1,014 คนทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยครอบคลุม 13 ประเทศ (ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม)  มีการดำเนินการสำรวจความคิดเห็นผ่านทางอินเทอร์เน็ตระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 และ 10 มีนาคม 2556 โดยผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย: ครูหรืออาจารย์ (71%), ผู้บริหาร (11%), หัวหน้าสถานศึกษา (8%) และที่ปรึกษา (9%)  ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นตัวแทนจากสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา (58%), มัธยมปลาย (13%), มัธยมต้น (10%), ประถมศึกษา (5%) และอาชีวศึกษา (10%)

เกี่ยวกับการประชุม Adobe Education Leadership Forum ประจำปี 2556:

การประชุม Adobe Education Leadership Forum จัดขึ้นเป็นปีที่ 8 โดยเป็นกิจกรรมหลักของอะโดบีสำหรับผู้นำทางความคิดด้านการศึกษาในเอเชีย-แปซิฟิก  สำหรับปีนี้ ผู้บริหารด้านการศึกษากว่า 150 คนจากทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดยหัวข้อการประชุมสำหรับปีนี้คือ “หลักสูตรการสร้างสรรค์: การบ่มเพาะจินตนาการด้วยเทคโนโลยี” (The Creativity Curriculum: Nurturing Imagination with Technology) และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการขยายขอบเขตการสร้างสรรค์โดยอาศัยเทคโนโลยีเพื่อยกระดับกระบวนการเรียนรู้และระบบการศึกษาทั้งหมด

การประชุมนี้จัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20 ถึง 22 มีนาคม 2556 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.adobe-eduforum.com/ หรือร่วมสนทนาผ่านทางทวิตเตอร์ได้ที่: #AdobeForum2013.