“ออนไลน์อย่างไรให้ได้ตังค์” Digital Business Talk: Real Case Real Experience โดย ผศ.ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา คณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม

0
820
image_pdfimage_printPrint

ผศ.ดร.รวิภา อัครจินดานนท์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวต้อนรับ นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในโอกาสให้เกียรติเป็นประธานเปิด
โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ Digital Business Talk: Real Case Real Experience หัวข้อ “ออนไลน์อย่างไรให้ได้ตังค์” โดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจดิจิทัล ผู้ช่วยศาสตาจารย์ ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้เกียรติถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับการทำธุรกิจดิจิทัล แก่นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป ได้เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง ณ ห้อง Convention ชั้น 4 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บาเขน)

โดย ผศ.ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา ในฐานะผู้ดำเนินการโครงการ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่าง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่มีความต้องการและวัตถุประสงค์ร่วมกันที่จะพัฒนานักศึกษา บุคลากรและผู้ประกอบการให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
จึงร่วมกันที่จะพัฒนาจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจดิจิทัล โดยปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจออนไลน์ให้สำเร็จ คือ ธุรกิจพาณิชย์อเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการในประเทศให้เข้าสู่การแข่งขันในเวทีระดับโลกได้
สาขาวิชาการจัดการ และ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงได้ ร่วมกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดการอบรมเชิงปฎิบัติการ โครงการ Digital Business Talk: Real Case Real Experience หัวข้อ “ออนไลน์อย่างไรให้ได้ตังค์” ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ
ซึ่งประกอบด้วย นักศึกษา ผู้ประกอบการ และบุคคลภายนอกที่สนใจ ได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ การประกอบอาชีพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) อาทิ การถ่ายภาพอย่างมืออาชีพ ด้วยโทรศัพท์มือถือ สำหรับการขายของออนไลน์ การยกระดับมาตรฐานการทำธุรกิจอีคอมเมริซ์ และ การตรวจเช็คสุขภาพเว็บไซต์ด้วยตัวเอง

อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ตรง จากการฝึกภาคปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจจริง (On the job training) ซึ่งเป็นการบูรณาการ การบริการวิชาการ การเรียนการสอน การวิจัย และเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการแบ่งปันความรู้ด้านวิชาการแก่บุคคลอื่นๆ ด้วย ผศ.ดร.อนุพงศ์ กล่าว