1

องค์กรพัฒนาเอกชนประกาศเตือน แบคทีเรียต่อต้านยาปฏิชีวนะ ภัยร้ายจากอุตสากรรมปศุสัตว์ อาจทำให้คนเสียชีวิตมากกว่าเชื้อไวรัสโคโรน่า

โลกของเราในขณะนี้อยู่ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายทศวรรษ องค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากล‘ซิเนอร์เจีย แอนิมอล’ แจ้งเตือนว่าการผลิตและการบริโภคเนื้อสัตว์อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการแพร่กระจายของโรคร้ายที่ส่งผลรุนแรงต่อมนุษยชาติได้ในอนาคตอันใกล้
“เชื้อไวรัส COVID-19 คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 146,000 รายแล้ว ส่งผลให้ทุกภาคส่วนทั่วโลกหยุดชะงัก เกิดการว่างงานเพิ่มมากขึ้นซึ่งแน่นอนว่าจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ และมาลองคิดดูว่าเราทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันโรคระบาดที่จะส่งผลต่อชีวิตผู้คนมากมายในอนาคต เช่นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะเป็นต้น ” วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทยของซิเนอร์เจีย แอนิมอลกล่าว
ประกาศเตือนดังกล่าวนี้มาจากองค์กรพัฒนาเอกชน โดยมีข้อมูลยืนยันเป็นสถิติที่น่าตกใจ อีกทั้งยังเป็นประเด็นที่สถาบันสำคัญๆ ระดับโลกอย่างสหประชาชาติก็วิตกกังวลเช่นกัน รายงานจากสหประชาชาติระบุว่า ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตปีละ 700,000 คนจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมทั้งในมนุษย์และสัตว์ ตัวเลขทำให้เห็นได้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยานั้นสูงกว่าการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 อยู่ถึง 5 เท่า

สถานการณ์จะยังคงแย่หนักลงไปเรื่อยๆ กลุ่มประสานงานระหว่างองค์การสหประชาชาติ (IACG)ว่าด้วยการดื้อยาต้านจุลชีพคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 จะมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยากว่า 10 ล้านคน มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเสียอีก วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์กล่าวว่า “ผู้คนนับแสนๆ คนเสียชีวิตทุกปีจากแบคทีเรียที่ต่อต้านยาปฏิชีวนะ แต่ไม่มีคำเตือนใดๆ จากสังคมเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย”

ยาปฏิชีวนะกว่าสามในสี่ของโลกถูกใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติระบุว่าในบรรดาโรคทั้งหมดที่เกิดขึ้นในมนุษย์ 60% เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์เป็นพาหะและเกือบ 75% ของยาปฏิชีวนะที่ใช้ทั่วโลก ถูกนำมาใช้กับสัตว์ซึ่งเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าอัตราการใช้ยาต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์จะเพิ่มขึ้นถึง 67% ภายในปี 2573
(ขอบคุณภาพประกอบคอลัมน์จาก “We Animal”)
ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทยมีการเลี้ยงสุกรและไก่ในฟาร์มอุตสาหกรรมในสภาพที่แออัดและอยู่ในสภาพที่สุขาภิบาลไม่ดี วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ อธิบายว่า “สัตว์นับล้าน ๆ ชีวิตถูกกักขังอยู่อย่างนี้ตลอดชีวิตในฟาร์มอุตสาหกรรม และหลายต่อหลายครั้ง พวกเขาต้องรับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ได้ป่วย ที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพื่อเร่งให้พวกเขาโตเร็วๆ และป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโรค สัตว์เหล่านี้เกิดอาการดื้อยาเนื่องจากได้รับยาปฏิชีวนะปริมาณต่ำอย่างต่อเนี่องและเชื้อโรคดื้อยาจากเนื้อสัตว์ก็ติดต่อสู่คนผ่านการบริโภค”

ตั้งแต่ปี 2549 สหภาพยุโรปได้สั่งห้ามการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ เช่นเดียวกับในประเทศไทย จากการศึกษาของกลุ่ม ReAct พบว่ากรมปศุสัตว์เริ่มควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์แล้วตั้งแต่ปี 2546 แต่เกษตรกรยังคงไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเท่าที่ควร การสัมภาษณ์จากกลุ่ม ReAct พบว่าเกษตรกรยังคงผสมยาปฏิชีวนะลงไปในอาหารสัตว์เพื่อป้องกันโรคแทนที่ใช้ยาเพียงเพื่อรักษาสัตว์เมื่อสัตว์มีอาการป่วย

(ขอบคุณภาพประกอบคอลัมน์จาก “Andrew Skowron”)
การศึกษาวิจัยอีกฉบับซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร ‘Science’ ในเดือนกันยายน 2562 เปิดเผยว่าแหล่งกำเนิดของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะทั่วโลกนั้นเกิดขึ้นจริงแล้ว โดยโซนหลักที่เป็นอันตรายนั้นอยู่ไม่ห่างจากประเทศไทย เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน, และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนาม ซึ่งในขณะนี้มีกำลังมีการก่อตัวเกิดขึ้นอีกใน เคนยา โมรอคโค อุรุกวัย บราซิลตอนใต้ อินเดียตอนกลาง และตอนใต้ของจีน
การวิจัยพบว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ในปริมาณสูง ทำให้ฟาร์มปศุสัตว์มีความหนาแน่นมากขึ้นไปด้วย วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ กล่าวว่า “นี่อาจทำให้เกิดวิกฤตการสาธารณสุขได้ เนื่องจากภูมิภาคเหล่านี้มีทรัพยากรไม่เพียงพอในการรับมือกับการระบาด”

องค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากลหรือ ‘ซิเนอร์เจีย แอนิมอล’ รณรงค์เชิญชวนบริษัทเอกชนต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในความรับผิดชอบมากขึ้น และใช้วัตถุดิบจากฟาร์มอุตสาหกรรมให้น้อยลงในห่วงโซ่อุปทาน ปัจจุบันองค์กรฯ ได้รวบรวมรายชื่อคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ และมีผู้บริโภคเอเชียเกือบ 17.000 คนแล้วที่มาลงชื่อเพื่อขอให้แมคโดนัลด์ประกาศนโยบายใช้ไข่จากฟาร์มปลอดกรงและใช้มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ซึ่งห้ามการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องในฟาร์ม วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ กล่าวสรุปว่า “เราทุกคนร่วมกันสร้างโลกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับมวลมนุษยชาติและสุขภาพของมนุษย์ได้ จึงขอเชิญชวนให้มาช่วยกัน”

เกี่ยวกับซิเนอร์เจีย แอนิมอล
ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล เป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากล ปฏิบัติงานในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสัตว์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เราได้รับการจัดอันดับโดย Animal Charity Evaluators (ACE) ให้เป็นหนึ่งในองค์กรพิทักษ์สัตว์ที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
จันจรี เชียรวิชัย
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสาร – ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 815353363