เมื่อเร็ว ๆ นี้ หัวเว่ยได้จัดงานสัมมนา X Labs ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีบริษัทชั้นนำระดับโลกและโอเปอเรเตอร์รายใหญ่เข้าร่วมงานมากมาย อาทิ อินเทล, จีอี, บอช คอนเนคเต็ด ดีไวซ์ แอนด์ โซลูชั่น, โตชิบา, ฟิลิปส์ ไลท์ติ้ง, Noitom, คอนติเนนทัล, DNP และ CloudMinds หัวเว่ยได้กล่าวถึงรายละเอียดการดำเนินงาน รวมถึงทิศทางการค้นคว้าวิจัย แผนความร่วมมือ และการจัดหาทรัพยากร
ในอนาคต บริการต่างๆ จะดำเนินการผ่านโมบายล์แอพพลิเคชั่น จากทั้งหมดจะมีบริการ 3 หมวดใหญ่ๆ ที่มีโอกาสพัฒนาต่อยอดต่อไปได้อีกมากมาย คือ วิดีโอ การใช้งานภายในครัวเรือน และอุตสาหกรรมแนวตั้ง ซึ่งหากผู้ให้บริการโครงข่ายหวังที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้ ก็จำต้องสร้างเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยแอพพลิเคชั่น และช่วยกันเสริมสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมแบบเปิดด้วย
ศูนย์วิจัย X Labs ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับนวัตกรรมแบบเปิด ที่ช่วยส่งเสริมความร่วมมือเชิงบูรณาการในอุตสาหกรรมให้ดียิ่งขึ้น แพลตฟอร์มดังกล่าวจะเป็นเสมือนแหล่งรวมตัวของผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี พันธมิตรอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการ เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางการใช้งานโมบายล์ในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวิดีโอ กลุ่มการใช้งานภายในครัวเรือน และอุตสาหกรรมแนวตั้ง โดยตั้งเป้าขับเคลื่อนนวัตกรรมในภาคธุรกิจและเทคโนโลยี
มร. ปีเตอร์ โจว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ของหัวเว่ย ไวร์เลส โซลูชั่น กล่าวว่า “ในปี 2017 X Labs จะเน้นการวิจัยในสี่ด้านหลักๆ ได้แก่ โดรนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต, คลาวด์ VR/AR, หุ่นยนต์ไร้สาย และยานยนต์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยจะเป็นโครงการที่ทำร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลก เราจะสำรวจในจุดที่ยังไม่มีใครทำ เพื่อขยายขอบเขตของเทคโนโลยีไร้สายพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ และเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ในตลาด”
• โดรนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Connected Drone)
อุปกรณ์โดรนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ด้านโลจิสติกส์ การปกป้องดูแลพืชพรรณ และการใช้งานด้านสื่อ หนึ่งในทิศทางการวิจัยอันดับแรกๆ ที่ X Labs ต้องการจะมุ่งเน้นก็คือ การใช้เครือข่ายไร้สายเพื่อควบคุมการบินของอากาศยานไร้คนขับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการปฏิบัติงานอัตโนมัติในระยะไกล
• คลาวด์ VR/AR (Cloud VR/AR)
เทคโนโลยี VR และ AR อยู่ในขั้นที่จะนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว การนำระบบคลาวด์มาใช้งานสำหรับบริการและคอนเทนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับขั้นตอนนี้ และความต้องการใช้เครือข่ายโมบายล์จะเปิดโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมในการก้าวเข้ามามีบทบาท
• หุ่นยนต์ไร้สาย (Wireless Robotics)
การเชื่อมต่อผ่านระบบไร้สายสำหรับสมาร์ทโรบอตในโรงงานจะเป็นตัวจักรสำคัญในการผลิตด้วยระบบอัจฉริยะ นอกจากนี้ ในแง่ของผู้บริโภค การที่ประชากรมีอายุยืนยาวและการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น หุ่นยนต์ใช้งานภายในบ้านจะกลายเป็นสมาร์ทดีไวซ์ชิ้นใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ยุคของสมาร์ทโฟนที่ใกล้จะถึงจุดอิ่มตัว
• ยานยนต์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Connected Vehicles)
X Labs จะเน้นการเสริมประสิทธิภาพการเชื่อมต่อให้กับแพลตฟอร์มของยานยนต์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลกับยานยนต์อื่น รวมทั้งประสิทธิภาพด้านคอมพิวติ้งที่ล้ำหน้าโดยอาศัยเครือข่ายโมบายล์แห่งอนาคต ส่วนเป้าหมายปลายทางคือ การพัฒนาโซลูชั่นแบบครบวงจร ที่จะปูทางสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สำหรับวงการยานยนต์และไอซีที
X Labs จะใช้เป็นแพลตฟอร์มด้านการติดต่อสื่อสารและความร่วมมือทั่วโลก โดยมีข้อมูลป้อนเข้าและการแสดงผลข้อมูลเชิงโครงสร้างจำนวนมาก รวมถึงการอภิปรายด้านเทคนิค การเสวนา และรายงานต่างๆ ในแวดวง ซึ่งทำขึ้นเพื่อสร้างไอเดียใหม่ๆ เปิดโอกาสให้พันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกันเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เมื่อผสานความร่วมมือกัน เราจะสามารถกำหนดทิศทางการใช้งานแอพพลิเคชั่นได้กว้างยิ่งขึ้น พร้อมผลักดันไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.wirelessxlabs.com
-จบ-
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย ผู้นำทางด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มุ่งมั่นในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการสื่อสารที่ดีทั่วโลก ด้วยการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบ สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมแห่งข้อมูล และทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรม หัวเว่ยนำเสนอโซลูชั่นด้านไอซีทีแบบครบวงจร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ลูกค้าในกลุ่มเครือข่ายโทรคมนาคมและเอ็นเตอร์ไพรส์ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ และระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ด้วยกลยุทธ์การสร้างสรรค์นวัตกรรมตามความต้องการของลูกค้าและสัมพันธภาพที่ดีกับพันธมิตร ปัจจุบัน พนักงานกว่า 180,000 คนทั่วโลกของหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ กลุ่มลูกค้าองค์กรและผู้บริโภคทั่วไป ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นไอซีทีของหัวเว่ยได้รับการติดตั้งในกว่า 170 ประเทศในทุกภูมิภาคของโลก และให้บริการประชากรกว่าหนึ่งในสามของโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com
ติดตามเราได้ที่
http://www.linkedin.com/company/Huawei
Tweets by Huawei
http://www.facebook.com/Huawei
http://www.google.com/+Huawei
http://www.youtube.com/Huawei