หัวเว่ย เผยแนวคิดใหม่ด้านการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศ ปูทางสู่การสร้างโลกอัจฉริยะ 2030

0
435
image_pdfimage_printPrint

– ครั้งแรกกับการถ่ายทอดสดการประชุม Industrial Digital Transformation Conference ทางออนไลน์ทั่วโลก

การประชุม Mobile World Congress (MWC) Barcelona 2020 ได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ดังกล่าว หัวเว่ยจึงได้จัดการประชุมระดับโลก Industrial Digital Transformation Conference ผ่านการถ่ายทอดสดทางออนไลน์ โดยได้เชิญแขกผู้มีเกียรติจากทั่วโลกซึ่งรวมถึง สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และอิตาลีเข้าร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Hi, Intelligent World” เพื่อเผย 5 แนวโน้มหลักที่จะนำไปสู่การสร้างโลกอัจฉริยะในช่วงเวลา 10 ปีจากนี้ รวมทั้งนำเสนอการสร้างรากฐานที่พัฒนาต่อยอดขึ้นจากการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ ซึ่งรากฐานดังกล่าวจะสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมือง การผลิต พลังงาน การเงิน การขนส่ง และอีกมากมาย โดยได้รับเกียรติจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มบริษัทท่าอากาศยานเซินเจิ้น และลูกค้ารายอื่น ๆ ของหัวเว่ย มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ในอนาคต การไหลของสารสนเทศโดยเทคโนโลยี ICT รูปแบบใหม่ ๆ เช่น 5G, AI และ IoT จะช่วยให้เราสร้างรากฐานซึ่งเป็นจุดกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง กล่าวคือ โลกในปี 2030 จะเป็นโลกอัจฉริยะ และ ณ จุดเริ่มต้นของทศวรรษใหม่นี้ หัวเว่ยเชื่อว่าโลกอัจฉริยะ 2030 จะประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ ได้แก่:

1. ในระดับรัฐบาล รัฐบาลดิจิทัลที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ตอบรับกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น

2. ในระดับเศรษฐกิจ หุ่นยนต์อัจฉริยะจะเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของกำลังแรงงานในอนาคต

3. ในระดับสังคม เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้การกระจายการศึกษา บริการสุขภาพ และทรัพยากรสาธารณะอื่น ๆ เป็นไปอย่างเสมอภาคและเหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางดิจิทัล

4. จากมุมมองทางวัฒนธรรม ประชาชนจะเป็นอิสระจากการใช้แรงงานหนักและงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย และจะหันไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจมากกว่าคุณค่าทางวัตถุ

5. จากมุมมองทางสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายจะช่วยให้เราตรวจสอบและควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะเป็นการช่วยปกป้องคุ้มครองโลก

หม่า เยว่ รองประธานกลุ่มธุรกิจเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ว่า “ในช่วงทศวรรษหน้า เราจะได้เห็นการพัฒนา ICT รูปแบบใหม่อย่างรวดเร็ว หัวเว่ยเชื่อว่าการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศใหม่จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับโลกอัจฉริยะในปี 2030 การสร้างเครือข่ายความเร็วสูงระดับ ultra-broadband โดยใช้ 5G, Wi-Fi 6 และการสื่อสารควอนตัม จะเป็นสะพานเชื่อมโลกกายภาพและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานสำหรับโลกอัจฉริยะ”

นายหม่ากล่าวต่อไปว่า “ระบบประมวลผลแบบใหม่จะนำเสนอโซลูชันแบบฟูลสแตกสำหรับทุกสถานการณ์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ชิปในระดับ bottom-layer chips ตลอดจนถึงอัลกอริทึมในระดับ upper-layer อีกทั้งครอบคลุมตั้งแต่ผู้บริโภคไปจนถึงธุรกิจ ซึ่งถือเป็นแกนหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่โลกอัจฉริยะ ส่วนแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ผสมผสานและแบ่งปันกันนั้น จะมีประสิทธิภาพสูงและเปิดกว้าง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถมุ่งเน้นไปที่ความได้เปรียบหรือจุดแข็งของตนเอง รวมไปถึงนวัตกรรมการบริการ แพลตฟอร์มแบบใหม่จึงนับว่ามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขณะที่ระบบนิเวศใหม่นั้น พัฒนาขึ้นโดยอิงจากกลยุทธ์ สถาปัตยกรรม นโยบาย และการดำเนินงาน (Strategy, Architecture, Policy, and Operations (SAPO)) ขององค์กรธุรกิจเป็นหลัก เพื่อนำเสนอความเชี่ยวชาญรอบด้านที่รวมและบูรณาการทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันในเชิงลึก พร้อมนำไปสู่การส่งมอบโซลูชันธุรกิจที่ครอบคลุมและมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง”

โลกอัจฉริยะ 2030 สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องปฏิรูปอุตสาหกรรมให้เป็นดิจิทัลในทุกแง่มุม หัวเว่ยสั่งสมประสบการณ์อย่างกว้างขวางในการช่วยให้รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม อาทิ การขนส่ง การเงิน และพลังงานไฟฟ้า ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลทั้งปัจจุบันและอนาคต ผ่านทางการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ ปัจจุบัน เมืองต่าง ๆ มากกว่า 700 เมืองทั่วโลก และบริษัท 228 แห่งในทำเนียบ Fortune Global 500 ซึ่งรวมถึง 58 บริษัทใน Fortune Global 100 ต่างเลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ดร. อาลาดิน ดี ริลโล รองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กล่าวว่า:

“เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนทะยานขึ้นแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในปี 2019 และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเป็นกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 สำหรับรัฐบาล ธุรกิจ และสังคม การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นแนวทางที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับเศรษฐกิจและธุรกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอาเซียนต่อไป ปัจจุบันจึงได้มีการผลักดันแผนริเริ่มใหม่ ๆ เช่น การพัฒนาระบบนิเวศ 5G กรอบการทำงานเกี่ยวกับบริการโรมมิ่งระหว่างประเทศ การผลิตอัจฉริยะ และเครือข่ายนวัตกรรมอาเซียน แต่การที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น เรายังต้องการการสนับสนุนจากภาคเอกชนและผู้เล่นในตลาดอย่าง หัวเว่ย เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เป็นมิตรต่อการพัฒนานวัตกรรม และรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ big idea และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”

จาง หลี่เสวียน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายดิจิทัล กลุ่มบริษัทท่าอากาศยานเซินเจิ้น (SAG) พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการที่ SAG พลิกโฉมสู่ดิจิทัลและสร้างสนามบินอัจฉริยะ การพลิกโฉมสนามบินสู่ความเป็นดิจิทัลเป็นโครงการที่ซับซ้อน แต่ด้วยวิสัยทัศน์ “One Airport, One Dream” ทาง SAG จึงคิดค้นแนวทางที่เป็นระบบในการสร้างสนามบินดิจิทัลเต็มรูปแบบพร้อมมอบประสบการณ์การใช้บริการที่โดดเด่น กลุ่มบริษัทเลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในการพลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัล ผ่านการใช้แพลตฟอร์ม Huawei Horizon Digital Platform ที่มีการทำงานร่วมกันของคลาวด์และเครือข่าย

แพลตฟอร์มดังกล่าวผนวกรวมทรัพยากรด้าน ICT ทั้ง 6 รูปแบบ ได้แก่ IoT, big data, AI, video cloud, GIS และ ICP เพื่อสร้างระบบบริการที่ครอบคลุม 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ความปลอดภัย การควบคุมการปฏิบัติงาน บริการ และการจัดการ โดยการบูรณาการการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสนามบินแบบมุมมองเดียวได้สร้างประโยชน์มากมาย เช่น เพิ่มความตรงต่อเวลาของเที่ยวบินเป็น 87% การจัดแถวอัจฉริยะเสร็จเรียบร้อยภายในไม่กี่วินาที และการลดจำนวนผู้โดยสารรถรับส่ง 4 ล้านคนต่อปี ทั้งหมดนี้ทำให้สนามบินเซินเจิ้นกลายเป็นองค์กรแรกของโลกที่เผยแพร่กรณีศึกษาการใช้งานบนแพลตฟอร์ม New Experience in Travel and Technologies (NEXTT) ขณะที่ในส่วนของมุมมองด้านความปลอดภัยนั้น ระบบใหม่นี้จะมอบการควบคุมอัจฉริยะและแม่นยำมากขึ้นสำหรับอาคารผู้โดยสาร ลานบิน พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ขนถ่ายสินค้า อีกทั้งโซลูชั่นจดจำใบหน้ายังปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจสอบความปลอดภัยเพิ่มขึ้น 60% ลดความเสี่ยงกรณีที่บัตรประจำตัวประชาชนของผู้โดยสารสูญหายจากการนำออกมาตรวจสอบ และตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของผู้โดยสารชั้นธุรกิจ

เฉิน คุนเต๋อ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศของธนาคารไชน่า เมอร์แชนท์ แบงก์ และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Chief Digital Transformation Officer ฝ่ายบริการทางการเงินระดับโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมธนาคารของจีนว่า ในอนาคต “แอป” จะกลายเป็นระบบนิเวศทีผนวกรวมลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กร และทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่นำบริการของธนาคารเข้าสู่โลกดิจิทัล แนวคิดเดิมของการพลิกโฉมธนาคารสู่ความเป็นดิจิทัลนั้น เป็นเรื่องของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีเพื่อแทนที่ระบบการใช้งานหลัก ๆ เท่านั้น อย่างไรก็ดี เขาเชื่อว่าการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลที่แท้จริงเป็นกระบวนการที่ผนวกรวมทีมไอทีและทีมธุรกิจเข้าด้วยกัน และการดำเนินการไปทีละขั้นตอนอย่างรวดเร็ว การทำซ้ำวนไปวนมาอย่างรวดเร็ว และความว่องไวของเทคโนโลยี จะทำให้ธุรกิจเกิดความคล่องตัว

ในอนาคต 5G จะขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคัญในแง่ของขีดความสามารถของแอป ซึ่งจะช่วยนำบริการของธนาคารเข้าสู่โลกดิจิทัล ช่วยให้สาขาและผู้จัดการบัญชีสร้างความผูกพันกับลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กรได้อย่างสม่ำเสมอมากขึ้น เขายกตัวอย่างกรณีของไชน่า เมอร์แชนท์ แบงก์ ว่า ธนาคารได้สร้างแพลตฟอร์มมือถือและคลาวด์ส่วนตัว และเปิดฟังก์ชั่นรับฝากหรือโฮสต์ เพื่อจัดการกับอุปกรณ์และผู้ใช้งาน ตลอดจนควบคุมความปลอดภัยของเครือข่ายมือถือ นอกจากนี้ ยังสร้างแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้าที่มีสถาปัตยกรรมแยกออกจากกัน รวมทั้งนำ AI และแมชชีนเลิร์นนิงมาใช้กับทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ เพื่อยกระดับการควบคุมความเสี่ยงด้านเครดิต นอกจากนี้ ยังใช้คลาวด์สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน และย้ายแอปพลิเคชันจากโฮสต์ไปสู่คลาวด์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ของลูกค้า และสนับสนุนนวัตกรรมการบริการที่ต่อเนื่อง

หลิว เจียนหมิง ผู้อำนวยการคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์สมาร์ทกริด (Smart Grid Technology and Equipment) ประจำศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (MIIT) ของจีน เชื่อว่า ระบบพลังงานในอนาคตจะหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับพลังงานดั้งเดิมได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคพลังงานไฟฟ้ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ระบบพลังงานในอนาคตจึงจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ “การเชื่อมต่อสากล การโต้ตอบอัจฉริยะ ความยืดหยุ่นสูง ตลอดจนการควบคุมและความปลอดภัยที่มั่นคง”

ขณะเดียวกัน คุณหลิวยังเล่าถึงการดำเนินการในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าของจีนอีกหลายกรณี โดยในปี 2019 ทาง Qinhai Green Energy Cloud Network Control Platform and Big Data Center ได้สนับสนุนให้มณฑลชิงไห่ของจีนใช้พลังงานสะอาด 100% ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน และเมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับบริการขนส่งและการส่งไฟฟ้า เทคโนโลยี AI ยังได้ช่วยยกระดับประสิทธิภาพของการตรวจสอบ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถอัจฉริยะของการค้นหาอุปกรณ์ได้มากถึง 90% ปัจจุบัน ICT ได้เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานรายวันของโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จไฟสาธารณะ ซึ่งรองรับการให้บริการรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 500,000 คันในประเทศจีน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 6.18 ล้านคันภายในสิ้นปีนี้

ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ดึงดูดความสนใจจากทั่วโลก บริษัทสเตท กริด คอร์ปอเรชั่น ออฟ ไชน่า (SGCC) สาขามณฑลเจ้อเจียง มณฑลเจียงซู และมณฑลเสฉวน ได้วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงานไฟฟ้าของธุรกิจที่เริ่มกลับมาเปิดดำเนินงาน โดยอาศัยบิ๊กดาต้าจากโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งการวิเคราะห์ดัชนีดังกล่าวช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นเห็นถึงภาพรวมของการกลับมาเปิดดำเนินการผลิตของภาคธุรกิจ

เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนายุคอัจฉริยะที่น่าทึ่งนี้ กลยุทธ์ “Platform + AI + Ecosystem” ของกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย มุ่งเน้นความร่วมมือกับพันธมิตรในอีโคซิสเต็ม รัฐบาลและองค์กร เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับโลกอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ ตลอดจนเพื่อนำทางสู่ยุคอัจฉริยะที่สดใส

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประชุม Huawei Industrial Digital Transformation Conference ได้ที่:

https://e.huawei.com/topic/mwc2020/en/index.html?ic_medium=hwdc&ic_source=ebg_EEBGHQ205001G&source=ebg_banner&ic_content=mwc2020_cn

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200224/2728357-1
คำบรรยายภาพ: หม่า เยว่ รองประธานกลุ่มธุรกิจเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย