หัวเว่ย เผยกลยุทธ์บริการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจสู่ระบบคลาวด์

0
351
image_pdfimage_printPrint

– ทุ่มเงิน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการบริการใน 5 ปีข้างหน้า

ที่งาน HUAWEI CONNECT 2017 หัวเว่ยได้ประกาศเปิดตัวกลยุทธ์บริการสำหรับองค์กร ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบคลาวด์ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์แก่อุตสาหกรรม และเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยทุ่มเงินลงทุน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาบริการคลาวด์ระดับมืออาชีพ แพลตฟอร์มคลาวด์ และระบบนิเวศคลาวด์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะมอบโซลูชั่นบริการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์แบบครบวงจรให้แก่ลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้าง ใช้ และจัดการแพลตฟอร์มคลาวด์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริการอัจฉริยะเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์สำหรับองค์กร

ซุน เหมาลู่ ประธานฝ่ายการบริการทางเทคนิค กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทหัวเว่ย กล่าวว่า “ด้วยการถือกำเนิดขึ้นของยุค “Cloud Only” หัวเว่ยจึงเลือกใช้กลยุทธ์บริการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์แบบระยะยาวเพื่อสนับสนุนการก้าวสู่ระบบคลาวด์ของลูกค้าองค์กร ซึ่งกลยุทธ์บริการของเรานั้นตั้งอยู่บนแนวคิด ‘Grow with the Cloud’ และการเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม

“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริการองค์กรของหัวเว่ยจะมุ่งเน้น 4 ขอบเขตสำคัญได้แก่ นวัตกรรมคลาวด์ การสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล การสนับสนุนปฏิบัติการอัจฉริยะ และการช่วยขับเคลื่อนแก่ธุรกิจ นอกจากนี้ หัวเว่ยจะเดินหน้าเพิ่มการลงทุนด้านการพัฒนาโซลูชั่นบริการและศูนย์บริการระดับโลก รวมทั้งเครื่องมือ แพลตฟอร์ม และห้องปฏิบัติการทดสอบสำหรับบริการระดับมืออาชีพเพื่อผลักดันกลยุทธ์ดังกล่าว โดยในอีก 5 ปีข้างหน้า เราจะขยายขอบเขตไปที่การวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสำหรับอุตสาหกรรม เพิ่มงบประมาณการลงทุนมากกว่า 50% ต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น หัวเว่ยจะนำเสนอโครงการรับรองรูปแบบใหม่เพื่อฝึกฝนสถาปนิกไอซีที นักพัฒนาไอซีที และผู้เชี่ยวชาญไอซีทีในอุตสาหกรรมเฉพาะ เพื่อตอบสนองความสามารถด้านไอซีทีขององค์กรในยุคคลาวด์ ซึ่งคาดว่าจะมีมืออาชีพด้านไอซีทีในอุตสาหกรรมเฉพาะและมืออาชีพด้านระบบคลาวด์มากกว่า 150,000 คนที่ได้รับใบรับรองจากหัวเว่ยภายในปี 2021

โซลูชั่นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์ในอุตสาหกรรมแบบครบวงจร

เมื่อธุรกิจเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่ระบบคลาวด์ พวกเขาจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ด้านกลยุทธ์ การวางแผน การวิเคราะห์ความต้องการ การบูรณาการธุรกิจ การประเมินระบบแอปพลิเคชั่น การเลือกสรรเทคโนโลยี การออกแบบกลยุทธ์ การติดตั้ง การจัดการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) และความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งนายสวี่ จิงปิน ผู้อำนวยการฝ่ายบริการเทคนิคไอที กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า “หัวเว่ยมีผลงานเป็นที่ยอมรับในด้านการส่งมอบโซลูชั่นคลาวด์ระดับอุตสาหกรรม โดยได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาบริการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์อย่างครอบคลุม ประกอบด้วยการให้คำปรึกษา ประเมิน วางแผนและออกแบบ การย้าย การแก้ไขหาระบบสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ (DR) ความปลอดภัย และการบำรุงรักษา เนื่องจากความต่อเนื่องของธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นระหว่างการเคลื่อนย้ายคลาวด์ที่ซับซ้อน หัวเว่ยจึงได้กำหนดกระบวนการเคลื่อนย้ายอย่างเชี่ยวชาญทั้งหมด 4 ระยะ 17 ขั้นตอน อีกทั้งยังมีเครื่องมือเคลื่อนย้ายแบบมืออาชีพ ที่ช่วยให้ลูกค้ามากกว่า 1,000 รายสามารถเคลื่อนย้ายธุรกิจสู่คลาวด์ได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ”

หัวเว่ยเตรียมลงทุน 500 ล้านดอลลาร์ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาบริการและความสามารถในการรับรองที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์ เพื่อช่วยอุตสาหกรรมต่าง ๆ โอนย้ายสู่ระบบคลาวด์ได้อย่างสบายใจไร้กังวล

เพื่อช่วยเหลือลูกค้าระหว่างการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบคลาวด์ หัวเว่ยจะลงทุนมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อพัฒนาบริการและความสามารถในการรับรองที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์ให้แก่บริการสำหรับองค์กรของหัวเว่ย โดยในประเทศจีนนั้น หัวเว่ยได้ก่อตั้งห้องแล็บรับรองแผนและการออกแบบอุตสาหกรรม ห้องแล็บเพื่อการโอนย้ายระบบและกู้คืนระบบสารสนเทศที่ประสบปัญหาอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ไปจนถึงศูนย์รับรองเมืองปลอดภัย และศูนย์รับรองบริการทางการเงิน

เลสลี โรเซนเบิร์ก ผู้อำนวยการ IDC Research กล่าวว่า “หัวเว่ยลงทุนเป็นจำนวนมากในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาผ่านการก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม ความแตกต่าง และการส่งมอบบริการของตนเอง บริษัทมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านบริการ รวมถึงช่องทางเข้าถึงทั่วโลกเพื่อการให้คำปรึกษาและการมีส่วนร่วมด้านการบูรณาการอย่างสม่ำเสมอ ในการประเมินเมื่อไม่นานมานี้ของ IDC MarketScape: Worldwide Network Consulting Services 2017 Vendor Assessment หัวเว่ยถูกจัดให้เป็น ผู้เล่นหลัก (Major Player) ด้านความสามารถระดับโลกและความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ จากการสำรวจผู้ใช้งานปลายทางพบว่า ผู้ใช้งานได้กล่าวถึงหัวเว่ยว่าสามารถช่วยลดต้นทุนการปฏิบัติงานและเพิ่มความปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถพึ่งพาได้ ส่งมอบคุณภาพและความสามารถในการปรับตัวที่ตรงกับความต้องการและข้อกำหนดของลูกค้า”

Huawei Enterprise Service ได้จัดตั้งศูนย์บริการระดับโลกในจีน โรมาเนีย และเม็กซิโก และมีศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคระดับภูมิภาคและท้องถิ่นอีก 12 แห่ง ซึ่งศูนย์ทั้ง 15 แห่งนี้คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันแก่ 170 กว่าประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือทางเทคนิค การปฏิบัติงานเครือข่ายระยะไกล การส่งมอบระยะไกล การให้ความช่วยเหลือด้านการตลาดและการเข้าถึงลูกค้า โดยในปีที่ผ่านมา บริการคลาวด์ของหัวเว่ยได้ให้บริการลูกค้ากว่า 18,000 ราย และจนถึงขณะนี้มีบริษัท 197 แห่งที่ติดอันดับฟอร์จูน 500 และ 45 บริษัทในฟอร์จูน 100 เลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ทั้งนี้ HUAWEI CONNECT ถือเป็นงานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรม ICT ทั่วโลก จัดขึ้น ณ Shanghai New International Expo Centre ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2017 ภายใต้หัวข้อ “Grow with the Cloud” พร้อมทำหน้าที่เป็นเวทีระดับโลกสำหรับสำหรับความร่วมมือที่เปิดกว้าง โดยหัวเว่ยจะร่วมมือกับทั้งลูกค้าและพันธมิตรในการสำรวจโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ ผ่านการพลิกโฉมธุรกิจสู่ดิจิทัล รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.huawei.com/en/events/huaweiconnect2017/