หัวเว่ย เปิดตัวโซลูชันเรือธงด้านแคมปัสเน็ตเวิร์กและดาต้าเซ็นเตอร์ มุ่งสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า

0
626
image_pdfimage_printPrint

วันนี้ ที่งานประชุม Industrial Digital Transformation Conference ซึ่งมีการถ่ายทอดสดทางออนไลน์ หัวเว่ย ได้เปิดตัวโซลูชั่นเรือธงใหม่ล่าสุดสำหรับตลาดองค์กร ได้แก่ HiCampus สำหรับเครือข่ายองค์กร และ HiDC สำหรับศูนย์ข้อมูล โดยหัวเว่ยได้อาศัยความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี 5G เครือข่ายออปติก อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (IP) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจควบคู่กันไป เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าบนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

นายซุน ฝูโหย่ว รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า “เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเปลี่ยนโฉมโลก และเป็นประโยชน์สำหรับทุกย่างก้าวของชีวิต อย่างไรก็ดี เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรมีความซับซ้อนและคาดเดาไม่ได้มากขึ้น ทุกองค์กรจึงควรรวมการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management (BCM)) ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในแผนการพัฒนาระยะยาวของทุกองค์กร และควรรวมระบบ ICT ขององค์กรเข้าในแผนงาน BCM เนื่องจากระบบเหล่านี้เป็นเครื่องมือการผลิตและสินทรัพย์ที่สำคัญ ขณะเดียวกัน นอกจากเป็นผู้สนับสนุนหลักในการกำหนดมาตรฐาน 5G ทั่วโลก และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเครือข่ายออปติกแล้ว หัวเว่ยยังติดอันดับ 1 ในฐานะผู้สนับสนุนมาตรฐาน Wi-Fi 6 และเป็นผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวในอุตสาหกรรมที่สามารถให้บริการโซลูชัน AI แบบฟูลสแตกสำหรับทุกสถานการณ์ ครอบคลุมด้านคลาวด์ เอดจ์ และอุปกรณ์ เราผนวกรวมเทคโนโลยีที่เป็นแกนหลักในสาขาต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น 5G plus IP, IP plus optical และ IP plus AI เพื่อพัฒนาโซลูชันนวัตกรรมที่จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนงานด้านเทคโนโลยีของโลกธุรกิจ โดยในปี 2020 นี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชันเรือธง 2 โซลูชันด้วยกัน ได้แก่ HiCampus สำหรับเครือข่ายองค์กร และ HiDC สำหรับศูนย์ข้อมูล รวมทั้งยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ดาวเด่น 4 รายการ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ในตระกูล AirEngine Wi-Fi 6 และ OceanStor Dorado ตลอดจน OptiXtrans DC908 และ SmartLi UPS ด้วยเป้าหมายที่จะตอบสนองลูกค้าที่ต้องการใช้งานเครือข่ายความเร็วสูง รวมถึงการทำงานที่เป็นอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าทางธุรกิจที่โดดเด่นให้แก่ลูกค้า”

โซลูชัน Huawei HiCampus ช่วยสร้างเครือข่ายแคมปัสสำหรับองค์กรยุคใหม่

เครือข่ายแคมปัสคือระบบเครือข่ายสำหรับผู้ใช้งานภายในองค์กร ปัจจุบันเครือข่ายแคมปัสขององค์กรกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น เข้าใช้งานได้ยาก ช้า หรือไม่เสถียร กินไฟสูง และไม่รองรับการทำงานเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี โซลูชัน Huawei HiCampus ที่นายซุน ฝูโหย่ว เปิดตัวในวันนี้ มีคุณสมบัติเด่น 3 ประการที่จะช่วยรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ได้แก่:

1. หัวเว่ยแนะนำเทคโนโลยี 5G RF, อัลกอริทึม 5G อาทิ multi-system co-scheduling, Smart Antenna และเครือข่าย radio access network ทีกำหนดโดยซอฟต์แวร์ รวมถึงแนวคิดการสร้างเครือข่าย 5G เข้าสู่แวดวง IP โดยผลิตภัณฑ์ AirEngine Wi-Fi 6 ของหัวเว่ย ซึ่งมีเทคโนโลยี 5G และ IP เป็นขุมพลังขับเคลื่อนนั้น นำเสนอประสบการณ์การสร้างเครือข่าย 100 Mbit/s ที่เชื่อมต่อตลอดเวลา ทั้งยังเสถียรที่สุดและเร็วที่สุดในโลก คุณสมบัติเด่นของ AirEngine Wi-Fi 6 ประกอบด้วย อัตราการส่งข้อมูลความเร็วสูงสุด 10 Gbit/s ความหน่วง 10ms และรัศมีความครอบคลุมที่เหนือกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม 20% เครือข่ายแคมปัสคุณภาพสูงที่เป็นระบบไร้สายโดยสมบูรณ์นี้ มีประสิทธิภาพเหนือกว่าเครือข่ายแคมปัสแบบเดิม ๆ ที่ต้องเดินสายเครือข่ายร่วมกับการทำงานแบบไร้สายเป็นอย่างมาก

2. โซลูชันเครือข่าย Campus OptiX ทำให้เครือข่ายแคมปัสมีการเชื่อมต่อแบบออปติกโดยสมบูรณ์ผ่านทางสถาปัตยกรรม IP plus POL ซึ่งนอกจากความยืดหยุ่น การประมวลผลที่ทรงพลัง ระบบการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ และงานด้าน O&M ที่เป็นอัจฉริยะแล้ว โซลูชันนี้ยังรวมข้อดีอื่น ๆ ของเทคโนโลยีออปติกด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดพลังงาน ความไม่ยุ่งยาก และประสิทธิภาพสูง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในสนามบิน สถาบันการศึกษา โรงแรม สำนักงาน และสถานการณ์การใช้งานอื่น ๆ ทั้งนี้ จากการประเมินโซลูชันเครือข่ายอย่างครอบคลุมโดย Ovum พบว่า โซลูชัน IP plus POL ของหัวเว่ย มีประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือกว่าโซลูชันแคมปัส layered switching แบบเดิมเป็นอย่างมาก

3. แพลตฟอร์ม Huawei Horizon Digital Platform ยกระดับเครือข่ายแคมปัสจาก single-scenario intelligence เป็น overall campus intelligence โดย IMOC และ NCE เป็นโซลูชัน O&M อัจฉริยะสำหรับเครือข่ายองค์กรอัจฉริยะ ด้วยความที่เป็นระบบแบบเปิด และสามารถตรวจสอบได้แบบฟูลสแตก ซึ่งช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 20% ยกระดับประสบการณ์การใช้งาน 15% เพิ่มประสิทธิภาพ O&M ได้อีก 30% และลดเวลาในการหาจุดบกพร่องเหลือไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงจากเดิมที่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง ๆ

โซลูชัน Huawei HiDC ประกอบด้วยสถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และตัวกลาง

ปริมาณข้อมูลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 33 เซตตะไบต์ (ZB) ในปี 2018 เป็น 180 ZB ในปี 2025 ซึ่งหากเป็นไปตามนี้ ระบบข้อมูลแบบเดิมจะเผชิญกับปัญหาติดขัดด้านสถาปัตยกรรมสำหรับการรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผล การจัดการ และการใช้ข้อมูล ในโอกาสนี้ นายวิง คิน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย จึงได้เปิดตัวโซลูชันศูนย์ข้อมูล Huawei HiDC เพื่อช่วยให้ลูกค้าสร้างศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โซลูชันประกอบด้วยสถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และตัวกลางที่ทำให้การหลอมรวมและแบ่งปันข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. สถาปัตยกรรมแบบทรี-อิน-วัน: โซลูชันเครือข่ายศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะ AI Fabric ล่าสุด โดดเด่นด้วยการสูญหายของข้อมูลเป็นศูนย์ โดยใช้อัลกอริทึม iLossless ในการรวมเครือข่าย Ethernet, InfiniBand และ Fiber Channel เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้น 28% และ storage IOPS เพิ่ม 30% โซลูชัน data center interconnection (DCI) นี้ใช้การทำงานประสานกันในรูปแบบของ IP plus optical เพื่อมอบความจุเพิ่มขึ้น 40% และระยะทางในการส่งข้อมูลได้ไกลขึ้น 25% เมื่อเทียบกับผู้จำหน่ายรายอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม โซลูชันนี้ทำให้สามารถรวมการจัดการและทราฟฟิกเครือข่ายเพื่อลดเวลา time-to-market (TTM) และลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ลงมากกว่า 30%

2. เทคโนโลยีที่ช่วยให้การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้บริการในอีก 10 ปีข้างหน้า: อุปกรณ์ CloudEngine 16800 data center switch ใช้พอร์ต 400GE ที่มีความหนาแน่นที่สุดในอุตสาหกรรม เพื่อมอบการส่งสัญญาณความเร็วสูงพิเศษระดับ ultra-high-speed ทั้งยังกระจายความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม และจ่ายไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ลดการใช้พลังงานต่อบิตลง 50% ซึ่งผลิตภัณฑ์ DCI อย่าง Huawei OptiXtrans DC908 รองรับได้ถึง 800 Gbit/s ต่อหนึ่งความยาวคลื่น และรองรับได้มากถึง 220 ความยาวคลื่น ด้วยการใช้เทคโนโลยี Super C+L band ที่พร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต นอกจากนี้ยังติดตั้งใช้งานง่ายมากขึ้นสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอที ด้วยสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ทันสมัย ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเริ่มตั้งแต่ศูนย์จนกระทั่งสร้างเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างกันแบบ ultra-broadband, ultra-simplified ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับองค์กรในยุคของคลาวด์ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เราเตอร์ NetEngine 8000 series ที่ใช้ SRv6 เพื่อให้สามารถเลือกเส้นทางการเชื่อมต่อได้ตามแบนด์วิดท์และความหน่วง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนด SLA ของการใช้งานที่แตกต่างกัน ลดโปรโตรคอลเครือข่าย และอำนวยความสะดวกด้าน O&M โดยปัจจุบันมีการนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์แล้วมากกว่า 20 กรณีทั่วโลก

3. การปฏิวัติวงการแบตเตอรี: อุปกรณ์จ่ายไฟสำหรับศูนย์ข้อมูลได้เข้าสู่ยุคของลิเธียม จากเดิมที่เป็นแบตเตอรีแบบตะกั่วกรด โดย Huawei SmartLi UPS ผสานเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิก ดิจิทัล และอินเทลลิเจนซ์เข้าด้วยกันอย่างไม่มีใครเคยทำมาก่อน เพื่อยืดอายุแบตเตอรีให้สามารถชาร์จได้ถึง 5000 ครั้ง ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานยาวนาน 10-15 ปี จึงช่วยลด TCO ของลูกค้าลงได้อย่างมาก อีกทั้งทำให้การจัดการระบบพลังงานของศูนย์ข้อมูลเป็นระบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์ ขณะที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ของหัวเว่ยอย่าง OceanStor Dorado เป็นระบบ all-flash ซึ่งเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมในแง่ของ IOPS ที่ระดับ 20 ล้าน และรักษาความหน่วงคงที่ที่ต่ำกว่า 0.1ms ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถปลดล็อกศักยภาพจากข้อมูล

กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะหลอมรวมเทคโนโลยีใหม่ ๆ หลากหลายประเภท และใช้การเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับโลกอัจฉริยะ พร้อมขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ปัจจุบัน เมืองต่าง ๆ มากกว่า 700 เมืองทั่วโลก และบริษัท 228 แห่งในทำเนียบ Fortune Global 500 ซึ่งรวมถึง 58 บริษัทใน 100 อันดับแรก ต่างเลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประชุม Huawei Industrial Digital Transformation Conference ได้ที่ https://e.huawei.com/topic/mwc2020/en/

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200225/2729857-1-a
คำบรรยายภาพ: นายซุน ฝูโหย่ว รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200225/2729857-1-b
คำบรรยายภาพ: นายวิง คิน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรซ์ของหัวเว่ย