หัวเว่ย เปิดตัวรายงานใหม่ในหัวข้อ “Design Guide for Campus Wi-Fi Networks in the Wi-Fi 6 Era v1.0” กรุยทางสู่ยุคใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากรแบบดิจิทัล

0
614
image_pdfimage_printPrint

หัวเว่ย ได้เปิดตัวรายงานฉบับใหม่ในหัวข้อ “Design Guide for Campus Wi-Fi Networks in the Wi-Fi 6 Era v1.0” ที่การประชุมสุดยอด Global Education Digital Transformation Summit ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน รายงานดังกล่าวเป็นรายงานแรกที่เข้ามาต่อยอดความรู้ความเข้าใจอันลึกซึ้งของหัวเว่ยในเรื่องเทคโนโลยี 5G ประกอบกับผลงานความสำเร็จของเครือข่ายแคมปัสกว่า 1,000 แห่งในแวดวงการศึกษาทั่วโลก โดยในรายงานฉบับนี้ หัวเว่ยได้กำหนดกรณีขอบเขต Wi-Fi ตัวอย่างไว้ 9 รายการ ทั้งยังได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการวางแผนและออกแบบเครือข่ายระดับ Wi-Fi 6 ในสถาบันการศึกษา ซึ่งไฮไลท์ทั้งหมดเหล่านี้เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ในการสร้างสรรค์กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรแบบดิจิทัลสู่ยุคใหม่

ในรายงานฉบับนี้ หัวเว่ย รับหน้าที่เป็นผู้นำในการนำเสนอแนวปฏิบัติอย่างละเอียด ในการปรับ Wi-Fi 6 ให้สอดรับกับทุกกรณีการใช้งานในสถานศึกษา โดยรายงานดังกล่าวพบว่า เทคนิคทางการศึกษาแบบเสมือนจริงอย่าง Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) นั้น กำลังเข้ามาเปลี่ยนวิธีการที่ผู้เรียนและผู้สอนใช้ในการสื่อสารและมีส่วนร่วม ขณะที่เทคโนโลยีการถ่ายทอดสดและการศึกษาทางไกล ทำให้การบ่มเพาะศักยภาพนั้นเป็นไปในลักษณะที่ตรงกับตัวบุคคลมากขึ้น

ยุคของ Wi-Fi 6 กำลังจะอุบัติขึ้นในไม่ช้า โดยเทคโนโลยีเกิดใหม่กำลังก่อให้เกิดเทคนิคการสอนใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แบนด์วิดท์และเวลาหน่วงไม่ได้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรแบบดิจิทัลอีกต่อไป และในอนาคตอันใกล้นี้ ประสบการณ์การสอนจะมีความหลากหลายและตรงกับตัวบุคคลมากขึ้นทุกหนทุกแห่ง

เพื่อตามให้ทันความก้าวหน้านี้ หัวเว่ย จึงได้เปิดตัวแนวประเมินใหม่ในรายงานดังกล่าว ที่ผนวกรวม Key Performance Indicator (KPI) เข้ากับ Key Quality Indicator (KQI) และเพื่อรองรับกับโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป รวมถึงลักษณะการเข้าถึงของผู้ใช้งานในสถานศึกษาส่วนใหญ่ รายงานฉบับนี้จึงได้กำหนดกรณีการใช้งานตัวอย่างในสถานศึกษาทั้งสิ้น 9 รายการ ได้แก่ ห้องเรียน สำนักงาน ห้องประชุม หอประชุม ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ โรงอาหาร สนามเด็กเล่น และหอพักทั้งแบบปกติและ VR ซึ่งในแต่ละกรณีนั้น หัวเว่ย ได้สรุปและวางมาตรฐานเกี่ยวกับกระบวนการสร้างเครือข่ายระดับ Wi-Fi 6 และข้อกำหนดในการเลือกอุปกรณ์ แนวปฏิบัติเหล่านี้ก่อเกิดขึ้นเป็นข้อเสนอแนะอันหลากหลาย เพื่อรองรับการใช้งานเครือข่ายระดับ Wi-Fi 6 รวมถึงการทำ O&M ทั่วทั้งแวดวงการศึกษา

Huawei Wi-Fi 6 ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G สุดล้ำอย่างสายอากาศอัจฉริยะและการปรับเทียบสัญญานวิทยุ อีกทั้งยังมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับเครือข่ายในวิทยาเขต เพื่อให้สามารถใช้งานในสถานกาณ์ที่ต้องอาศัยแบนด์วิดท์และมีความไวต่อความหน่วงเวลา เช่น ห้องเรียน สำนักงาน และห้องสมุดแบบ VR ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แอคเซสพอยต์ Huawei Wi-Fi 6 นั้น มีความโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีสายอากาศที่มีความหนาแน่นสูง อีกทั้งยังรองรับคลื่นวิทยุและ Spatial Stream ได้สูงสุดในอุตสาหกรรม ข้อได้เปรียบเหล่านี้เป็นข้อดีในอุดมคติสำหรับกรณีที่มีปริมาณการใช้งานสูงพร้อม ๆ กันหลายเทอร์มินัล เช่น ห้องเรียน ห้องประชุม และห้องบรรยาย โดย Huawei Wi-Fi 6 ไม่เพียงแต่จะมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับอาจารย์และนักเรียนทุกที่ทุกเวลาเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้สร้างสรรค์กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น เรียบง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น

ลู่ ฉี รองประธานฝ่ายการตลาดและขายโซลูชั่นของ Huawei Enterprise BG กล่าวว่า สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งบ่มเพาะเทคโนโลยีระดับนวัตกรรมโดยไร้ข้อสงสัย การเปิดตัวรายงาน “Design Guide for Campus Wi-Fi Networks in the Wi-Fi 6 Era v1.0” ฉบับนี้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้มีการใช้ Wi-Fi 6 ในภาคการศึกษา พร้อมนำเทคโนโลยีล้ำสมัยช่วยฟื้นฟูการศึกษา และช่วยพัฒนาคนเก่งได้ดียิ่งขึ้น

หลี่ สิง รองประธานฝ่ายโดเมนเครือข่ายวิทยาเขตประจำกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย เปิดเผยว่า หัวเว่ย เป็นผู้นำอุตสาหกรรมในด้านการนำสินค้า Wi-Fi 6 มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งได้รับการรับรองโดย Tolly Group องค์กรผู้ทดสอบระดับนานาชาติที่มีความน่าเชื่อถือ Tolly ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ Wi-Fi 6 สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ของหัวเว่ย มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ถูกทดสอบเหมือนกัน การสร้างนวัตกรรม Wi-Fi อย่างต่อเนื่อง กำลังช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโดยรวม และก่อให้เกิดเป็นยุคใหม่ของการเปลี่ยนผ่านภาคการศึกษาไปสู่ดิจิทัล

ดาวน์โหลดรายงานฉบับนี้ได้ที่:
https://e.huawei.com/en/material/networking/wlan/b9e4b26048274d5181f9394495c5dee4