1

หัวเว่ย ยกระดับโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการพลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล

ที่งาน HUAWEI CONNECT 2020 หัวเว่ยได้จัดการประชุมสุดยอดในหัวข้อ “เร่งการพลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัลผ่านการเชื่อมต่ออัจฉริยะทุกสถานการณ์” (Accelerating Industry Digital Transformation Through All-Scenario Intelligent Connectivity) ซึ่งหัวเว่ยได้ประกาศที่งานประชุมนี้ว่า บริษัทได้อัปเกรดโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบ ทั้งการปรับโฉมสองแพลตฟอร์ม (ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์) การรังสรรค์สถาปัตยกรรม 3 ชั้นของเครือข่าย IP อัจฉริยะด้วย “ความจุขั้นสูง ประสบการณ์อัจฉริยะ และการขับเคลื่อนอัตโนมัติ” ตลอดจนการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม “four-engines” การเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นอย่างไม่ลดละของหัวเว่ยในการพัฒนาโซลูชั่นที่ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ร่วมกับพันธมิตรและลูกค้า เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการพัฒนาระบบดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม

เครือข่ายการสื่อสารข้อมูลมีวิวัฒนาการ โดยค่อยๆ พัฒนาจากเครือข่ายแบบ IPv4 สำหรับการโต้ตอบระหว่างคนกับเครื่องจักรในยุค IP ไปเป็นเครือข่าย MPLS (multiprotocol label switching) สำหรับการโต้ตอบระหว่างคนกับคนในยุค IP เต็มรูปแบบ จนกระทั่งกลายมาเป็นเครือข่ายในยุค IP อัจฉริยะดังเช่นปัจจุบัน

เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนา “เครือข่าย IP อัจฉริยะ” หัวเว่ยจึงได้ประกาศการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ที่งานประชุมสุดยอด ดังต่อไปนี้

1. ปรับโฉมสองแพลตฟอร์ม (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบ

หัวเว่ยอัปเกรดแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์เต็มรูปแบบ ซึ่งโดดเด่นด้วยเอนจิ้นเร่งความเร็ว AI ที่ติดตั้งมาในตัว เพื่อยกระดับการประมวลผลข้อมูล และด้วยเหตุนี้จึงสามารถรองรับเครือข่าย IP อัจฉริยะได้อย่างเต็มรูปแบบ ขณะเดียวกัน เพื่อรองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่กับทุกสิ่ง อุปกรณ์แบบแยกส่วนความจุมหาศาลจึงมาพร้อมกับพอร์ต 400GE ที่สามารถจัดการกับข้อมูลดิจิทัลมหาศาลได้ ขณะที่อุปกรณ์แบบคงที่ขนาดกะทัดรัดรองรับการเข้าถึงอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 155 Mbit/s ไปจนถึง 400 Gbit/s โดยฟีเจอร์ฮาร์ดแวร์เช่นนี้จะปูทางสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ IP ความเร็วสูงระดับอัลตราบรอดแบนด์ที่มีความชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับลูกค้า

ในส่วนของแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์นั้น ซอฟต์แวร์อุปกรณ์ IP ดั้งเดิมเป็นบริการแบบปิดที่เชื่องช้าและไม่ตอบสนอง ดังนั้น หัวเว่ยจึงปรับโฉมระบบปฏิบัติการเครือข่าย IP โดยใช้แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ใหม่อย่าง YUNSHAN ซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบเปิดที่ว่องไวและอัจฉริยะ ทั้งยังเปิดทางสำหรับการประกอบที่ยืดหยุ่นโดยใช้ส่วนประกอบฟังก์ชั่นแบบแยกส่วนครอบคลุมทั่วทุกอุปกรณ์ ทำให้ส่งมอบได้สะดวกรวดเร็วตามความต้องการของลูกค้า YUNSHAN ประกอบด้วยอัลกอริทึม AI กว่า 20 อัลกอรึทึมที่ฝังเข้าไปในเครือข่าย IP อัจฉริยะ ยิ่งไปกว่านั้น แพลตฟอร์มยังมาพร้อมอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชันแบบเปิด (APIs) มากกว่า 400 แบบ ซึ่งเชื่อมต่อกับ northbound NMSs ได้ง่าย จึงช่วยให้การจัดการและควบคุมอุปกรณ์เป็นไปอย่างยืดหยุ่น

2. อัปเกรดสถาปัตยกรรม 3 ชั้นของเครือข่าย IP อัจฉริยะด้วยความจุขั้นสุดยอด ประสบการณ์อัจฉริยะ และการขับเคลื่อนอัตโนมัติ

หัวเว่ยนำ AI มากำหนดนิยามใหม่ของสถาปัตยกรรมเครือข่าย IP อัจฉริยะ 3 ชั้น และอัปเกรดเป็นพอร์ต 400GE เพื่อรองรับการส่งอัลตร้าบรอดแบนด์แบบไร้สิ่งกีดขวางและการแบ่งส่วนเครือข่าย ส่งผลให้มีความจุสูงมากซึ่งเป็นการรับประกันคุณภาพแบนด์วิดท์ของเครือข่าย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังอัปเกรด Intent Engine โดยใช้ AI เพื่อระบุจุดประสงค์เครือข่ายบริการ ปรับใช้ทรัพยากรเครือข่ายแบบเรียลไทม์ และปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านบริการอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ทำให้เครือข่ายสามารถสร้างประสบการณ์อัจฉริยะซึ่งเป็นการรับประกันว่าผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์ตามที่กำหนดไว้

Intelligence Engine ได้รับการอัปเกรดโดยใช้กราฟความรู้เพื่อติดตั้งอัตโนมัติและปรับบริการต่างๆ ในระดับเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่งความสามารถในการขับเคลื่อนอัตโนมัติเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้าน O&M

3. สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะแบบ “four-engine”

หัวเว่ยได้อัปเกรด iMaster NCE ซึ่งทำหน้าที่เป็นสมองของเครือข่าย IP อัจฉริยะ โดยมอบขีดความสามารถทางเทคโนโลยีแบบเปิดและตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการปรับแต่ง นำข้อมูลการวิเคราะห์บิ๊กดาต้าไปใช้งานตามที่ต้องการ ทำนายข้อบกพร่อง ตลอดจนเพิ่ม southbound APIs เพื่อให้รองรับบริการของเวนเดอร์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้อัปเกรดโซลูชั่น CloudCampus, CloudFabric, CloudWAN และ HiSec จากเวอร์ชั่น 1.0 เป็น 2.0 โดยใช้เอนจิ้นทั้งสี่ ได้แก่ AirEngine, CloudEngine, NetEngine และ HiSecEngine ซึ่งโซลูชันใหม่เหล่านี้ช่วยสร้างเครือข่าย IP อัจฉริยะและมีความเร็วสูงระดับอัลตร้าบรอดแบนด์ได้มากขึ้น

4. เครือข่าย IP อัจฉริยะผ่านการตรวจสอบหลายครั้งและในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน

IP อัจฉริยะถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ “Intelligent IP @ Government” ซึ่งทำให้เกิดบริการภาครัฐแบบครบวงจรและการบริหารจัดการเมืองแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ซึ่งช่วยปรับปรุงอัตราการจัดการคำร้องขอในระบบออนไลน์และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูล ส่วน “Intelligent IP @ Finance” ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินเข้าสู่ยุคธนาคาร 4.0 ด้วยการเปิดใช้บริการบนคลาวด์แบบรายวันและลดเวลาการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศลง 87% ขณะที่ “Intelligent IP @ Education” ช่วยเร่งการสร้างเครือข่าย และนำไปสู่การบรรจบกันของเครือข่ายที่หลากหลาย ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานแบบอัจฉริยะ ซึ่งช่วยเร่งการสร้างประเทศที่อุดมด้วยบุคลากรเปี่ยมความสามารถ ด้าน “Intelligent IP @ Airport” จะสร้างระบบ ID เดียวสำหรับการเดินทาง และสร้างแผนที่เดียวสำหรับปฏิบัติการต่างๆ ด้วยการตรวจจับภัยคุกคามที่อัตราความแม่นยำ 96% โดยสามารถจัดการกับความเสี่ยงภายในไม่กี่วินาทีและพบข้อผิดพลาดได้อย่างมั่นใจในอัตรา 85%

“เครือข่าย IP อัจฉริยะช่วยให้การไหลและรวมของข้อมูลดีขึ้น สร้างพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการเชื่อมต่อกับทุกๆ สิ่ง หัวเว่ยจะเดินหน้าสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และใช้เครือข่าย IP อัจฉริยะกับทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาโซลูชั่นสำหรับทุกสถานการณ์ เพื่อช่วยองค์กรทุกขนาดประสบความสำเร็จทางธุรกิจ” เควิน หู ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าว “ในอนาคต หัวเว่ยจะทำงานร่วมกับพันธมิตรจากทุกอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ การเงิน การศึกษา บริการสุขภาพ และการขนส่ง เพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน”

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200928/2930222-1

คำบรรยายภาพ: เควิน หู ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย ประกาศการอัปเกรดโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะเต็มรูปแบบของหัวเว่ย