1

หัวเว่ย มินิ โมบาย เวิลด์ คองเกรส ชี้โอกาสการเติบโตในประเทศไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ หัวเว่ยจัดแสดงนวัตกรรมไอซีทีล่าสุด พร้อมแชร์โอกาสการเติบโตในงานมินิ โมบาย เวิลด์ คองเกรส 2017 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ภายในงานยังได้กล่าวถึงเทรนด์และหัวข้อต่างๆ ที่จะช่วยกำหนดทิศทางเพื่อสร้าง “โลกที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารที่ดีกว่า” (Better-Connected World) ในยุคคลาวด์ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

หัวเว่ยเปิดประตูต้อนรับเหล่าโอเปอเรเตอร์ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่สนใจชมผลกระทบของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่มีต่อทุกภาคส่วน อาทิ คลาวด์เน็ตเวิร์ค, 5G, วิดีโอ 4K/8K, Internet of Things (IoT) นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้แชร์วิสัยทัศน์ของบริษัทเพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ ให้เป็นแบบ Real-time, On demand, All- online, DIY และ Social หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ROADS ด้วย

ในฐานะที่เป็นพันธมิตรด้านกลยุทธ์กับหลายๆ ประเทศที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญก้าวหน้า หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้กับชุมชนต่าง ๆ ด้วยการทำงานร่วมกับพันธมิตรในประเทศเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าของเน็ตเวิร์คให้มากที่สุด ติดตั้งโฮมบรอดแบนด์ และปรับพื้นที่ภายในอาคารให้รองรับระบบดิจิทัล รวมถึงขับเคลื่อนการเชื่อมโยงสื่อสารเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเน็ตเวิร์คให้ดีขึ้น ตลอดจนส่งเสริมสังคมและเศรษฐกิจให้เติบโตไปด้วยกัน ในงานยังมีไฮไลท์เทคโนโลยีไอซีที 5 เทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลกในขณะนี้ อันได้แก่ การนำทุกสิ่งเข้าสู่เครือข่ายคลาวด์ (Build All Cloud Networks), การสร้างวิดีโอให้เป็นบริการพื้นฐาน (Make Video a Basic Service), การเพิ่มคุณค่าเครือข่ายให้มากที่สุด/การพัฒนา 5G ให้ใช้งานได้จริง(Maximize Network Value/Bring 5G into Reality), ระบบปฏิบัติการดิจิทัลที่คล่องตัว (Agile Digital Operations) และการนำเทคโนโลยี IoT มาให้บริการ (IoT as a Service)

มร. สตีเว่น หวง รองกรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เราตั้งตารอต้อนรับผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนที่จะมาร่วมในงานอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์หลักๆ และแม่แบบการดำเนินงานในอนาคต เป้าหมายของเราคือการช่วยโอเปอเรเตอร์ในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ให้สามารถเห็นช่องทางใหม่ๆ ในการเพิ่มผลประกอบการและต่อยอดวงจรธุรกิจจากการพัฒนาบริการและการสร้างเครือข่าย”

ภายในงาน ผู้เข้าชมจะได้รับทราบข้อมูลผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นไอซีทีล่าสุด ที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ พร้อมสัมผัสนวัตกรรมจากหัวเว่ยและแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อขับเคลื่อนไปสู่อุตสาหกรรมแบบเปิดและความสำเร็จของทุกฝ่าย

โอกาสอีกมากมายที่รอพัฒนา
จากข้อมูลการจัดอันดับ Global Connectivity Index (GCI) ที่หัวเว่ยแผยแพร่ในปี 2559 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 34 จากประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมด 50 ประเทศ โดยจัดอยู่ในกลุ่ม “Adopters” ด้วยคะแนน 37 คะแนน สิ่งนี้บ่งชี้ได้ถึงโอกาสทางด้านไอซีทีที่รอให้พัฒนาต่อได้อีกมากมาย กลุ่มประชากรที่ยังเข้าไม่ถึงโอกาส และยุทธศาสตร์ด้านไอซีทีของประเทศ จากการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเชื่อมโยงสื่อสารอย่างเต็มรูปแบบนี้เอง โครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลจะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไป

“หัวเว่ยยังคงเป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดของประเทศไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ที่พร้อมจะผลักดันอุตสาหกรรมแนวตั้งให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล เรามีแผนให้ความช่วยเหลือด้วยการฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีของไทยให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และยังคงเดินหน้าขยายการลงทุนในด้านต่างๆ เพื่อร่วมผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลให้สัมฤทธิผลอีกด้วย” มร. หวง กล่าวเพิ่มเติม

หัวเว่ยได้วิเคราะห์ภูมิทัศน์ของตลาดเกิดใหม่ในปัจจุบันเพื่อกำหนดแนวทางกลยุทธ์จาก 4 มุมมอง ได้แก่ ผู้ใช้+, ครัวเรือน+, ทรัพยากร+ และประสิทธิภาพ+ การติดตั้งโฮมบรอดแบนด์อย่างรวดเร็วและการสร้างระบบอินดอร์ดิจิทัลจะช่วยปรับปรุงสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมและยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ทรัพยากรเครือข่ายที่มีอยู่จะถูกใช้เพื่อเพิ่มคุณค่าของเครือข่ายและประสิทธิภาพของสเปคตรัมให้ได้มากที่สุด พัฒนา O&M ให้ดีขึ้น และรองรับเศรษฐกิจในทุกระดับ การเชื่อมโยงผู้ใช้ทั้งหมดจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และมนุษยชาติ

“ในราวปี 2568 เราจะได้เห็นคนสองพันกว่าล้านคนมีการเชื่อมต่อผ่านโมบายบรอดแบนด์ และอีกกว่า 500 ล้านรายผ่านโฮมบรอดแบนด์ ความมุ่งมั่นของเราคือ การผลักดันให้โอเปอเรเตอร์ทั่วโลกสามารถต่อยอดไปสู่การเติบโตใหม่” มร. หวง อธิบาย

เพื่อเป็นการเติมเต็มภารกิจใน “การสร้างโลกที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารที่ดียิ่งขึ้น” หัวเว่ยได้ผลักดันให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายในอุตสาหกรรมนำประสบการณ์ด้าน “Real-time, On-demand, All-online, DIY และ Social (ROADS)” มาปรับใช้ให้เป็นมาตรฐานหลักเพื่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล หัวเว่ยจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล โดยเริ่มจากด้านเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมให้ทันสมัยก่อนจะไปสู่การพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ และในตอนนี้เข้าสู่ช่วงการสร้างคุณค่าเชิงพาณิชย์ของระบบดิจิทัล

นอกจากนี้ ยังมีขอบเขตการพัฒนาอีก 4 ขอบเขตใหญ่ๆ ที่หัวเว่ยกำลังแสวงหาหนทางเพื่อก้าวไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในระบบนิเวศน์ที่รวมเอาโอกาสและประโยชน์ต่างๆ ไว้ด้วยกัน โดยขอบเขตดังกล่าวประกอบด้วยนวัตกรรม 5G (5G Innovation), ประสบการณ์ ROADS หนทางสู่การเติบโตแนวใหม่ (ROADS to New Growth), การเพิ่มคุณค่าเครือข่ายให้ได้สูงสุด (Network Value Maximization) และการพลิกโฉมระบบปฏิบัติการ (Operations Transformation)