หัวเว่ย ปลื้มลูกค้าโซลูชัน Smart City ได้รับการยกย่องบนเวที Smart City Expo World Congress 2018
หัวเว่ย และลูกค้าโซลูชัน Smart City จำนวนสามราย ได้รับรางวัลหรือได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอันทรงเกียรติ ในการประชุม Smart City Expo World Congress (SCEWC) 2018 ซึ่งให้การยกย่องความสำเร็จจากความร่วมมือในการสร้างสรรค์นวัตกรรมระหว่างหัวเว่ยกับลูกค้าสามรายนี้ รวมถึงความสำเร็จอันโดดเด่นในการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คน เสริมศักยภาพในการบริหารจัดการ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเมืองเกาชิง ประเทศจีน ได้รับรางวัล Digital Transformation Award จากความสำเร็จในการดำเนินโครงการสมาร์ทซิตี้ ขณะที่เมืองรุสเทนเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ได้เข้าชิงรางวัล Award for the Governance & Finance Project ส่วนเมืองชิงเต่า ประเทศจีน เข้าชิงรางวัล Award for the Innovation Idea Project จากความสำเร็จในโครงการพัฒนาคุณภาพข้าวเกษตร รางวัลอันทรงเกียรติเหล่านี้สะท้อนถึงการยอมรับที่แวดวงอุตสาหกรรมมีต่อเทคโนโลยีชั้นนำและโซลูชันระดับนวัตกรรมของหัวเว่ย ตลอดจนความสำเร็จจากการดำเนินงานในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่า ประชากรในเขตเมืองปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 55% ของประชากรทั้งหมดทั่วโลก และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองในสามภายในกลางศตวรรษนี้ โดยเมืองต่าง ๆ ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาล้วนเผชิญกับความท้าทายเดียวกัน นั่นคือวิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการตอบรับกับความต้องการของพลเมือง เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย ในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและคล่องแคล่วยิ่งขึ้น และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางพาณิชย์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย โดยการประชุม SCEWC มีพันธกิจ “เพื่อขับเคลื่อนเมืองและรวบรวมนวัตกรรมเขตเมืองทั่วโลก” ขณะที่รางวัล World Smart City Awards มีเป้าหมายเพื่อยกย่องแนวคิดริเริ่มและโครงการต่าง ๆ ที่มีความโดดเด่นที่สุด
หยู ตง ประธานฝ่ายโซลูชันและการตลาดอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า “หัวเว่ยเชื่อว่า กลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ คือการส่งมอบคุณประโยชน์และประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแก่พลเมืองและภาคธุรกิจ หัวเว่ มองเมืองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง และมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบประสาทให้กับเมือง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เมืองสามารถรับรู้ คิด เรียนรู้ด้วยตนเอง และเติบโตต่อไป โดยเราได้รวบรวมองค์ประกอบหลัก ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มของเรา ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ ของเมือง และเชื่อมโยงสิ่งอำนวยความสะดวกและแอปพลิเคชันเมืองทั้งหมด เพื่อใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เสริมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ลงบนแพลตฟอร์มดิจิทัล สืบเนื่องจากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชัน AI ที่ครบถ้วนรอบด้าน (full-stack) และใช้ได้ในทุกสถานการณ์ (all-scenario) และสิ่งนี้จะเข้ามาเร่งนวัตกรรมพัฒนาเมืองอัจฉริยะต่อไป ทั้งนี้ เราขอแสดงความยินดีต่อเมืองเกาชิงและเมืองชิงเต่าของจีน รวมถึงเมืองรุสเทนเบิร์กของแอฟริกาใต้ ที่ได้คว้าความสำเร็จในการสร้าง Smart City โดยการสร้างเมืองอัจฉริยะทั่วโลกนั้นได้ส่งสัญญาณแสดงการมาถึงของยุคแห่งการใช้แพลตฟอร์ม และทางหัวเว่ย จะเดินหน้าสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อไป เพื่อช่วยให้เมืองอัจฉริยะทั้งหลายบรรลุเป้าหมายในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างแท้จริง”
เมืองเกาชิงของจีนชนะรางวัล Digital Transformation Award สาขาการสร้างแบบจำลองเมืองอัจฉริยะขนาดกลางและขนาดย่อม
ในฐานะเมืองอัจฉริยะที่มีความครอบคลุมระดับประเทศของจีน เมืองเกาชิงถือเป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเกาชิงได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลของหัวเว่ยเพื่อบรรลุผลสำเร็จในการบริการเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาอุตสาหกรรม และการเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้กับประชาชน ด้วยเครือข่ายข้อมูลเมืองที่มีความครอบคลุมซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยเครือข่ายเทคโนโลยี eLTE สำหรับรัฐบาลโดยเฉพาะ โซลูชันดังกล่าวจึงได้บูรณาการบิ๊กดาต้า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คลาวด์วิดีโอ แหล่งทรัพยากรคำสั่งและการส่งของ และแหล่งทรัพยากรคลาวด์คอมพิวติ้งเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้งานแอปพลิเคชันอัจฉริยะอีกกว่า 30 แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ อาทิ การบริหารเมือง การเปลี่ยนผ่านทางองค์กร การผลิตที่มีความปลอดภัย และการปกป้องสิ่งแวดล้อม โซลูชันดังกล่าวได้ช่วยให้เมืองเกาชิงเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยยกระดับมาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนกว่า 400,000 คน โดยโครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะนี้ได้เปิดทางให้เมืองเกาชิงบรรลุเป้าหมายในการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่ พร้อมพัฒนาบริการของภาครัฐเพื่อประโยชน์ของประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านการใช้อุตสาหกรรมอัจฉริยะ ณ ปัจจุบัน เมืองเกาชิงได้ร่วมมือกับหัวเว่ยและพันธมิตรอีกกว่า 20 รายในการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเมืองอัจฉริยะขนาดกลางและขนาดย่อมในจีน พร้อมส่งเสริมการใช้โซลูชันการบริหารจัดการเมืองในประเทศและเมืองอื่น ๆ
เมืองรุสเทนเบิร์กในแอฟริกาใต้เข้ารอบสุดท้ายของการประกวดรางวัล Governance & Finance Award สาขาการสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัลที่ชาญฉลาดและปลอดภัยยิ่งขึ้น
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรในเมืองรุสเทนเบิร์กเพิ่มขึ้นถึง 400% ส่งผลให้เกิดความท้าทายในหลายด้าน อาทิ ความมั่นคงทางสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมอัจฉริยะ โครงการเมืองอัจฉริยะของรุสเทนเบิร์กจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลและดัชนีชี้วัดที่สำคัญแบบเรียลไทม์ โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ การวิเคราะห์ด้วยบิ๊กดาต้าและ IoT เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างถูกต้องแม่นยำเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน แอปพลิเคชันหลัก ๆ อาทิ แพลตฟอร์มการชำระเงินแบบบูรณาการ ไฟถนนอัจฉริยะ ที่จอดรถอัจฉริยะ และระบบคมนาคมอัจฉริยะ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับการบริหารระบบสาธารณูปโภคและการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของเทศบาล ด้วยเหตุนี้ การบริโภคพลังงานในระดับเทศบาลจึงลดลงกว่า 50% ขณะที่อัตราการใช้บริการขนส่งสาธารณะมีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเชื่อมต่อและผลผลิตที่ดีขึ้นของเมืองยังช่วยยกระดับมาตรฐานการใช้ชีวิตของประชาชนกว่า 600,000 คน สำหรับด้านความปลอดภัยสาธารณะนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้การติดต่อสื่อสาร การตรวจตรา และการวิเคราะห์ข้อมูลวิดีโอที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยลดเวลาในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ส่งผลให้อัตราอาชญากรรมลดลงกว่า 50% และทำให้เมืองมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของเมืองรุสเทนเบิร์กนั้น ได้มีการเปิดให้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรีในเขตเมืองที่มีความยากจน และก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 1,500 ตำแหน่ง นอกจากนี้ โครงการเมืองอัจฉริยะในรุสเทนเบิร์กยังนำไปสู่การสร้างแอปพลิเคชันเมืองและองค์กรอีกหลายแอปพลิชัน รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อผู้ประกอบการ การเชื่อมต่อประชาชนเข้าด้วยกัน การพัฒนารัฐบาล และการพัฒนาองค์กรขนาดเล็กและย่อม โดยรุสเทนเบิร์กยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลและระบบนิเวศที่มีความสร้างสรรค์ต่อไป
เมืองชิงเต่าในประเทศจีนเข้ารอบสุดท้าย รางวัล Innovation Idea Award จากโครงการพัฒนาคุณภาพข้าวเกษตรด้วยการพลิกฟื้นที่นา
นักวิชาการ หยวน หลงผิง ได้เป็นผู้นำศูนย์การวิจัยและพัฒนาข้าวที่ทนต่อดินเค็ม-ด่างแห่งชิงเต่า (Qingdao Saline-Alkali Tolerant Rice Research and Development Center) เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวเค็ม-ด่าง ซึ่งข้าวพันธุ์นี้ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 620 กก.ต่อ mu (เทียบเท่าพื้นที่ราว 666.66 ตร.ม.) ในประเทศจีน และ 500 กก.ต่อ mu ในเขตทะเลทรายของดูไบ ความสำเร็จนี้เกิดจากนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ประกอบกับระบบ Element IoT ของหัวเว่ย โดยเซ็นเซอร์ในระบบ IoT ที่ระดับพื้นผิวและใต้ดินจะคอยเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทต่าง ๆ อาทิ แสง ความชื้น ความเค็ม และความเป็นด่าง จากนั้นจึงส่งข้อมูลที่ได้ไปยัง Huawei Cloud Big Data Center ผ่านทางเครือข่าย eLTE โดยระบบ AI และผู้เชี่ยวชาญจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อให้คำแนะนำเรื่องการพ่นยาฆ่าแมลงอย่างตรงเป้าเฉพาะจุด รวมถึงการให้ปุ๋ย และการควบคุมแมลง เพื่อปรับปรุงผลผลิตข้าวเค็ม-ด่าง ทั้งยังส่งผลให้ลดการใช้น้ำลงได้ 30% ลดการใช้ปุ๋ย 50% และเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 20% การพลิกพื้นพื้นที่เค็ม-ด่างขนาด 100 ล้าน mu สามารถให้ผลผลิตข้าว 3 หมื่นล้านกก. และเป็นอาหารให้กับประชาชน 80 ล้านคน นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับประชากรทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวฯ ภายใต้การนำของคุณหยวนและบริษัทหัวเว่ย ยังได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมร่วม Agricultural IoT Global Joint Innovation Center เพื่อพัฒนา “Agricultural Fertile Soil Platform” สำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรทั่วโลก โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ 4.0 ซึ่งสนับสนุนโดยเทคโนโลยี IoT, บิ๊กดาต้า, การเชื่อมต่อมือถือ และคลาวด์คอมพิวติ้ง
Smart City Solution ของหัวเว่ย ได้ให้บริการเมืองต่าง ๆ แล้วมากกว่า 160 เมืองในกว่า 40 ประเทศ ทั้งนี้ งาน Smart City Expo World Congress (SCEWC) 2018 จัดขึ้นที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน สามารถพบกับ หัวเว่ย ได้ที่บูทหมายเลข B200 ในห้องจัดแสดง Gran Via 2 (Hall 2) และดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Smart City Solution และหลักปฏิบัติของหัวเว่ย ได้ที่ http://e.huawei.com/topic/smartcity2018/en/index.html
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20181115/2301104-1
คำบรรยายภาพ: เมืองเกาชิงของจีน ชนะรางวัล Digital Transformation Award