“หัวเว่ย” จุดประกายความเป็นอัจฉริยะสู่ “เซลล์ประสาท” ขององค์กร ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล

0
434
image_pdfimage_printPrint

หัวเว่ย จัดงาน Huawei Global Analyst Summit 2018 ซึ่งที่งานนี้กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ (EBG) ของหัวเว่ยได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจ แนวทางและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในองค์กรและส่วนธุรกิจต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อยกระดับความชาญฉลาดโดยรวมและเร่งขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัล

ข้อมูลล่าสุดจาก Citi Research แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างปี 2559-2562 อุตสาหกรรมหลักที่กลุ่มธุรกิจธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยได้เข้าไปมีบทบาท (ซึ่งรวมถึงภาครัฐ สาธารณูปโภค การธนาคาร การผลิต และการขนส่ง) จะเพิ่มการลงทุนด้าน AI ขึ้นอีก 2-5 เท่า อย่างไรก็ตาม องค์กรต่าง ๆ ยังคงเผชิญกับความท้าทายในการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้งานระดับอุตสาหกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจากการสังเกตการณ์ของหัวเว่ย พบว่า แม้มีการพัฒนาเทคนิค AI ใหม่ ๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนการใช้ AI อย่างเต็มรูปแบบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การใช้งาน AI ในองค์กรส่วนใหญ่ยังคงแยกออกจากกัน ทำงานมิติเดียว กระจัดกระจาย และเป็นการทำงานแบบพื้น ๆ ทั่วไป ซึ่งไม่สามารถสนับสนุนให้องค์กรและส่วนธุรกิจขององค์กรก้าวสู่ความเป็นอัจฉริยะได้ โดยหัวเว่ยมองเห็นว่า การใช้งาน AI ที่ได้รับการยอมรับในระดับอุตสาหกรรมนั้นยังคงไม่เพียงพอในปัจจุบัน

เหิง ชิว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาที่งาน HAS 2018 ภายใต้หัวข้อ “จุดประกายความเป็นอัจฉริยะสู่ “เซลล์ประสาท” ขององค์กร ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล” (Infusing Intelligence into Enterprise “Neurons” Through Digital Platforms) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนความชาญฉลาดขององค์กรอย่างเป็นระบบ และพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องประกอบด้วยเงื่อนไขเหล่านี้

1. แพลตฟอร์มที่สามารถรองรับการเติบโตอย่างเป็นระบบของการใช้งาน AI ในระดับอุตสาหกรรม
2. การหลอมรวมความเข้าใจอุตสาหกรรมอย่างเจาะลึกเข้ากับเทคโนโลยี AI
3. การเพิ่มประสิทธิภาพและการยกระดับวิธีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

องค์กรหรือหน่วยธุรกิจขององค์กรแต่ละแห่งเปรียบเสมือนเซลล์ประสาทของบริษัท เราตั้งเป้าที่จะสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีความสอดประสานระหว่างอุปกรณ์และคลาวด์ เพื่อนำ AI เข้าสู่เซลล์ประสาทของบริษัทแต่ละแห่ง ขับเคลื่อนการสร้างความชาญฉลาดขององค์กรและบริษัทแต่ละแห่งอย่างเป็นระบบ รวมถึงสร้างโลกแห่งความเป็นอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ ผ่านความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในอุตสาหกรรมของหัวเว่ยที่ได้จากธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ตลอดจนประสบการณ์จากการใช้ AI ในการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ย สิ่งแรกที่เราจะทำคือการส่งมอบผลิตภัณฑ์และโซลูชั่น AI ในระดับต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์ คลาวด์ และการรองรับการใช้งาน AI เพื่อสร้างพื้นฐานแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์สำหรับการใช้งาน AI ขณะเดียวกัน หัวเว่ยและพันธมิตรจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายให้เป็นประโยชน์ พันธมิตรจะเป็นผู้ส่งมอบการใช้งานและอัลกอริทึม ขณะที่หัวเว่ยจะส่งมอบแพลตฟอร์มดิจิทัลสมบูรณ์แบบที่รองรับ AI ผ่านชิป AI โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ได้รับการยกระดับ และจุดเชื่อมต่อเพื่อการรองรับ และอย่างที่สาม เราจะทำงานบนหลักการพื้นฐานที่ว่า “เราควรนำ AI มาใช้กับบริษัทเราเองก่อน เช่นเดียวกับผู้ผลิตร่มชูชีพที่ต้องทดลองผลิตภัณฑ์ของตนเองก่อน” เราใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านโครงการ Digital Huawei และเหนืออื่นใด เรายังทำงานร่วมกับลูกค้าชั้นนำในอุตสาหกรรม เพื่อสั่งสมประสบการณ์การใช้งาน AI ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจนถึงขณะนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรต่างก็พบกับเรื่องราวความสำเร็จมาแล้วมากมาย

ข้อได้เปรียบที่ไม่เหมือนใครของโซลูชั่น AI จากหัวเว่ย — แพลตฟอร์ม ICT ดิจิทัลที่ผนึกกำลังระหว่างอุปกรณ์และระบบคลาวด์

ด้วยขีดความสามารถหลัก ๆ เช่น ชิป อัลกอริทึม และการออกแบบสถาปัตยกรรม หัวเว่ยได้สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีชิป/เทอร์มินัลแบบ AI มีโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่ได้รับการยกระดับด้วย AI ที่รองรับการประมวลผล การเก็บข้อมูล และการสื่อสาร นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่รองรับการใช้ AI เช่น แพลตฟอร์มบิ๊กดาต้า วิดีโอคลาวด์ PaaS ระบบอัจฉริยะในองค์กร (EI) โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีการประสานพลังกันระหว่างอุปกรณ์และระบบคลาวด์ ทำให้สามารถนำ AI ที่พัฒนาขึ้นโดยพันธมิตรไปใช้กับส่วนงานต่าง ๆ ของบริษัทได้ เช่น ห่วงโซ่อุปทาน การจัดส่งสินค้า การวิจัยและการพัฒนา การตลาด การเงิน และการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้กับบริษัทต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบครอบคลุมทุกภาคส่วน ด้วยแพลตฟอร์ม ICT ดิจิทัลระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม หัวเว่ยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำเสนอประสิทธิภาพและประสบการณ์การใช้งาน AI ที่ดีที่สุด พัฒนารูปแบบการใช้งานให้ง่ายขึ้น และผลักดันให้สามารถใช้งานจริงได้โดยเร็ว

“เริ่มที่ตัวเองก่อน” — ดังเช่นหัวเว่ยที่เริ่มใช้เทคโนโลยี AI ในโครงการ Digital Huawei ของตนเอง

หัวเว่ยได้นำ AI มาปรับใช้กับส่วนธุรกิจต่าง ๆ เช่น การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดส่งสินค้า การเงินและการตรวจสอบภายใน เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ เราขอยกตัวอย่างการนำ AI ไปใช้ในห่วงโซ่อุปทาน โดยหัวเว่ยได้นำ AI ไปใช้กับงานโลจิสติกส์และคลังสินค้า ด้วยการป้อนข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการจัดส่งสินค้าเข้าสู่โมเดลการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) การแก้ปัญหาระบบโดยรวม และกฎการบรรจุตู้สินค้าและพัสดุขั้นพื้นฐาน และทำให้ระบบสามารถออกข้อมูลเตือนโดยใช้โค้ดใหม่ ด้วยวิธีนี้จะทำให้การประเมินมีความแม่นยำมากขึ้นจาก 30% เป็น 80% นอกจากนี้ AI ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลือกเส้นทางขึ้นกว่า 30% และ AI ยังสามารถจัดการการลำเลียงสินค้าขึ้น-ลงรถบรรทุกได้ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคำสั่งซื้อสินค้าหลายชนิดได้เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าต่อหนึ่งคันรถ AI ยังช่วยลดเวลาในการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์และเวลาในการระบุสินค้า ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นจากเดิมถึงกว่า 10 เท่า โดยการดำเนินงานต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้กับบรรดาบริษัทโลจิสติกส์แบบดั้งเดิม

การผสานความเข้าใจในอุตสาหกรรมเข้ากับเทคโนโลยี AI เพื่อสร้างมูลค่า ผ่านการใช้งาน AI ในระดับอุตสาหกรรม

ในบริบทนี้ เราขอยกตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี AI ในการสร้างเมืองอัจฉริยะ โซลูชั่นวิดีโอคลาวด์ที่รองรับการใช้ AI ของหัวเว่ยถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้ระบบคลาวด์ล้วนตัวแรกในอุตสาหกรรม โดยใช้ประโยชน์จากอัลกอริทึมของ AI บนระบบคลาวด์แบบไฮบริด เพื่อการแชร์วิดีโอได้ทั่วโลก การค้นดูข้อมูลจากทางไกล และการกู้ข้อมูลจากทางไกล ทำให้เกิดเป็นการพัฒนาใหม่ ๆ ในด้านความปลอดภัยสาธารณะ โซลูชั่นนี้ช่วยเพิ่มอัตราการแก้ไขปัญหา 50% และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรลง 18% หัวเว่ยได้นำ AI มาปรับใช้กับระบบการจัดการจราจร เพื่อช่วยในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายและการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลจากบิ๊กดาต้า ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 34% ลดปริมาณงานของตำรวจจราจรลง 47% และลดเวลารอรถโดยเฉลี่ยลง 24%

หัวเว่ยคาดหวังว่าจะได้ร่วมงานกับพันธมิตรรายต่าง ๆ เพื่อที่จะร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของบริษัทแต่ละแห่ง และเพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างสมบูรณ์

งานประชุม Huawei Global Analyst Summit 2018 จัดขึ้นที่เมืองเซินเจิ้น ในระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.huawei.com/minisite/has2018/en/

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20180417/2107216-1

คำบรรยายภาพ: เหิง ชิว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวปาฐกถาที่งาน HAS 2018