หัวเว่ยคว้ารางวัล “การลงทุนพัฒนา 5G รายใหญ่ที่สุด” ในระหว่างงานประชุมสุดยอดระดับโลกด้านเทคโนโลยี 5G (5G World Summit 2015) อันเนื่องจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Air Interface ใหม่
ด้วยพัฒนาการด้านโมบายบรอดแบนด์และ Internet of Things ที่รวดเร็ว การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจำนวนมหาศาลที่จะเกิดขึ้นระหว่างคนกับคน คนกับเครื่องจักร และเครื่องจักรกับเครื่องจักร จะทำให้เส้นแบ่งระหว่างโลกจริงและโลกดิจิทัลเลือนรางลงไปเรื่อยๆ โดยในราวปี 2563 เทคโนโลยี 5G จะสามารถทำให้โลกที่สามารถเชื่อมโยงกับทุกสิ่งกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ และแม้ว่าการกำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยี 5G มีกำหนดเริ่มในปี 2559 แต่เทคโนโลยี 5G กลับกลายเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงมาระยะหนึ่งแล้ว ความท้าทายหลักของ 5G ในตอนนี้คือ การเลือกวิธีการในการรับ-ส่งข้อมูลขนาด 10 Gbps ค่าความหน่วงหรือ Latency เพียง 1 มิลลิวินาที และการเชื่อมโยง 100 พันล้านจุด ซึ่งด้วยประสบการณ์อันยาวนานด้านเทคโนโลยี 2/3/4G และการวิจัยเทคโนโลยี 5G ระดับแถวหน้าของอุตสาหกรรม หัวเว่ยจึงได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลด้านเทคโนโลยี 5G เป็นรายแรกของอุตสาหกรรม
มร. เชาปิน หยาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาดผลิตภัณฑ์ไร้สายของหัวเว่ย กล่าวว่า “ทางบริษัทหัวเว่ย ขอขอบคุณคณะกรรมการ พันธมิตรในอุตสาหกรรมทุกท่าน และบริษัท Informa สำหรับรางวัลเทคโนโลยี 5G รายแรกของโลกนี้ นับเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่สำหรับความพยายามในการพัฒนานวัตกรรม 5G รวมไปถึงความทุ่มเทในการสร้างมาตรฐานและความร่วมมือในอุตสาหกรรมของหัวเว่ย นับตั้งแต่ปี 2552 ที่ทางบริษัทได้เริ่มทำการวิจัย 5G หัวเว่ยได้สร้างมาตรฐานสำคัญในนวัตกรรมระบบ 5G แบบ end-to-end มากมาย อาทิ เทคโนโลยี Air Interface ใหม่ โครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบใหม่ และการทดสอบอัตราการรับ-ส่งข้อมูลที่สูงที่สุดในโลก ทางบริษัทขอสัญญาว่าจะยังคงมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียว และทำให้เกิดห่วงโซ่อุตสาหกรรมอันเป็นที่พึงใจกับทุกฝ่ายในการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมทั้งหมด”
รางวัล “การลงทุนพัฒนา 5G รายใหญ่ที่สุด”
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเอาชนะความท้าทายอันใหญ่หลวงในการใช้เทคโนโลยี 5G แบบลองเทล หัวเว่ยจะมุ่งเน้นไปที่ด้านนวัตกรรม โดยได้นำเสนอเทคโนโลยี Air Interface 5G รูปแบบใหม่หลายตัว อาทิ Foundational Waveform F-OFDM ซึ่งสามารถปรับคลื่นความถี่ของซับแคร์ริเออร์ได้ หรือ SCMA (Sparse Code Multiple Access) ที่สามารถเพิ่มการเชื่อมโยงและการรับ-ส่งข้อมูลได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า หรือ Polar Code ที่สามารถบรรลุถึง Shannon Limit ได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ ประสิทธิภาพของสเปคจะถูกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 เท่าโดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีเสาอากาศหลายตัว ตั้งแต่ปี 2557 หัวเว่ยได้มีการทดสอบการรับ-ส่งข้อมูลที่สูงที่สุดในโลกบนคลื่นความถี่สูง (สูงกว่า 6 GHz) และคลื่นความถี่ต่ำ (ต่ำกว่า 6 GHz) ด้วยการรับส่งข้อมูลที่สูงถึง 115 Gbps และ 10.32 Gbps ตามลำดับ สำหรับสถาบันการศึกษา หัวเว่ยได้สร้างสรรค์ผลงานด้าน 5G กว่า 180 ชิ้น โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ อาทิ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
หัวเว่ยยังเข้าไปมีบทบาทสำคัญในองค์กรกำหนดมาตรฐานและสมาพันธ์อุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ 5GPPP, IMT2020, 5GIC, 5GMF และ NGMN ในการกำหนดนิยามเทคโนโลยี 5G ร่วมกับเหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรม
ดิมิทริส มาฟรากิส นักวิเคราะห์หลักของบริษัทวิจัย Ovum ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินของปีนี้ กล่าวว่า “หัวเว่ยได้ทุ่มเทความพยายามมากมาย รวมถึงงบประมาณ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G และมีความก้าวหน้ามากทางด้าน R&D โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Air Interface และการทดสอบระบบต่างๆ รางวัลนี้จึงเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ยในการคิดค้นนวัตกรรมและความเป็นเลิศในด้าน R&D และยังเป็นการรับรู้ถึงกิจกรรมการกำหนดมาตรฐานของผู้ขายด้วย”
Informa เป็นบริษัทวิจัยสื่อและโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก และยังเป็นหนึ่งผู้จัดงานนิทรรศการ/ฟอรั่ม/งานประชุมรายใหญ่ที่สุดของโลก มีพนักงานกว่า 8,000 คนและสำนักงานตั้งอยู่กว่า 150 แห่งทั่วโลก การประชุมสุดยอด LTE/5G World Summit เป็นหนึ่งในงานประชุมสุดยอดด้านการสื่อสารเคลื่อนที่ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดงานหนึ่ง และคณะกรรมการตัดสินรางวัลได้รับการคัดสรรมาจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก นักวิเคราะห์ผู้ทรงคุณวุฒิ และสื่อ
###
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย ผู้นำทางด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มุ่งมั่นในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการสื่อสาร ด้วยกลยุทธ์การสร้างสรรค์นวัตกรรมตามความต้องการของลูกค้าและสัมพันธภาพที่ดีกับพันธมิตร หัวเว่ยนำเสนอโซลูชั่นด้านไอซีทีแบบครบวงจร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ลูกค้าในกลุ่มเครือข่ายโทรคมนาคมและเอ็นเตอร์ไพรส์ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ และระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 170,000 คนทั่วโลก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ กลุ่มลูกค้าองค์กรและผู้บริโภคทั่วไป ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นไอซีทีของหัวเว่ยได้รับการติดตั้งในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ให้บริการประชากรกว่าหนึ่งในสามของโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด
ผู้สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.huawei.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของหัวเว่ยได้ทาง
http://www.linkedin.com/company/Huawei
Tweets by Huawei
http://www.facebook.com/Huawei
http://www.google.com/+Huawei
http://www.youtube.com/Huawei