– ระบบจดจำใบหน้าแบบ End-to-End และระบบจอแสดงข้อมูลเที่ยวบินแบบครบวงจรเตรียมพลิกโฉมอุตสาหกรรมการบิน
ในงาน HUAWEI CONNECT 2018 หัวเว่ยได้จัดเวทีสัมมนาหัวข้อ Smart Airport Forum เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาล่าสุด, แนวโน้มด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาสารสนเทศในการก่อสร้างสนามบินด้วยระบบอัจฉริยะ โดยมีแขกเข้าร่วมงานสัมมนาจากกรมการบินพลเรือนจีน(CAAC), กลุ่มสนามบินเสิ่นเจิ้น, สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) และ Societe Internationale de Telecommunications Aeronautiques (SITA)ทั้งนี้ หัวเว่ยได้แบ่งปันโซลูชั่นสนามบินอัจฉริยะที่เป็นนวัตกรรมของบริษัท รวมทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรด้านระบบนิเวศ อาทิ สถาบันวิจัย (Second Research Institute) แห่ง CAAC, ไป่ตู๋, ซีอาน เยี่ยไถ่ ไซแอนซ์ แอนด์ เทคโนโลยี และซูเปอร์แมพ และการสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมนี้สามารถสร้างสนามบินอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับผู้โดยสาร และส่งมอบวิธีการใหม่ๆเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบดิจิทัลให้กับสนามบินทั่วโลก
คุณจาง หรุ่ย รองผู้อำนวยการแผนกสนามบินของ CAAC กล่าวสุนทรพจน์ในงานสัมมนาครั้งนี้ โดยบรรยายถึงความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ของการพัฒนาสนามบิน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสนามบินที่มีความปลอดภัย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้ระบบอัจฉริยะ และเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรม ตลอดจนแบ่งปันแนวคิดเพื่อการสร้างสนามบินที่มุ่งเน้นอนาคต และความก้าวหน้าในปัจจุบัน ในนามของ CAAC คุณจางได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายทั้งภายในและนอกอุตสาหกรรมการบิน โดยเฉพาะบริษัทที่โดดเด่นอย่างหัวเว่ย ให้มีส่วนร่วมในการสร้างสนามบินที่มุ่งเน้นอนาคต และทำให้แบบก่อสร้างที่มีอนาคตนี้เกิดขึ้นด้วยอย่างเป็นรูปธรรมด้วยความพยายามร่วมมือกัน
คุณจาง หรุ่ยชี้แจงว่า สนามบินในอนาคตจะมีจุดเด่นที่การบริหารการดำเนินงานที่พัฒนาแล้วและมองเห็นภาพได้ บริการผู้โดยสารที่ปรับตามความต้องการเฉพาะบุคคล, ขั้นตอนการดำเนินงานแบบอัจฉริยะและมีประสิทธิภาพ และเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อในระบบแบบครบวงจรด้วยเทคโนโลยี IoT แผนกสนามบินของ CAAC, TravelSky, มหาวิทยาลัยการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน และหัวเว่ยจะทำงานร่วมกันเพื่อร่วมกันกำหนดมาตรฐานสนามบินที่มุ่งเน้นอนาคต ตามหลักการ “หนึ่งแนวทาง, หลากหลายคุณสมบัติ หนึ่งระบบประเมิน”
คุณจาง ฮวย ประธานฝ่ายสารสนเทศของกลุ่มสนามบินเสิ่นเจิ้นกล่าวสุนทรพจน์ว่า ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และประสบการณ์ของผู้โดยสารเป็นภารกิจที่สำคัญของสนามบินเสิ่นเจิ้นในการพัฒนาทุกๆด้าน ด้วยการขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สนามบินแห่งนี้จึงมุ่งมั่นในการให้บริการแบบเฉพาะสถานการณ์ จัดการกับสถานการณ์ต่างๆผ่านแพลตฟอร์ม และเปิดแพลตฟอร์มรับพันธมิตรในระบบนิเวศเพื่อสร้างระบบข้อมูลสนามบินขึ้นมาใหม่ และเพิ่มอำนาจให้กับบริการสนามบินอัจฉริยะ ด้วยการให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้โดยสาร สนามบินแห่งนี้จะปรับปรุงในเรื่องของความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสารให้ดีขึ้นต่อไป
คณหยู ตง ประธานแผนกการตลาดอุตสาหกรรมและโซลูชั่น บริษัทหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรซ์ บีจี ระบุว่า นวัตกรรมแบบดิจิทัลของอุตสาหกรรมคมนาคมกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความปลอดภัย, ประสิทธิภาพ และประสบการณ์ผู้โดยสารเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการขนส่งแบบอัจฉริยะ ในด้านการขนส่งด้วยระบบสมาร์ทนั้น หัวเว่ยได้นำเสนอแผนกลยุทธ์ ‘platform + ecosystem’ และให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT อาทิ AI, คลาวด์, คอมพิวติ้ง, บิ๊ก ดาต้า และ Internet of Things (IoT) หัวเว่ยหวังว่า จะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างแพลตฟอร์ม และระบบนิเวศแบบเปิด ซึ่งจะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย และส่งเสริมความยั่งยืน ซึ่งจะทำให้พันธมิตรในระบบนิเวศสามารถแสดงจุดแข็งในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มดังกล่าวได้
คุณหวัง กัวะหยู ผู้จัดการแผนกโซลูชั่นด้านการขนส่ง บริษัท หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรซ์ บีจี กล่าวว่า หัวเว่ยไม่เคยหยุดการเดินทางที่มุ่งสู่การสร้างสนามบินที่มุ่งเน้นอนาคต และบัดนี้ แนวคิดเรื่องสนามบินอัจฉริยะก็กำลังจะกลายเป็นความจริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของความร่วมมือของหัวเว่ยที่มีกับลูกค้าและพันธมิตรในการสร้างสนามบินอัจฉริยะที่มีผู้โดยสารเป็นจุดศูนย์กลาง และมีระบบเชื่อมโยงแห่งอนาคตระหว่างกัน หัวเว่ยจะทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านระบบนิเวศต่อไปเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับสนามบิน ทำให้ผู้จัดการสนามบินมีโซลูชั่นบริหารจัดการการดำเนินงานระบบอัจฉริยะได้อย่างฉับไว และส่งเสริมระบบนิเวศในการเดินทางทางอากาศด้วยระบบอัจฉริยะ
ระบบจดจำใบหน้าแบบ End-to-End ช่วยให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น
ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ AI และการจดจำใบหน้า ผู้บริโภคจึงมีความต้องการการเดินทางด้วยระบบอัจฉริยะมากขึ้น สนามบินต่างๆจึงเผชิญกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางธุรกิจ การเดินทางทางอากาศจึงเป็นสิ่งที่แพร่หลายในวงกว้าง และมีความต้องการอันหลากหลายมากขึ้นในส่วนของผู้โดยสาร หัวเว่ยมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมนี้ จึงได้นำเสนอโซลูชั่นสนามบินอัจฉริยะแบบครบวงจรที่จะช่วยตอบสนองกับความต้องการต่างๆเหล่านี้
โซลูชั่น Smart VIP Lounge Solution มอบบริการคุณภาพสูงให้แก่กลุ่มผู้โดยสารที่เป็นเป้าหมายบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ระบบกล้องวงจรปิดที่มีภาพคมชัดแบบ HD, ฐานข้อมูลภาพใบหน้า และอัลกอริทึมการจดจำใบหน้าของหัวเว่ย ผนวกกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของซูเปอร์แมพ (SuperMap) ถูกนำมาใช้ในการระบุ หาตำแหน่ง และติดตามผู้โดยสารที่อยู่ในห้องบริการผู้โดยสารสนามบิน เทคโนโลยีนี้ทำให้สามารถส่งระบบเตือนให้ขึ้นเครื่องบินแก่ผู้โดยสารแต่ละราย ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารได้รับบริการในห้องบริการผู้โดยสารและประสบการณ์การเดินทางที่ดีที่สุด
ขณะที่ระบบจอแสดงข้อมูลเที่ยวบิน (FIDS) แบบเดิมเป็นจอแสดงเที่ยวบินแบบหนึ่งต่อกลุ่มที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้บริการผู้โดยสารทั้งหมดในเวลาพร้อมกัน ผู้โดยสารต้องหาข้อมูลเที่ยวบินของตนเองจากจำนวนเที่ยวบินมากมายที่ปรากฏขึ้นมา ซึ่งทำให้เสียเวลา ดังนั้น เพื่อจัดการกับขั้นตอนที่ใช้เวลามากมายเหล่านี้ หัวเว่ยจึงจัดระบบ FIDS แบบอัจฉริยะด้วยระบบการจดจำใบหน้า ผู้โดยสารเพียงแค่ให้จอภาพสแกนใบหน้าของตนเอง ระบบ FIDS อัจฉริยะก็จะระบุว่าผู้โดยสารคือใคร จากนั้น จอภาพก็จะแสดงข้อมูลเที่ยวบิน และตำแหน่งปัจจุบันของผู้โดยสาร รวมทั้งแจ้งเส้นทางที่เร็วที่สุดที่จะไปยังประตูขึ้นเครื่อง ระบบนี้จะทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ผู้โดยสารของสนามบินดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
การแสดงข้อมูลกิจกรรมสนับสนุนเที่ยวบินแบบครบถ้วนช่วยปรับปรุงการดำเนินงานของสนามบินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แอปพลิเคชั่น IoT สร้างประโยชน์มหาศาลให้กับสายการบิน และสนามบิน ความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยี IoT ของหัวเว่ยยังรวมถึงการติดตั้งระบบไฟส่องสว่างบริเวณลานสนามบินด้วยระบบอัจฉริยะ, การจัดสรรหลุมจอดในสนามบินด้วยระบบอัจฉริยะ และการจัดวางตำแหน่งและการจัดการอุปกรณ์แบบที่ไม่ใช่ไฟฟ้าในสนามบิน โซลูชั่นเชิงนวัตกรรมเหล่านี้ทำให้การนำ IT มาใช้, ระบบอัจฉริยะ และความมั่นคงของการบริหารจัดการสนามบินดีขึ้นอย่างมาก
แพลตฟอร์มบิ๊ก ดาต้า ที่อยู่ในระบบคลาวด์ของหัวเว่ย และอัลกอริทึมระบบอัจฉริยะของไป่ตู้ถูกนำมาใช้สนับสนุนระบบจัดสรรหลุมจอดแบบอัตโนมัติและแบบอัจฉริยะ ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานดีขึ้น และช่วยลดความขัดแย้งในการจัดสรรหลุมจอด โซลูชั่นนี้ยังช่วยทำให้การจัดสรรหลุมจอดให้แก่เที่ยวบินกว่า 1,000 เที่ยวเสร็จสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ขณะที่วิธีการเดิมต้องใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง ด้วยการปรับปรุงข้อมูลการจัดสรรหลุมจอดแบบพลวัต สะพานเทียบเครื่องบิน และหลุมจอดระยะใกล้ที่มีอยู่จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารไม่มีปัญหาในการขึ้นรถชัตเติลบัสเพื่อไปยังหลุมจอดที่อยู่ไกล นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแล้ว โซลูชั่นนี้ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับเหตุฉุกเฉินของสนามบิน เมื่อเกิดความล่าช้าของเที่ยวบินจำนวนมากจนทำให้ต้องมีการจัดสรรหลุมจอดเครื่องบินใหม่อย่างรวดเร็ว
โซลูชั่นระบบไฟส่องสว่างสนามบินแบบอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี IoT ยังช่วยแก้ไขปัญหาไฟสนามบินแบบเดิมที่ไม่สามารถเฝ้าสังเกต และควบคุมแบบเรียลไทม์ได้ โซลูชั่นของหัวเว่ยนี้ช่วยลดต้นทุนการตรวจสอบด้วยมือได้กว่า 10,000 ชั่วโมงแรงงานต่อปี โซลูชั่นนี้ เมื่อใช้ร่วมกับ Advanced-Surface Movement Guidance and Control System (A-SMGCS) และระบบเฝ้าระวังไฟฟ้าแบบเดียวของสถาบันวิจัย Second Research Institute ของ CAAC จะช่วยเป็นแนวทางในการนำเครื่องบินโดยใช้ไฟส่องสว่างลานบินแบบที่มีการเฝ้าระวังด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเครื่องบินบนรันเวย์ และแท็กซี่เวย์
โซลูชั่นบริหารจัดการอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ไฟฟ้าของหัวเว่ยคือการรวมเทคโนโลยีกำหนดจุดที่ตั้งที่มีความแม่นยำสูงบนระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากเพื่อบอกตำแหน่งที่ตั้งแบบเรียลไทม์ที่อิงตามสถานีฐาน ด้วยการใช้แพลตฟอร์ม IoT ของหัวเว่ย และแพลตฟอร์ม GIS ของซูเปอร์แมพ ระบบนี้จึงสามารถแสดงเส้นทางในอดีต และตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์แบบไม่ใช้ไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยจะช่วยให้แผนกบริหารจัดการสนามบินสามารถบริหารจัดการและจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ไฟฟ้า
หัวเว่ยมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับลูกค้าในระยะยาว และใช้วิธีการแบบมุ่งเน้นอนาคตเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ระบบดิจิทัลผ่านการใช้แพลตฟอร์ม จนถึงขณะนี้ มีบริษัท 211 แห่งในทำเนียบฟอร์จูน โกลบอล 500 (ซึ่งรวมถึงบริษัท 48 แห่งในทำเนียบฟอร์จูน โกลบอล 100) ที่เลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรด้านการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลให้กับบริษัทเหล่านี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/solutions/industries/transportation