สายการบินเอทิฮัด หนุนสายการบินแอร์เบอร์ลิน เร่งจัดทำโครงการปรับปรุงโครงสร้างขั้นพื้นฐาน

0
196
image_pdfimage_printPrint
  • สายการบินเอทิฮัดได้ซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิ์ประเภทไถ่ถอนคืนเมื่อเลิกบริษัท (perpetual subordinated cumulative convertible guaranteed bond) มูลค่า 300 ล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 8 เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างของแอร์เบอร์ลิน
  • สายการบินเอทิฮัดได้มีความมุ่งมั่น ร่วมกับสายการบินแอร์เบอร์ลินสำหรับความสำเร็จและการเติบโตระยะยาวของพันธมิตรทั้งสองสายการบิน
  • ตั้งแต่เริ่มเข้ามาถือหุ้นในสายการบินแอร์เบอร์ลิน เยอรมนีได้กลายเป็นประเทศที่มีผู้โดยสารขาออกที่มากที่สุดของสายการบินเอทิฮัดในตลาดยุโรป
  • ปัจจุบันสายการบินได้ให้บริการเที่ยวบินจำนวน 56 เที่ยวต่อสัปดาห์ระหว่างประเทศเยอรมนีและกรุงอาบู ดาบี

 

สายการบินเอทิฮัดมีความยินดีต่อการตัดสินใจของสายการบินแอร์เบอร์ลินที่เร่งปรับปรุงโครงสร้างภายในสายการบินเพื่อกำหนดเป้าหมายในการทำกำไรอย่างยั่งยืน

 

สายการบินแอร์เบอร์ลิน แจ้งให้ทราบถึง การทบทวนกลยุทธ์รูปแบบการดำเนินธุรกิจของสายการบินฯในระยะยาว ตามที่เคยได้รายงานในผลประกอบการปี 2556 ซึ่งเป้าหมายหลักๆจะได้รับการปรับให้เหมาะสมกับสารการบิน  เพื่อให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบันนี้ ด้วยเหตุนี้สายการบินแอร์เบอร์ลิน จึงเสริมสร้างความแข็งแกร่งของคณะกรรมการบริหาร ด้วยการแต่งตั้ง ประธานเจ้าหน้าที่การปรับปรุงโครงสร้าง (Chief Restructuring Officer)

 

เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างในครั้งนี้ สายการบินเอทิฮัด ได้ซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิประเภทไถ่ถอนคืนเมื่อเลิกบริษัท (perpetual subordinated cumulative convertible guaranteed bond) มูลค่า 300 ล้านเหรียญยูโร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มทุนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และช่วยในการปรับโครงสร้างองค์กร ของ โครงสร้างเงินทุนในสายการบินแอร์เบอร์ลินและเพื่อให้มั่นใจว่าเป้าหมายในระยะยาวจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการดำเนินธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หุ้นของสายการบินเอทิฮัด ใน สายการบินแอร์เบอร์ลิน จะคงที่อยู่ที่ร้อยละ 29.1  และ สายการบินแอร์เบอร์ลิน จะออกตราสารหนี้ ขั้นต่ำเพิ่มเติม อีก 150 ล้านยูโรเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดหาเงินทุนทั่วไปของสายการบิน

 

มร. เจมส์ โฮแกน ประธานและประธานกรรมการบริหารสายการบินเอทิฮัด ยืนยันว่า กลยุทธ์ในการเข้าไปถือหุ้นบางส่วนใน สายการบินแอร์เบอร์ลิน เป็นการเน้นย้ำถึงความมั่นใจและความมุ่งมั่นต่อไปในระยะยาว

 

มร. เจมส์ โฮแกน กล่าวว่า สายการบินฯ อยู่ในจุดยืนที่มีความท้าทายอย่างเห็นได้ชัด แต่เราก็มีความมั่นใจว่าเราดำเนินธุรกิจไปยังทิศทางที่ถูกต้อง และสามารถพลิกฟื้นขึ้นมาได้ด้วยการเร่งจัดทำโครงการปรับปรุงโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เราจึงให้การสนับสนุนสายการบินแอร์เบอร์ลินในขั้นตอนเหล่านี้อย่างเต็มที่

 

 “เราพร้อมที่จะสนับสนุนสายการบินแอร์เบอร์ลิน ผู้เดินทางและชุมชน ต่อไปในระยะยาว ด้วยวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ที่ถูกต้อง และการดำเนินการที่เหมาะสม สายการบินเอทิฮัด มีความเชื่อมั่นว่า แอร์เบอร์ลิน จะกลายเป็นสายการบินที่มีกำไรอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาชีพแก่พนักงาน 8,900 คน รวมถึง พนักงานอีกกว่าหลายพันคนที่ทำงานสนับสนุนทางอ้อม

 

มร. เจมส์ โฮแกนได้อธิบายถึง ประโยชน์ของกลยุทธ์การลงทุนในประเทศเยอรมนีของ สายการบินเอทิฮัดว่า  “การเป็นพันธมิตรของเราในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์อย่างชัดเจนต่อ สายการบินเอทิฮัด เมื่อเราเริ่มเป็นพันธมิตรกับ สายการบินแอร์เบอร์ลินในปี 2554 การเข้าถึงตลาดเยอรมันยังเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งเราให้บริการเที่ยวบินดัเพียง 25 เที่ยวต่อสัปดาห์ไปยัง 3 จุดหมายปลายทางเท่านั้น

 

 “ผลจากการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีราคาน้อยกว่าเครื่องบินแบบลำตัวกว้าง 1 ลำ ช่วยให้ สายการบินเอทิฮัดสามารถเข้าถึงผู้โดยสารกว่า 30 ล้านคนและรวมเครือข่ายการบินของยุโรป จาก 228 จุดหมายปลายทาง ใน 84 ประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว

 

ณ วันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ประเทศเยอรมันได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการบินของยุโรป เพียงแค่สองปีที่ผ่านมา สายการบินทั้ง 2 ได้ให้บริการเที่ยวบิน 56 เที่ยวต่อสัปดาห์ ในปี 2556 ให้บริการผู้โดยสารถึง 560,000 คน ไปยังเครือข่ายการบินซึ่งกันและกัน ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75.3 จากปี 2555 สร้างรายได้ใหม่กว่า 200 ล้านยูโร”

 

 

 

จำนวนผู้โดยสารจากเที่ยวบินโดยรวม ตั้งแต่เริ่มเป็นพันธมิตรกับสายการบินแอร์เบอร์ลิน มีจำนวนใกล้เคียง 1 ล้านคน รุดหน้าสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นตลาดที่มีผู้โดยสารขาออกมากที่สุดของสายการบินเอทิฮัด จึงนับว่า สายการบินแอร์เบอร์ลิน เป็นผู้สนับสนุนจำนวนผู้โดยสารรายใหญ่ที่สุดในเครือข่ายการบินทั่วโลกของสายการบินเอทิฮัด

 

จำนวนผู้โดยสารของทั้ง 2 สายการบิน คาดว่าจะเติบโตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสายการบินเอทิฮัด ได้มีการทำพันธมิตรร่วมทุนสายการบินต่างๆ อาทิเช่น พันธมิตรร่วมทุนกับ สายการบินแอร์เซอร์เบียสายการบินเอทิฮัด รีเจียนนอล การขยายขอบเขตพันธมิตรเชิงพาณิชย์รวมถึงการขยายเที่ยวบินร่วมไปยังเส้นทางบนเครือข่ายการบินของแอร์เบอร์ลิน

 

ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นพันธมิตรร่วมทุนในครั้งนี้เกินกว่าการเข้าถึงเครือข่ายการบิน ก่อให้เกิดประโยชน์จากการลดขนาด หรือ การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้มากขึ้นซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ และกำลังซื้อโดยรวมทำให้ต้นทุนลดลงเนื่องมาจากการจัดซื้อร่วมกันโดยเริ่มต้นจาก เครื่องบิน เครื่องยนต์  การบำรุงรักษา บริการจัดเตรียมอาหารและเทคโนโลยี ผลงานที่ประสบผลสำเร็จนี้มากับสภาพตลาดที่มีความท้าทายเป็นอย่างมากสำหรับสายการบินแอร์เบอร์ลิน ซึ่งเคยมีรายงานผลประกอบการขาดทุนมาแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 ถึง 231.9 ล้านยูโร

 

สายการบินสัญชาติเยอรมันนี้ได้ประสบผลสำเร็จในการประหยัดต้นทุน  ถึง 200 ล้านยูโร และมีรายได้ถึงเป้าของปีนี้  บรรลุองค์ประกอบที่สำคัญของการพลิกฟื้นธุรกิจ และลดปริมาณการขนส่งผู้โดยสารซึ่งคิดเป็นคนต่อกิโลเมตร ซึ่งเป็นตัววัดสำคัญ ร้อยละ5.1 ความร่วมมือทางธุรกิจและการทำค่าใช้จ่ายร่วมกับสายการบินเอทิฮัดเป็นส่วนสำคัญในการประหยัดต้นทุนในครั้งนี้

 

อย่างไรก็ตาม สายการบินแอร์เบอร์ลินได้รายงานถึงจำนวนผู้โดยสารขาออกในช่วงฤดูร้อนที่ผิดปรกติเนื่องด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และตามมาด้วย ฤดูหนาวที่มีสภาพอากาศอันเลวร้าย และเศรษฐกิจของยุโรปที่มีความซบเซามาอย่างต่อเนื่อง