สายการบินเอทิฮัดเน้นย้ำกับสถาบันการเงินหลักถึงผลกำไรที่ทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

0
178
image_pdfimage_printPrint

สายการบินเอทิฮัด สายการบินแห่งชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นเจ้าภาพจัดงานโร้ดโชว์ทางการเงิน ณ กรุงนิวยอร์กและกรุงลอนดอน ต้อนรับสถาบันบริการสินเชื่อระดับโลก ตลาดการเงิน และกลุ่มทุนธนาคารต่างๆ กว่า 450 แห่ง

มร.เจมส์ โฮแกน ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินเอทิฮัด กล่าวว่า “สายการบินเอทิฮัดจัดงานโร้ดโชว์ทางด้านการเงินเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อสรุปข้อมูลเกี่ยวกับผลงานและกลยุทธ์ของสายการบินฯ ให้กับสถาบันต่างๆ ได้รับรู้”

“เรากำลังพัฒนาความสัมพันธ์อันยาวนานไปในทิศทางที่มีสภาพการแข่งขันที่สูงมาก เพื่อให้การเข้าถึงตลาดทางการเงินมีความยืดหยุ่นและความแตกต่างมากขึ้น”

“ส่วนหนึ่งที่เราได้พูดในงานนี้ให้กับสถาบันที่มาจากหลากหลายสาขาการงานและมีสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกันออกไปได้ฟังก็เพื่อที่เราจะได้ทราบถึงความต้องการของสถาบันเหล่านั้นและเราจะได้อธิบายถึงธุรกิจและกลยุทธ์ทางการเงินในช่วงขณะที่สายการบินเอทิฮัดมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วให้พวกเขาได้เข้าใจมากขึ้น”

มร. โฮแกนยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “มันสำคัญมากที่สถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลกเข้าใจเรื่องราวทางธุรกิจของสายการบินเอทิฮัดและรู้สึกสบายใจที่จะร่วมลงทุนกับเรา นี่คือวิธีการที่เราจะนำพาพวกเขาให้ร่วมทางไปในสายธุรกิจกับเราได้”

มร. เจมส์ ริกนีย์ ประธานกรรมการฝ่ายการเงิน สายการบินเอทิฮัด ร่วมพูดถึงกลยุทธ์ทางการเงินในอนาคตของสายการบิน

มร. ริกกี้ ไธเรียน รองประธานกรรมการ และเหรัญญิกประจำกรุ๊ป สายการบินเอทิฮัด ร่วมถกประเด็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการจัดการกับความเสี่ยงทางด้านการเงินที่สายการบินกำลังประสบอยู่

สายการบินเอทิฮัดสร้างผลกำไรสุทธิปี 2555 ทะลุ 200 เปอร์เซ็นต์ โดยทำยอด 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผลประกอบการ EBITDAR (รายได้ก่อนการหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่า) เพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 753 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สายการบินเอทิฮัดได้รับการสนับสนุนจากสถาบันต่างๆ กว่า 60 สถาบันทั่วโลก เป็นผลให้กองทุนสะสมในขณะนี้มีมูลค่ากว่า 7.1 พันล้านดอลลาห์สหรัฐ เพื่อใช้สำหรับการขยายตัวของสายการบินฯ ที่จะมีขึ้นต่อไป

สายการบินเอทิฮัดทำงานร่วมกับธนาคารจากทุกตลาดหลักต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ประเทศอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ

มร. โฮแกน ระบุว่า “ธนาคารที่ร่วมงานกับเราเข้าใจและเชื่อมั่นในสิ่งที่สายการบินเอทิฮัดกำลังทำ และเรามีวิสัยทัศน์ร่วมกันที่อยากจะขึ้นชื่อว่าเป็นสายการบินที่ดีที่สุดในโลก”

สายการบินเอทิฮัดประสบความสำเร็จในการเป็นพันธมิตรในการลงทุนร่วมกับสายการบินแอร์ เซเชลส์ (ร้อยละ 40) แอร์เบอร์ลิน (ร้อยละ 29.21) สายการบินเวอร์จิ้น ออสเตรเลีย (ร้อยละ 9) และสายการบินแอร์ ลินกัส (ร้อยละ 2.987)

กลยุทธ์ดังกล่าวนี้ได้สร้างแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องให้กับสายการบินเอทิฮัดในการเป็นต้นแบบการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นความคิดนอกเหนือจากการเป็นพันธมิตรในแบบดั้งเดิม อาทิ ในปี 2555 สายการบินคู่ค้ามีส่วนในการสร้างรายได้จากการให้บริการผู้โดยสารโดยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 20

นอกจากนี้เชื้อเพลิงถือได้ว่าเป็นต้นทุนราคาที่สำคัญที่สุดของสายการบินฯ คิดเฉลี่ยร้อยละ 40 ของต้นทุนในการดำเนินธุรกิจก่อนหักกำไรประกันความเสี่ยงเชื้อเพลิง มาตรการป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงร้อยละ 80 ที่ทำร่วมกับสถาบันทางการเงินกว่า 22 แห่ง สามารถลดผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2555 ได้

ในปี 2556 สายการบิน เอทิฮัด มีอัตราการใช้พลังงานเชื้อเพลิงคิดเป็นร้อยละ 76 จากต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมด จะลดอัตราการใช้พลังงานเป็นร้อยละ 44 ในปี 2557 และเป็นร้อยละ 19 ในปี 2558

มร.โฮแกน ระบุว่า สายการบิน เอทิฮัดได้นำกลยุทธ์ทางการเงินที่หลากหลาย ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบใหม่มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนกลไกทางการเงินกับสถาบนันการเงินในภูมิภาคต่างๆ

“เราให้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการคงสภาพความเสี่ยงต่างๆ และไม่วางใจสถาบันการเงินใดเพียงแห่งเดียวหรือตลาดหรือการระดมทุนประเภทใดประเภทหนึ่ง”

สายการบินเอทิฮัด มีการระดมเงินทุนในหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น หนี้เชิงพาณิชย์ โครงสร้างแบบอิสลาม การดำเนินการเช่า ภาษีเช่า และบริษัทตัวแทนสินเชื่อเครดิตการส่งออกประจำประเทศสหรัฐฯและภูมิภาคยุโรป

เงินทุนได้นำมาใช้เพิ่มกำลังพลในฝูงเครื่องบินประหยัดน้ำมันของสายการบินเอทิฮัด ในปี 2551 สายการบินฯ  มียอดการสั่งซื้อเครื่องบินโดยสารกว่า 205 ลำ โดยในจำนวนนี้เป็นเครื่องบินโดยสารหลักกว่า 100 ลำและเครื่องบินทางเลือกอีก 105 ลำ เพื่อการเติบโตทางธุรกิจที่จะมีขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ สายการบินจะรับมอบเครื่องบินโดยสารอีกกว่า 14 ลำในปีนี้ โดยมีเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้าง (บี777-300อีอาร์) 6 ลำ เครื่องบินขนส่งลำตัวกว้าง (บี777เอฟ และ เอ330) 3 ลำ รวมถึงเครื่องบินโดยสารลำตัวแคบ (เอ319/เอ320/เอ321) ทั้งสิ้น 5 ลำ

ในปี 2555 สายการบินฯ ได้จัดทำข้อเสนอ (RFP) เพื่อระดมทุนสั่งซื้อเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้าง 9 ลำ ไว้สำหรับรับมอบในปี 2556 เป็นมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 4.5 พันล้านบาท) ซึ่งได้รับการตอบสนองโดยมีการประมูลให้ราคามากถึง 55 ครั้งด้วยกัน และเครื่องบินโดยสารทั้งหมดได้ส่งมอบอำนาจให้แก่บริษัทให้เช่าและให้ยืมทั้งสิ้น 4 แห่งด้วยกัน

ในอนาคตอันใกล้จะมีการจัดทำข้อเสนอ RFP เพื่อระดมทุนซื้อเครื่องบินโดยสาร เอ320 จำนวน 4 ลำและ เอ321 จำนวน 1 ลำ สำหรับการส่งมอบในเดือนสิงหาคม ปี 2556 และเดือนมกราคม ในปี 2557