อาการสายตาสั้นหรือ ยาวอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือ ผู้หญิงอย่างที่ทุกคนได้ ทราบกันอยู่แล้ว โดยสถิติจากทั่วโลกในปี 2016 จากการศึกษา The Brien Holden Vision Institute ได้สรุปผลไว้ว่า มีประชากรจำนวนโลกถึง 2,000 ล้านคนที่มีภาวะเกี่ยวกับสายตา และได้ทำนายไว้ว่าในปี 2593 จะมีประชากรโลกถึง 5,000 ล้านคนที่จะมีปัญหานี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจาก กิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนไปเช่น การใช้โทรศัพท์ในที่มืด การใช้งานอยู่กับหน้าจอ มือถือ หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
แล้วคุณล่ะเคยมีอาการแบบนี้บ้างไหม?
1 มองเห็นตัวเลข ตัวหนังสือไม่ชัดในระยะ ประมาณ 6 เมตร หรือมองไม่ชัดเห็นภาพเบลอ
2 เวลามองสิ่งใด อาจหยีตามองเพื่อปรับโฟกัสทำให้เห็นชัดขึ้น
3 มีอาการปวดหัวเมื่อต้องใช้สายตาเป็นเวลานานๆ
4 มองเห็นได้ไม่ชัดเวลาขับขี่ โดยเฉพาะกลางคืน
หากคุณมีอาการเหล่านี้! บ่งบอกถึงอาการสายตาสั้น
โดยสายตาสั้นเกิดจากภาวะความผิดปกติของตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตาได้อย่างพอดีส่งผลทำให้มองเหตวัตถุดังกล่าวไม่ชัดโดยปัญหาสายตาสั้นจะชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอีกทั้งยังอาจเกี่ยวกับพันธุกรรมที่สามารถทำให้สายตาสั้นได้อีกด้วย
สายตายาว
สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุยังน้อยยังไม่ถึงวัยสูงอายุ และสายตายาวที่เกิดขึ้นเมื่อถึงวัยสูงอายุ (อายุ 40 ปีขึ้นไป) เรียกว่า สายตาผู้สูงอายุ (Presbyopia) ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน หรืออาจเห็นไม่ชัดทั้งระยะใกล้และไกล
หากคุณมีอาการเหล่านี้?
• เวลาดูหนังสือ หรืออ่านหนังสือ ต้องดูไกลออกไปเกิน 30 เซนติเมตร
• เห็นวัตถุใกล้ได้ไม่ชัดเจน แต่ มองวัตถุไกลได้ชัดเจน
• มองไม่ชัดในที่แสงน้อย
ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้บ่งบอกถึงอาการที่อาจมีภาวะสายตายาว
โดยภาวะสายตายาว มี 2 ประเภท โดยประเภทแรก สายตายาวตั้งแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม และ คนในครอบครัวคุณอาจมีอาการสายตายาวร่วมด้วยเช่นกัน ประเภท 2 ภาวะสายตายาวตามวัย ซึ่งจะเจอเป็นส่วนใหญ่ในสังคม โดยจะเริ่มสังเกตุอาการได้เมื่ออายุเข้าใกล้ 40 ปี โดยจะยิ่งเกิดอาการ เลนส์แก้วในตาเกิดการแข็งตัวขึ้นจากการเสื่อมตาม ธรรมชาติ ทำให้มีอาการมองเห็นโฟกัสภาพระยะยาวได้ไม่ชัดเจนหมือนเคย โดยทั้ง 2 อาการข้างต้นนี้ บางครั้งก็อาจไม่แน่ เสมอไปที่จะเป็นสายตาสั้นและยาว บางครั้งอาจเกิดจากสายตาเอียงเป็นต้น และสิ่งสำคัญคือหากมีสายตาสั้นมาก หรือยาว มากผิดปกติ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคต้อหิน ต้อกระจก ตาขี้เกียจหรือในกรณีที่มีสายตาสั้นมากๆ อาจมีความเสี่ยงการเกิด จอประสาทตาบางเป็นรูหรือฉีกขาดได้ ซึ่งอาจมีอาการจุดดำลอยในตาและแสงวาบในตาทางที่ดีควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุดคือการมาตรวจสุขภาพดวงตากับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อสามารถดูแลรักษาสุขภาพดวงตาได้ ทัน เพื่อวินิจฉัยว่าเป็น สายตาสั้น ยาว หรือเอียง แม้กระทั่งตาบอดสี หรือมีภาวะต้อหินหรือไม่ ซึ่งการตรวจสุขภาพสายตา กับจักษุแพทย์ยังช่วยให้ท่านสามารถรู้ทันป้องกันความผิดปกติต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาได้