สมาคมผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง

0
789
image_pdfimage_printPrint

เมื่อมนุษย์ทุกคนได้ก้าวสู่การเป็นผู้สูงอายุ โดยองค์กรอนามัยโลกได้กำหนดตัวเลขของอายุอยู่ที่มากกว่า 60 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นตัวเลขกลาง ที่ดูแต่มิติเดียวเท่านั้นคือตัวเลขของอายุ หากจริงๆแล้วการได้ชื่อว่าเป็นผู้สูงวัยนั้นอาจจะดูได้จากหลายมิติไม่ว่าจะเป็น ศักยภาพของการใช้ชีวิต การทำงาน รวมไปถึงสภาพความพร้อมต่างๆในการเข้าสังคม ซึ่งอาจจะทำให้ตัวเลขนั้นขยับไปมากกว่า 60 ปีก็ยังเป็นไปได้สำหรับบางคน บางสังคม ซึ่งแนวโน้มตัวเลขนี้ที่จะตัดแสดงความเป็นผู้สูงวัยน่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆในอนาคต

ต้องยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านร่างกายที่อาจจะมีโรคประจำตัวที่มากขึ้น ซับซ้อนขึ้น มีการใช้ยาและการดูแลต่างๆที่เฉพาะทางมากขึ้น รวมไปถึงทางด้านจิตใจและสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีต่างๆเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันรวมไปถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงมากขึ้น ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้สูงวัยในสังคมไทยในยุคดิจิตอลนี้มี 3 สิ่งที่สำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อน

1.ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มากมายมหาศาลอย่างไม่มีขีดจำกัด

2.พฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่แนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ทางวิธีการรับประทานอาหารการ ดูแลสภาพร่างกาย การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อตอบโจทย์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น

3.ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความแตกต่างจากสมัยก่อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีมีส่วนทั้งช่วยทำให้ความห่างเหินอาจจะมากขึ้น แต่ก็มีอีกแง่มุมหนึ่งที่มันช่วยทำให้ความสัมพันธ์กระชับแน่นแฟ้นขึ้นเช่นกัน

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าผู้สูงวัยมีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ ทั้งที่เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติและตามสภาพสังคมและเทคโนรีทีมเข้ามาเกี่ยวข้อง ถึงอย่างไรการดูแลผู้สูงวัยในยุคนี้ก็ยังคงสามารถใช้หลักการทางด้านสาธารณสุขที่จะมาปรับประยุกต์ให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งสุขภาพทางกายที่ดีมีจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงและยังสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวไว้ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งนี่จะเป็นบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นคนที่ใกล้ชิดมากๆเช่นคนในครอบครัว หรืออาจจะเป็นคนที่ทำอาชีพเพื่อผู้สูงอายุโดยตรงก็จะสามารถนำเอาหลักการนี้ไปใช้ได้เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแล