สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมมือกัน ดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

0
564
image_pdfimage_printPrint

การร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชน ถือเป็นส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูระบบนิเวศของท้องทะเลและชายฝั่ง ตามที่สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ได้นำเสนอเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ

– สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ เข้าร่วมการประชุมที่โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 23 พฤษภาคม เนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
– ดร. วิทย์ สุนทรนันท์ กรรมการ สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ กล่าวสรุปถึงความสำคัญของระบบนิเวศทั้งป่าชายเลน ที่ราบลุ่มน้ำเค็ม และหญ้าทะเล ที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางตรงและในฐานะที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน
– ดร. วิทย์ ยังได้ชี้ให้เห็นว่าภาครัฐและเอกชนต้องทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาและเผชิญกับความท้าทายของความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้
กรุงเทพฯ 30 พฤษภาคม 2561– สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ องค์กรที่อุทิศตนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของระบบนิเวศ เช่น ป่าชายเลน ทุ่งหญ้าทะเล และที่ราบลุ่มน้ำเค็ม ได้แสดงความคิดเห็นถึงความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนที่จะสามารถรักษาท้องทะเลและชายฝั่ง ณ งานประชุมเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

ดร. วิทย์ สุนทรนันท์ กรรมการสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ เน้นถึงความสำคัญของท้องทะเลและชายฝั่งที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพโดยตรงและผ่านทางการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความท้าทายมากมายที่รอความช่วยเหลือจากการร่วมมือกันของหน่วยงานต่าง ๆ

“ระบบนิเวศชายฝั่งมีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพไม่ใช่เฉพาะทางตรงที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล และเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์ อีกทั้งระบบนิเวศชายฝั่งยังเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพในระดับโลกโดยเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนและช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย” ดร. วิทย์กล่าว

“ซึ่งระบบนิเวศชายฝั่งนั้นต้องการให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชายฝั่งที่เสื่อมโทรม เช่น การทำวิจัยเพิ่มความความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับเรื่องมลพิษ การเปลี่ยนแปลงวิธีกำจัดของเสีย การทำลงพื้นที่จริงในการทำความสะอาดและการเข้าถึงชุมชนในท้องถิ่น ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ต้องใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย”

การประชุมเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ปทุมวันในครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับโครงการ Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย

ทั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญกว่า 80 คนเข้าร่วมงาน ทั้งตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาและหน่วยงานจากภาคเอกชน เช่น ดร. นวรัตน์ ไกรพานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม ดร. เจซิก้า แอลซิเวอร์ (Dr. Jessica Alvsilver) ผู้แทนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) นายสุรพล ดวงแข ประธานกรรการกลั่นกรองโครงการด้านการจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม และนายเดชา ศิริภัทร ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิข้าวขวัญ
#บลูคาร์บอนโซไซดี้, #ฟื้นฟูระบบนิเวศ, #ระบบนิเวศชายฝั่ง
####

เกี่ยวกับสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้
บลูคาร์บอนโซไซตี้ คือองค์กรที่ดำเนินงานในประเทศไทยโดยมุ่งหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติการระดับโลก เพื่อเพิ่มศักยภาพของสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บลูคาร์บอนโซไซตี้ ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2560 โดย ดร. ชวัลวัฒน์ และ คุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ชื่อ ‘บลูคาร์บอน’ หมายถึงระบบนิเวศ เช่น ป่าชายเลน บึงเกลือ และทุ่งหญ้าทะเล ที่จะรวบรวมและจัดเก็บคาร์บอนจากกิจกรรมของมนุษย์ออกจากชั้นบรรยากาศ

บลูคาร์บอนโซไซตี้ มุ่งมั่นในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างศูนย์กลางความรู้ ความร่วมมือและการพัฒนาจนเกิดความเชี่ยวชาญ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เกี่ยวกับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
องค์การแห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 22 พฤษภาคม เป็นวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความตระหนักถึงสถานการณ์และปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแนวคิดการจัดงานเทศกาลของปีนี้คือ ‘เฉลิมฉลอง 25 ปีของการดำเนินการเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ’ เพื่อแสดงถึงการครบรอบ 25 ปีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

Media contact:
วรดนู นิมมิต (ทิมมี่/ทับทิม)
ผู้อำนวยการ ด้านสื่อสารโครงการและสื่อมวลชนสัมพันธ์
ฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร
E: Voradanu_ni@dtgsiam.com