สปสช. เขต 13 กทม. จัดงานรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้และผู้รับบริการ ระดับพื้นที่กรุงเทพฯ ประจำปี 2562

0
628
image_pdfimage_printPrint

“ร่วมด้วย ช่วยคิด พัฒนาสิทธิหลักประกันสุขภาพ” สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร จัดงานรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้และผู้รับบริการ ระดับพื้นที่กรุงเทพมหานคร

วันที่ 14 มิถุนายน 2562 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร จัดงานรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้และผู้รับบริการระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โรงแรมเซ็นทราบายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุขในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการสื่อสารสังคมและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการรับฟังความคิดเห็นจากทุกท่านที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพจากทุกภาคส่วน เพื่อการปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ทั่วประเทศ สมเจตนารมณ์บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ต่อไป

ด้านนายแพทย์วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผอ.สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สปสช. เขต 13 กทม. มีภารกิจหลักในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานภายใต้ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 การรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปฯประจำปี เป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันคิด ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาของแต่ละพื้นที่ตามบริบทที่แตกต่างกันเพื่อร่วมกันพัฒนากระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างความเข้าใจ ลดความขัดแย้ง พัฒนาสิทธิประโยชน์ที่จำเป็น และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสร้างความเข็มแข็งให้ระบบหลักประกันสุขภาพต่อไป

ประเด็นการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้และผู้รับบริการ ประจำปี 2562 มีการจัดกลุ่มความคิดเห็น 8 ประเด็น 1) ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข 2) มาตรฐานบริการสาธารณสุข 3) การบริหารจัดการสำนักงาน 4) การบริหารจัดการกองทุน 5) กองทุนท้องถิ่น/กองทุนพื้นที่ 6) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 7) การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ 8) อื่นๆ ปัญหาเฉพาะพื้นที่กทม. เพื่อรวบรวมและผลักดันประเด็น ข้อเสนอแนะที่สำคัญในพื้นที่ จากการรับฟังความคิดเห็นในเวทีต่างๆ เข้าสู่กระบวนการให้ประเด็นที่ได้รับจากทุกภาคส่วนทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการพัฒนาพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น