คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโครงการอบรมบัณฑิตพันธุ์ใหม่ NON DEGREE “RE SKILL- UP SKILL” รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 4 หลักสูตรฯ อาทิ Big Data, Cyber Security Internet of Things (IoT) and Industries Transformation) โดย ผศ.ดร.ธนา สุขวารี คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรมฯ และได้รับเกียรติจาก ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ณ เอ็กซิบิชันฮอลล์ ชั้น1 โซน A อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) เมื่อเร็วๆนี้
ผศ.ดร.ธนา สุขวารี คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า สำหรับโครงการ สร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) ทางคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดอบรม จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ 1. หลักสูตร เทคโนโลยีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่ออุตสาหกรรม 4.0 (Technology Internet of Things for Industry 4.0) รองรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ จำนวน 60 คน 2. หลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้เทคโนโลยีบิ๊กดาต้า (Consumer Insights Analytics and Data Center with Big Data Technology) สำหรับรองรับดิจิทัลไทย รองรับกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมดิจิทัล จำนวน 60 คน 3.หลักสูตร ความมั่งคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับการทำธุรกิจดิจิทัล (Cyber Security for Online Business) รองรับกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมดิจิทัล จำนวน 60 คน 4. หลักสูตร การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจผู้บริโภคในเชิงลึก (Industries Transformation with Data Analytics and Consumer Insights) รองรับกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมดิจิทัล จำนวน 50 คน
ผศ.ดร.ธนา สุขวารี เผยต่อว่า รูปแบบการจัดอบรม เป็นการจัดการอุดมศึกษาสำหรับคนที่อยู่ในวัยทำงาน เพื่อปรับเปลี่ยนและหรือพัฒนาความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่สามารถยกระดับสมรรถนะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตอบโจทย์เฉพาะของสถานประกอบการ หรืออุตสาหกรรม และการพัฒนาส่วนบุคคลตามอัธยาศัย รูปแบบการจัดการศึกษาจะเป็นลักษณะให้ใบรับรอง (Certificate) ความสามารถที่ทำได้จริง และสามารถนำผลการเรียนและหรือผลการเรียนรู้ มาสะสมหน่วยกิตเพื่อนำมาใช้เพื่อขอรับปริญญาได้ในภายหลังเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรต่างๆ โดยมีทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีปทุมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ทำหน้าที่อบรมฯ ซึ่งมีบุคลากรผู้บริหารทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก
ซึ่งโครงการอบรมฯดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างบุคลากรและกำลังคนที่มีทักษะและศักยภาพสูง ทั้ง 4 ด้าน ที่มีความรู้ความเข้าใจตอบโจทย์ภาคสู่ New S-Curve ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ภาคอุตสาหกรรมตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศสู่ Digital Thailand พร้อมทั้งสร้างโอกาสให้คนวัยทำงานสามารถพัฒนาตนเองเป็นผู้มีสมรรถนะและศักยภาพสูงด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมดิจทัลอีกด้วย