สนพ.ลำพูนเดินหน้า พัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านสู่ตลาดดิจิตอล เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทยสู่ SME 4.0

0
456
image_pdfimage_printPrint

สนพ.ลำพูนเดินหน้า พัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านสู่ตลาดดิจิตอล เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทยสู่ SME 4.0

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทยสู่ SME 4.0 ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอกะเหรี่ยงแม่ขะนาด จำนวน 20 คน หลังจากผ่านกระบวนการให้คำปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา และหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตและจัดจำหน่าย สาขา การค้าขายสินค้าออนไลน์ด้วย Mobile Application ระหว่างวันที่ 8-9 มิถุนายน 2562 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอกะเหรี่ยงแม่ขะนาด ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านสู่ตลาดดิจิตอล เพิ่มผลิตภาพแรงงาน สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นางณฐมน ปัทมะสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน กล่าวว่า SME ถือเป็นหนึ่งในฐานสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงมุ่งพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต หรือ ผลิตภาพ (Productivity) ให้มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ว่าด้วย “การพัฒนาประเทศมุ่งสู่ Thailand 4.0” โดยจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริม SME กลุ่ม OTOP และวิสาหกิจชุมชน ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 คลินิกผลิตภาพแรงงานสัญจรบริการให้คำปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน บริการตรวจสภาพและซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ หรือเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการผลิตของ SME ชื่อว่า “ร้านกรมพัฒน์” เพื่อลดรายจ่ายในกระบวนการการผลิต
กิจกรรมที่ 2 ประชุมเครือข่ายเพิ่มผลิตภาพแรงงาน
กิจกรรมที่ 3 ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ SME กลุ่ม OTOP และวิสาหกิจชุมชน
กิจกรรมที่ 4 พัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน วิเคราะห์ข้อมูล วินิจฉัยสภาพปัญหา และค้นหาสาเหตุแท้จริงของปัญหา เพื่อร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะของพนักงาน และกำหนดมาตรการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดผ่านกระบวนการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน รองรับการพัฒนาสู่ SME 4.0 ด้วยเหตุนี้สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน จึงได้กำหนดขยายการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านดิจิตอล ให้กับกลุ่ม OTOP และวิสาหกิจชุมชน โดยกำหนดให้การพัฒนาด้านดิจิตอลเป็นมิติหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จึงได้กำหนดการฝึกหลักสูตร การค้าขายสินค้าออนไลน์ด้วย Mobile Application ระหว่างวันที่ 8-9 มิถุนายน 2562 ให้กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอกะเหรี่ยงแม่ขะนาด เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว ขายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนทางโซเชียล สร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนให้มีความยั่งยืนต่อไป