1

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ จับมือ ทาเลส พัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลให้กับกองทัพไทย

– สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI), ดาต้าเกท และทาเลส ลงนามบันทึกข้อตกลง (MoA) เพื่อยกระดับความร่วมมือในการพัฒนาระบบการสื่อสารดิจิทัล

– โครงการความร่วมมือโครงการแรกจะมุ่งไปที่การปรับปรุงรถหุ้มเกราะลำเลียงพลของกองทัพไทย

– ทาเลส จะถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้กับ DTI อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ ด้วยการสนับสนุนจาก ดาต้าเกท ซึ่งเป็นพันธมิตรรายสำคัญของทาเลสในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในประเทศไทย

การปฏิวัติดิจิทัลได้เข้ามาเปิดโลกแห่งความเป็นไปได้ให้กับเหล่ากองทัพ โดยช่วยให้กองทัพสามารถใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อชิงไหวชิงพริบกับฝ่ายตรงข้าม วิทยุสื่อสารดิจิทัลที่มีความแม่นยำและปลอดภัยนับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทหารที่อยู่ในสนามรบ เพื่อการสื่อสารข้อมูลที่มีความสำคัญ ตลอดจนเพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็ว ตอบสนองต่อภัยคุกคามในอนาคต และชิงความได้เปรียบในสมรภูมิ

จากการที่กองทัพไทยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations: NCO) ทาเลส, ดาต้าเกท (พันธมิตรอุตสาหกรรมรายสำคัญของทาเลส) และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) จึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MoA) ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบการสื่อสารสำหรับยานยนต์ทางทหารให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

บันทึกข้อตกลง (MoA) ฉบับนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ ทาเลส ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกับ DTI เมื่อเดือนกันยายน 2560 ซึ่งเป็นทางปูทางความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิดในด้านการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยทางอากาศและระบบการสื่อสารดิจิทัล สำหรับโครงการความร่วมมือโครงการแรกระหว่างทั้งสามฝ่ายภายใต้ข้อตกลงฉบับใหม่นี้ จะมุ่งไปที่การปรับปรุงรถหุ้มเกราะลำเลียงพล (APC) ของกองทัพไทย

ข้อตกลง MoA มุ่งเน้นการยกระดับกองรถ APC ด้วยโซลูชั่นปฎิบัติการ C5I อันประกอบด้วย Computerised, Command, Control, Communications และ Combat Information พร้อมผนวกรวมวิทยุสื่อสาร VHF/FM, ระบบการจัดการสนามรบ (BMS) สำหรับการบัญชาการทางยุทธวิธีและการควบคุม รวมไปถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ ขณะเดียวกัน ทาเลส จะสนับสนุนการพัฒนาความเชี่ยวชาญในประเทศไทย ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ให้กับ DTI อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ในท้ายที่สุดแล้ว ไทยจะสามารถออกแบบ บูรณาการ และใช้ระบบ C5I ได้กับทุกแพลตฟอร์มท้องถิ่น

“ทาเลส มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของไทยมาโดยตลอด เพื่อให้ไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง และต่อยอดนวัตกรรมเหล่านี้สู่ระดับที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ เรายังยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรกับดาต้าเกท และ DTI รวมทั้งได้ให้การสนับสนุน DTI อย่างเต็มที่ ในการก้าวขึ้นเป็นหน่วยงานออกแบบโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ทหารของประเทศไทย” คุณมัสซิโม มารินซี ผู้อำนวยการทาเลส ประจำประเทศไทย กล่าว

นอกจากนั้นแล้ว ทาเลส ยังสนับสนุนเป้าหมายระยะยาวของรัฐบาลไทยในการขยายขีดความสามารถด้านดิจิทัลระดับสูง ควบคู่ไปกับการจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ซึ่งเน้นไปที่การเขียนโปรแกรม สถาปัตยกรรมยานยนต์ดิจิทัล การผลิต การซ่อมบำรุง และการบริการ ข้อตกลงฉบับนี้ยังเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของทาเลสที่มีต่อการสนับสนุนนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีหนึ่งในเป้าหมายหลักคือการพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ผ่านการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี

เกี่ยวกับทาเลส

ผู้คนมากมายที่ทั่วโลกไว้วางใจ ต่างให้ความไว้วางใจทาเลส ลูกค้าของเรามาใช้บริการด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าในการทำให้ชีวิตดีขึ้นและมีความปลอดภัยมากขึ้น

สถาปนิกของเราผสานความชำนาญ ความสามารถ และวัฒนธรรมการทำงานอันหลากหลายเข้าด้วยกัน เพื่อออกแบบและนำเสนอโซลูชั่นเทคโนโลยีระดับสูงที่ไม่เหมือนใคร โซลูชั่นที่จะทำให้สิ่งต่างๆในอนาคตเกิดขึ้นตั้งแต่วันนี้ จากใต้มหาสมุทรจนถึงห้วงอวกาศ เราช่วยให้ลูกค้าคิดอย่างชาญฉลาดและทำงานได้เร็วขึ้น ด้วยการจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อนมากขึ้นและรับมือกับทุกช่วงเวลาสำคัญตลอดการทำงาน ทั้งนี้ ทาเลสมีพนักงาน 64,000 คน ใน 56 ประเทศ และมียอดขาย 1.58 หมื่นล้านยูโรในปี 2560

เกี่ยวกับทาเลสในประเทศไทย

ทาเลสได้เริ่มทำธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 90 และได้เปิดสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ ในปี 2548 สำหรับการดำเนินงานในประเทศไทยนั้น ทาเลสมีโครงการและผลงานสำเร็จมากมายทั้งในภาคพลเรือนและการป้องกันประเทศ โดยทาเลสได้ดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัทพันธมิตรสัญชาติไทยที่เกี่ยวกับด้านอากาศยาน การป้องกันประเทศ อวกาศ และการขนส่ง
รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Thales Group: https://www.thalesgroup.com/en
Defence: https://www.thalesgroup.com/en/defence