วุ้นตาเสื่อม (Vitreous degeneration) คือภาวะที่น้ำวุ้นตาที่อยู่ภายในลูกตามีการเปลี่ยนแปลงสภาพและแยก
ตัวออกจากจอตา ภาวะที่น้ำวุ้นตาแยกตัวออกจากจอตาทำให้เกิดแรงดึงรั้งจนจอตามีโอกาสฉีกขาดและเกิดจอตาหลุดลอกตามมาได้
คนที่มีวุ้นตาเสื่อมจะมีอาการอย่างไร?
อาการของวุ้นตาเสื่อม ได้แก่ การเห็นจุดดำลอยไปมา (floaters) และเห็นแสงคล้ายฟ้าแลบ (light flashes)
โดยคนไข้มักจะสังเกตเห็นแสงฟ้าแลบในที่มืดได้ชัดเจนกว่าที่สว่าง คนไข้มักอธิบายลักษณะของจุดดำที่ลอยไป
มาคล้ายกับ แมลง ยุง ใยแมงมุม หรือเป็นเส้นคล้ายเส้นขน เป็นต้น
จุดดำที่เห็นนั้นอาจเกิดจากเศษของน้ำวุ้นตาที่เป็น collagen มาหดรวมตัวกัน (condensation of vitreous
collagen), เศษเลือดจากน้ำวุ้นตากระชากเส้นเลือดฉีกขาด (blood from a torn or avulsed retinal vessel)
หรือเศษเนื้อเยื่อบริเวณขั้วประสาทตาที่หลุดแยกตัวมากับน้ำวุ้นตา (glial tissue)
ใครบ้างที่จะมีวุ้นตาเสื่อม?
วุ้นตาเสื่อมเป็นความเสื่อมตามอายุของทุกคน มักเกิดอาการตอนอายุ 45-65 ปี แต่อาจเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติในผู้
ที่มีสายตาสั้น หรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุรุนแรงที่ตามาก่อน นอกจากนี้ การผ่าตัดในลูกตา เช่น ผ่าตัดต้อกระจก ก็อาจทำให้น้ำวุ้นตาเสื่อมมากขึ้นได้
ถ้ามีวุ้นตาเสื่อมจะส่งผลกระทบให้เกิดอะไรบ้าง และต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?
หากสังเกตเห็นจุดดำลอยไปมาในตาไม่ว่าจะมองไปทิศทางไหน หรือเห็นแสงคล้ายฟ้าแลบในตาโดยเฉพาะในที่มืดหรือหลับตาก็ยังเห็น และเพิ่งมีอาการดังกล่าวภายใน 1-3 วันที่ผ่านมา แสดงว่ามีอาการของวุ้นตาเสื่อมเฉียบพลัน โดยพบว่าคนไข้ที่มีอาการของวุ้นตาเสื่อมเฉียบพลัน พบรูฉีกขาดที่จอตาได้ 8-26% ดังนั้น คนที่มีอาการลักษณะดังกล่าวแนะนำให้ไปตรวจกับจักษุแพทย์เพื่อขยายม่านตาดูว่ามีรูฉีกขาดที่จอตาหรือไม่
หากตรวจแล้วปกติดี
– คนที่มีอาการวุ้นตาเสื่อมเฉียบพลันที่ตรวจแล้วไม่เจอรูฉีกขาดที่จอตา มีโอกาส 2-5% ที่จะตรวจพบรอยฉีก
ขาดตามมาภายหลัง
– สำหรับผู้ที่มีอาการของวุ้นตาเสื่อมเฉียบพลัน และตรวจไม่เจอรูฉีกขาดที่จอตา จักษุแพทย์มักจะนัดตรวจอีกครั้งภายใน 1-8 สัปดาห์แรกหลังมีอาการ หลังจากนั้นทุก 6-12 เดือน ทั้งนี้ความถี่ของการนัดติดตามขึ้นกับผลการตรวจที่จักษุตรวจพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดรอยฉีกขาดในอนาคตได้มากน้อยแค่ไหน
(vitreouspigment, vitreous or reitnal hemorrhage, visible vitreoretinal tractionj)
หากตรวจแล้วมีรูฉีกขาดที่จอตา
– การรักษาด้วยยิงเลเซอร์ (Laser photocoagulation) รอบรูฉีกขาดที่จอตา สามารถลดโอกาสการเกิดจอตา
หลุดลอกในอนาคตให้เหลือน้อยกว่า 5% ได้
– อีกวิธีหนึ่งคือรักษาการจี้ด้วยความเย็น (Cryotherapy) ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถยิงเลเซอร์รอบรูฉีกขาดได้
ครบ
– อย่างไรก็ตาม คนที่เคยได้รับการรักษารูฉีกขาดที่จอตา 5-14% มีโอกาสเกิดรอยฉีกขาดที่ตำแหน่งอื่นได้อีก
เพราะฉะนั้นต้องตรวจติดตามและสังเกตอาการเป็นระยะต่อเนื่อง
จุดดำที่ลอยไปมากับแสงฟ้าแลบมีทางรักษาหรือไม่?
– ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพพอในการป้องกันวุ้นตาเสื่อม ไม่มียาหยอดหรือยากินที่ช่วยทำให้ floatersหรือ light flashes หายไปได้
– โดยส่วนใหญ่จุดดำที่ลอยไปมามักจะเล็กลงหรือจำนวนลดลงเมื่อเวลาผ่านไปอาจเป็นหลายเดือนเช่นเดียวกันกับแสงฟ้าแลบ และคนไข้ก็จะชินไปเอง
– ยกเว้นในบางคนที่จุดดลอยบังตรงกลางทำให้การมองเห็นไม่ดี มีผลต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
ร่วมกับสังเกตอาการหลายเดือนแล้วไม่ดีขึ้น ก็อาจจะพิจารณาผ่าตัดเอาน้ำวุ้นตาออก
มีวิธีป้องกันวุ้นตาเสื่อมหรือไม่?
– ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดวุ้นตาเสื่อมที่พิสูจน์ได้ในปัจจุบัน วิธีที่ดีที่สุดคือตรวจเช็คจอตาสม่ำเสมอและสังเกต
อาการของ floaters และ light flashes คือ หากมีจำนวนจุดดำลอยไปมามากขึ้น หรือเห็นแสงคล้ายฟ้าแลบ
บ่อยขึ้น ให้มาพบจักษุแพทย์เพื่อขยายม่านตาและตรวจจอตา เพื่อหากพบรูฉีกขาดที่จอตาจะได้ทำการรักษา
ต่อไป เป็นการลดการเกิดโรคจอตาหลุดลอกที่จะตามมาได้ในอนาคต
บทความโดย : แพทย์หญิง อุษณีย์ สีพงษ์พันธ์ จักษุด้านจอตาและวุ้นตา โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์จักษุวิทยาเฉพาะทาง โทร. 02-836-9999 ต่อ 3621-2