วีรกรรมรักษาการ ผอ.ขสมก.ยิ่งแก้ปัญหา…ยิ่งถึงทางตัน

0
354
image_pdfimage_printPrint

วีรกรรมรักษาการ ผอ.ขสมก.ยิ่งแก้ปัญหา…ยิ่งถึงทางตัน

หลังจากที่นายสมศักดิ์ ห่มม่วง เข้ามานั่งเก้าอี้รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก.ได้ 3 เดือนครึ่งมีเสียงสะท้อนดังออกมาจาก ขสมก. หลากหลายเรื่อง

เริ่มต้นเรื่องแรกนายวีระพงษ์ วงแหวน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ขสมก. นัดไพร่พลขุมกำลังสหภาพแรงงาน ขสมก. บุกทำเนียบรัฐบาลร้องเรียนให้นายกรัฐมนตรีใช้ ม 44 ปลดล็อคเรื่องรถเมล์ เอ็นจีวี. 489 คัน และคัดค้านการที่กรมการขนส่งทางบก ขีดเส้นทางเดินรถโดยสารใหม่ เกรงว่าอาจเปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย

เรื่องต่อมาเป็นเรื่องการลงนามสัญญาโครงการเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Ticket มูลค่า 1,600 ล้านบาท ที่ ขสมก.โดยนายสมศักดิ์ ห่มม่วง ลงนามสัญญากับเอกชนเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน อย่างร้อนรนท่ามกลางเสียงคัดค้านของสหภาพแรงงาน ขสมก.ที่ไม่เห็นด้วยทั้งตัวระบบที่เคยนำมาทดลองใช้แล้วเกิดปัญหาจราจรดิดขัดรวมทั้งยังไม่มีรถเมล์ใหม่ให้ติดตั้งเกรงว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย

ถัดมาเป็นเรื่องฟ้องร้องศาลปกครองกรณีผู้เข้าร่วมประมูลรายหนึ่งถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมประมูล เพราะถูกกล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติเข้าร่วมประมูลบัตรอีเล็กทรอนิก ปรากฏว่าหลังจาก ขสมก.เซนต์สัญญาไปเพียงวันเดียว ศาลปกครองประทับรับฟ้องคดีที่บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ฟ้อง ขสมก.กับพวกรวม 3 คน และมีคำสั่งให้ ขสมก. แก้ต่างคำฟ้องพร้อมด้วยหลักฐานที่กล่าวหาโจทย์ภายใน 30 วัน

และในวันเดียวกันนั้น นายสมศักดิ์ยังแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ขสมก. ได้ยึดแบงค์การันตีจำนวน 338.978 ล้านบาทแถมด้วยการฟ้องร้องให้บริษัท เบสทริน จำกัดจ่ายค่าปรับเพิมอีก 400 ล้านบาทเนื่องจากผิดสัญญาไม่สามารถส่งรถโดยสารเอ็นจีวี.ได้ทันกำหนดเวลา

ปรากฏว่าวันที่ 17 กรกฎาคม ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ ขสมก.ระงับการกระทำการใดๆเพื่อใช้สิทธิ์เรียกร้องเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจากธนาคารไอซีบีซี.(ไทย)จำกัด(มหาชน) ตามหนังสือค้ำประกันลงวันที่ 30 กันยายน 2559 จำนวน 338,978 ล้านบาท จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

นายสันติ ปิยะทัต ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากเบสท์รินกล่าวว่า การกระทำของ ขสมก ถือเป็นการดำเนินการที่เร่งรีบ ไม่ได้คำนึงถึงคำสั่งของศาลปกครองที่จะมีมาแม้แต่น้อย หาก ขสมก คำนึงถึงผลของคำสั่งศาลตามสมควร ขสมก ควรที่จะหยุดการใช้สิทธิส่วนนี้ไว้ชั่วคราวเพื่อรอฟังคำสั่งศาลเสียก่อนและ ขสมก ก็ไม่ได้เสียหายอะไรในเรื่องนี้

นั่นหมายความว่าการ ขสมก.ต้องนำเงินมาคืนหรือมาเก็บเป็นเงินประกันไว้ที่เดิม ส่วนการที่ธนาคารปล่อยเงินประกันออกไปโดยไม่รอว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญา ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายที่ ขสมก และผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ ขณะนี้อยู่ในระหว่างเตรียมฟ้องธนาคารฯด้วยแล้ว

เรื่องต่อมา วันที่12 เมษายน นายสมศักดิ์ ห่มม่วง สั่งยกเลิกสัญญาจัดซื้อรถเมล์ เอ็นจีวี.จำนวน 489 คันพร้อมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ได้ขึ้นบัญชีดำ บริษัทเบสทริน ในฐานะผู้ทิ้งงาน

ต่อมาวันที่ 7กรกฎาคม สำนักกฎหมายของกระทรวงคมนาคม พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วให้นายยุกต์ จารุภูมิ รอง.ผอ.ขสมก.ลงนามในคำสั่ง ขสมก.ที่ 580/2560 ระบุว่า องค์การพิจารณาแล้วเห็นว่าการประกาศให้บริษัทเบสทรินกรุ๊ปจำกัดเป็นผู้ทิ้งงาน เป็นการดำเนินการไม่ครบขั้นตอน ดังนั้น จึงขอยกเลิกคำสั่งองค์การที่ 355/2560, 356/2560,357/2560และ350/2560

นายสันติ ปิยะทัต ให้ความเห็นว่า ขสมก ได้ประกาศต่อสาธารณชน และมีหนังสือว่า บริษัทฯ เป็นผู้ทิ้งงานโดยไม่เปิดโอกาสให้บริษัทฯ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง ถือว่าเป็นการผิดขั้นตอน ส่งผลให้บริษัทฯ ไม่สามารถเข้าร่วมในการประมูลงานใดๆ ของหน่วยงานของรัฐได้ ถือเป็นการจงใจทำให้บริษัทฯเสียชื่อเสียง หรือทำไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้อื่นเข้าข่ายความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 บริษัทฯจะเร่งดำเนินการฟ้องร้องผู้เกี่ยวข้องทันที

เรื่องต่อมาคือเรื่องที่ กรมการขนส่งทางบก ประกาศยกเลิกการจดทะเบียนรถเอ็นจีวี 292 คันโดยมีรายละเอียดดังนี้ นายทะเบียนได้รับแจ้งจาก ขสมก.;ตามหนังสือ ที่ขสมก.651/2560 ลงวันที่ 8 เมษายน 2560 ว่าสัญญาระหว่าง ขสมก.กับบริษัทเบสทริน สิ้นสุดลง ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ประกอบกับได้รับแจ้งตามหนังสือที่ ขสมก.858/2560 ลงวันที่26 พฤษภาคม 2560 ว่าหลักฐานสำเนาใบเสร็จรับเงินและสำเนาการแจ้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรากฏข้อความว่า ขสมก. ขสมก. ได้ชำระเงินค่ารถยนต์โดยสารแล้วซึ่งเป็นข้อความเท็จ

ทนายสันติ กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบก บอกว่าได้รับแจ้งจาก ขสมก. ตามหนังสือที่ ขสมก. 651/2560 ลงวันที่ 8 เมษายน 2560 ว่าสัญญาระหว่าง ขสมก.กับ บริษัทเบสทรินสิ้นสุดลง ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จริงๆแล้ววันที่ 8 เมษายน ขสมก.ยังไม่ยกเลิกสัญญา แต่ยกเลิกวันที่ 12 เมษายน นั่นหมายความว่า กรมการขนส่งทางบกยกเลิกทะเบียนก่อนวันยกเลิกสัญญาหรือ?ตรงนี้ไม่เข้าใจ…มีเจตนาอย่างไร?

ทนายสันติ กล่าวถึงเรื่อง ใบเสร็จรับเงิน เป็นเอกสารที่ออกมาเพื่อประกอบการจดทะเบียนรถยนต์โดยสารเท่านั้นไม่ใช่เอกสารปลอม ใบเสร็จดังกล่าวออกโดยบริษัทฯ จริง แต่มีเงื่อนไขระบุอย่างชัดเจนว่า ใบเสร็จจะมีผลก็ต่อเมื่อได้รับเงินแล้วจาก ขสมก แต่เหตุที่ต้องมีใบเสร็จออกมาเพราะ ขสมก.ทำหนังสือมอบอำนาจให้บริษัทฯไปดำเนินการจดทะเบียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการส่งมอบรถตามสัญญา เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่เอกสารปลอม หรือเอกสารเท็จ การที่ ขสมก มีการให้ข่าวในทำนองว่าบริษัทฯ ทำเอกสารเท็จ ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท

นอกจากนั้น ขสมก มีการแจ้งเรื่องเอกสารเท็จไปให้กรมการขนส่งทางบก ทำการเพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์โดยสารนั้น “ เป็นการแจ้งเพื่อหวังผลทางคดีที่ศาลปกครองหรือไม่ เพราะเรื่องการจดทะเบียนโอนรถยนต์บริษัทฯได้รับความยินยอมจาก ขสมก ที่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้บริษัทฯ ไปดำเนินการจดทะเบียน เป็นการแสดงว่า ขสมก. ได้รับรถยนต์ไปแล้วโดยปริยาย “ ขสมก จึงมีความจำเป็นต้องลบล้างการจดทะเบียนเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการต่อสู้คดีที่ศาลปกครองเท่านั้น
เรื่องการออกใบเสร็จรับเงินแล้วมีหมายเหตุแบบนี้ต้องบอกตรงๆว่า ในวงการธุรกิจปฏิบัติกันเป็นเรื่องปกติไม่ใช่เรื่องผิดหรือพิสดารอย่างไร?เป็นการหาเหตุแค่นั้น……มันตื้นๆคับ ทนายสันติ กล่าวในที่สุด
ยังๆไม่หมดวันที่ 19 พฤษภาคม นายสมศักดิ์ ห่มม่วง ประกาศยกเลิกการประกวดราคา โครงการจัดซื้อรถเมล์ เอ็นจีวี.จำนวน 489 คัน สาเหตุเนื่องมาจากราคากลางสูงเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่ ปปช.กำหนด ที่สำคัญก่อนที่จะประกาศยกเลิกการประมูล นายสมศักดิ์ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า จะลาออก หากต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงราคาใหม่จากทีโออาร์.แต่จนถึงวันนี้…..นายสมศักดิ์ยังไม่ลาออกตามที่ได้ลั่นวาจา

นอกจากนี้โครงการประกวดราคาจัดหารถเมล์ไฟฟ้าจำนวน 200 ล้านบาทวงเงิน 2,702 ล้านบาทก็ต้องสะดุดล้มลงอย่างไม่เป็นท่า เมื่อกรมศุลกากรแจ้งว่า ไม่สามารถปรับรถภาษีนำเข้ารถไฟฟ้า ส่งผลให้ราคาจัดซื้อรถสูงกว่าราคากลางที่ประเมินไว้ถึง 1,000 ล้านบาทเป็น 3,702 ล้านบาท

สรุปวีรกรรมม 3 เดือนครึ่ง นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องรถเมล์ 489 คันตามความประสงค์ของนายกรัฐมนตรีได้แล้วยังก่อให้เกิดคดีใหม่ๆทั้งทางแพ่งและอาญาอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน

ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง…..เห็นด้วยหรือไม่?…..ท่าน รัฐมนตรีอาคม เติมพิทยาไพสิฐ